Neda กับบทบาท “ผู้อยู่เบื้องหลัง”
หาก ADB หรือ JBIC คือสถาบันการเงินที่อยู่ในยุทธศาสตร์การขยายบทบาททางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในประเทศกำลังพัฒนา ประเทศไทยก็มีหน่วยงานอย่าง Neda ซึ่งมีบทบาทและความสำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว เขมร พม่า แต่หน่วยงานนี้กลับไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางนัก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553)
Exim Bank กับภารกิจหลักใน GMS
โดยชื่อและบทบาทแล้ว EXIM Bank ของไทย คือผู้เล่นสำคัญรายหนึ่งในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างจาก ADB หรือ JBIC ซึ่งนักลงทุนไทยที่มองเห็นโอกาส ไม่สามารถมองข้ามได้
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
บทบาทใหม่ของ EXIM
ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM) เมื่อได้มีการลงนามในข้อตกลงกับ KfW IPEX Bank (KfW International Project and Export Finance Bank : ธนาคารสินเชื่อเพื่อการส่งออกจากเยอรมนี) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล โดยมีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานในพิธี
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2547)
เอ็กซิมแบงก์Q1กำไร75ล้าน เดินหน้าธุรกิจประกันส่งออก
เอ็กซิมแบงก์เผย 3 เดือน มีกำไร 75 ล้าน และมียอดอนุมัติสินเชื่อใหม่ 5.4 ล้าน พร้อมขยายงานประกันส่งออก เปิดบริการ"EXIM 4 SMEs"ประกันส่งออกให้ลูกค้าเอสเอ็มอีที่มีมูลค่าไม่เกิน 100 ล้าน ด้านเอสเอ็มอีแบงก์โชว์ 4 เดือนยอดปล่อยกู้พุ่ง 34.81%
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 15 พฤษภาคม 2552)
EXIM BANKร่วม8สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้สปป.ลาว585ล้านดอลล์
เอ็กซิม แบงก์จับมือสถาบันการเงินทั้งใน-ต่างประเทศรวม 8 แห่งปล่อยกู้โครงการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเขื่อนเทินหินบุนสปป.ลาว วงเงินรวม 585.5 ล้านดอลล์ ส่วนเอ็กซิมร่วมให้กู้สกุลดอลลาร์สหรัฐและสกุลบาทรวม 100 ล้านดอลล์ ระบุเป็นการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในไทยและสปป.ลาว โดย 95% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขายให้แก่ กฟผ.
(ผู้จัดการรายวัน 9 ตุลาคม 2551)
EXIM BANKโละหนี้ขาย 8พันล. กดเอ็นพีแอลลดฮวบเหลือ 4.5%
เอ็มซิมแบงก์โละหนี้เน่า 8.2 พันล้านขายบสส. กดยอดเอ็นพีแอลลดฮวบจาก 15.93% เหลือ4.50%ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 10% พร้อมโชว์ 10 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 382 ล้านบาท หลังปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ
(ผู้จัดการรายวัน 13 ธันวาคม 2550)
"เอ็กซิมแบงก์"เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยง ประคององค์กรฝ่ามรสุมการเงิน
เมื่อถึงจุดที่"เอ็กซิมแบงก์"ต้องเติบโตขึ้นไปอีกขั้น การเพิ่มทุนจึงเป็นแผนงานของแบงก์...ที่ประทับตราไว้บนหัวกระดาษว่า"ด่วนมาก"นั่นเพราะแบงก์แห่งนี้ต้องการทุนเพื่อต่อลมหายใจอีกเฮือก เงินส่วนนี้วางไว้เพื่อขยายธุรกิจ และขับเคลื่อนผู้ประกอบการภาคส่งออกให้เข้มแข็งตามที่รัฐปรารถนา แต่ด้านฟากกระทรวงการคลังในบทพี่เลี้ยงกลับไม่แสดงท่าทีตอบรับแผนเพิ่มทุน ผลจากความไม่ชัดเจนทำให้ "เอ็กซิมแบงก์"ต้องอยู่คนที่เอาตัวรอดไปวัน ๆ ประคองกายไม่ให้ล้มด้วยเงินทุนที่เหลืออย่างจำกัดต่อการดำเนินธุรกิจ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 กุมภาพันธ์ 2550)
"เอ็กซิมแบงก์"กรุยทาง "นกน้อย"เลือก "กิ่งไม้"สร้างโอกาสนักลงทุนขวัญอ่อนหาผลตอบแทน
"นกน้อย"เลือกกิ่งไม้ที่จะเกาะได้ ก็เปรียบเหมือนนักลงทุนที่สามารถเลือกประเทศที่อยากเข้าไปลงทุนได้เช่นกัน เหตุผลสำคัญคือการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน หลังจากกี่ลงทุนในประเทศมีต้นทุนสูงขึ้น การย้ายถิ่นฐานจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ทำให้ต้นทุนต่ำลง ผู้ประกอบการไทยเองก็มองเห็นโอกาสดังกล่าวเช่นกัน หากแต่ยังขวัญอ่อนเกินไปหากเทียบกับผู้ลงทุนอื่นในโลกนี้ จนอาจนำมาสู่การสูญเสียโอกาสอันดี ทำให้ "ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย" (เอ็กซิมแบงก์) ต้องออกโรงเข้ามาเพิ่มความมั่นใจด้วยบริการ "ประกันความเสี่ยง"ให้นักลงทุนไทยในต่างประเทศเป็นนกที่กล้าลงเกาะกิ่งไม้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มกราคม 2550)
จี้เอ็กซิมแบงก์เคลียร์เงินกู้พม่า 4 พันล้าน
ครป.บุกเอ็กซิมแบงก์ จี้ถามเงินกู้ 4 พันล้าน หวั่นพม่าเบี้ยวหนี้ทำคนไทยต้องรับกรรม แต่นายทุนพม่า –ทุนไทย พุงกาง เชื่อ"แม้ว"เยือนพม่าเกี่ยวข้องกับปัญหาใช้คืน ให้เวลา 7 วัน ไม่เคลียร์บุกทวงถามถึงทำเนียบฯ ด้านกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ แจงเป็นเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของพม่า มีการเบิกจ่ายและชำระดอกเบี้ยตามปกติ อ้างเป็นการช่วยสร้างงาน และรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจส่งออกเครื่องจักร รับเหมาก่อสร้าง และปิโตรเคมี ของไทยจำนวนมาก
(ผู้จัดการรายวัน 9 สิงหาคม 2549)
EXIM BANK พร้อมปล่อยสินเชื่ออนุมัติด่วน
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมให้บริการ “เอ็กซิมเครดิตฟาสต์แทร็ก” สินเชื่อด่วน ฝ่าวิกฤต เพื่อเศรษฐกิจไทย มีทั้งสินเชื่อหมุนเวียนและสินเชื่อระยะกลาง-ยาว
(เดอะเวย์ คอมมิวนิเคชั่น, บจก. )