เอสเอฟ-อิเกีย ธุรกิจ “ยีน” เดียวกัน
“อิเกีย” IKEA มีแผนมานานเกือบสิบปีว่าจะเข้ามาบุกตลาดประเทศไทย โดยไม่มีข่าวการเจรจากับพันธมิตรรายใดเล็ดลอดออกมา แต่ท้ายที่สุดธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ครบวงจรระดับโลกสัญชาติสวีเดนตัดสินใจตกร่องปล่องชิ้นกับบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) สร้างโครงการเมกาบางนา มูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท และเปิด “อิเกียสโตร์” สาขาแรกในไทย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555)
เทรนด์เซตเตอร์ จาก “ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์” สู่ “ไฮบริดมอลล์”
นพพร วิฑูรชาติ บางคนว่าเขาเป็นเจ้าพ่อศูนย์การค้า บางคนว่าเป็นพ่อมดร่ายเวทมนตร์ เพราะเปิดโครงการในทำเลไหน เหมือนมาได้จังหวะ ถูกที่ ถูกเวลา โดนกลุ่มเป้าหมายและปลุกกระแสไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์รูปแบบใหม่ๆ ไม่รู้จบ
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555)
สยามฟิวเจอร์กับอนาคต
จากสภาวะล่มสลายของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ใครจะคิดบ้างว่าท่ามกลางวิกฤติการณ์
ยังมีกลุ่มธุรกิจที่กล้าคิด กล้าทำ สร้างนวัตกรรมใหม่ ในเส้นทางที่ตนเองถนัดและไปไกลกว่าที่คาด
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2545)
สร้างศูนย์การค้าให้ Wow! ต้องให้เหนือกว่าโลกออนไลน์
นพพร วิฑูรชาติ วิสัยทัศน์ของบริษัทที่เขาตั้งไว้นั้นง่ายมาก เพราะเพียงแค่หาสถานที่สำหรับให้คนมาพบปะกันก่อน จากนั้นค่อยใส่ธุรกิจเข้าไป เมื่อมีธุรกิจก็คือมีของไปขาย กลายเป็นสถานที่ค้าขายให้กับกลุ่มค้าปลีกดังเช่นศูนย์การค้าหลายขนาด หลายสไตล์ที่เขาสร้างขึ้นนั่นเอง
(Positioning Magazine 25 พฤษภาคม 2555)
เจาะลึก “ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์” ทุกทำเล แลนด์ลอร์ด...มาเอง
ไม่ใช่เป็นแค่แหล่งช้อปปิ้งพักผ่อนใกล้บ้าน ตามคอนเซ็ปต์คอมมูนิตี้มอลล์เท่านั้น แต่ถ้าอยากเกิดและโตต้องมีดีไซน์และองค์ประกอบของร้านค้า ในแบบฉบับเป็น ”ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์” จึงกลายเป็นธุรกิจใหม่ที่เป็นเทรนด์แรงไม่หยุด จนมีการลงทุนและเปิดใหม่แทบทุกเดือน ปักหมุดทุกมุมของกรุงเทพฯ
(Positioning Magazine 18 ธันวาคม 2553)
นพพร วิฑูรชาติ สร้างโปรดักส์จากไลฟ์สไตล์
ถ้าใครสักคนจะทำงานจากสิ่งที่รัก โอกาสประสบความสำเร็จคงไม่ใช่เรื่องยาก และคนคนนั้นคงต้องรวมถึง “นพพร วิฑูรชาติ” ซีอีโอหนุ่มวัย 43 ปี ทายาทรุ่นที่ 4 ตลาดสดมีนบุรี เติบโตในครอบครัวคหบดี ผู้ถือครองที่ดินมหาศาล เป็นเด็กเรียนดี อายุเพียง 20 ปี ก็คว้าปริญญาบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จากสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขาผ่านประสบการณ์ทำงานด้านการขายที่ปูนซิเมนต์ไทย ในบริษัทเอสซีที คอมพิวเตอร์ ก่อนจะก้าวมาเป็นนักธุรกิจอย่างเต็มตัวตั้งแต่ปี 2532
(Positioning Magazine เมษายน 2551)
สยามฟิวเจอร์ฯเล็งภูธรปีหน้าคาร์ฟูร์ร่วมผุดซูเปอร์มาร์เกต
สยามฟิวเจอร์ฯ ลงทุน 1,000ล้านบาท ผุด 5 สาขาใหม่ปีนี้ เผยได้พันธมิตรใหม่ กลุ่มคาร์ฟูร์ซุ่มผุดรูปแบบซูเปอร์มาร์เกต ที่ สาขาถนนสุขาภิบาล 1 พร้อมรุกภูธร คาดปีหน้าเห็นแน่มั่นใจปีนี้รายได้เติบโต 25%
(ผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2550)
เอสเอฟทุ่ม 2 พันล.บุกค้าปลีก
สยามฟิวเจอร์ฯ (เอสเอฟ) รุกหนักพัฒนาค้าปลีกไม่ยั้งมือ ปีหน้าเตรียมทุ่มอีก 2,000 ล้านบาท ผุดสาขาเพิ่ม พร้อมเล็งบุกตลาดภูธรเพิ่มขึ้นด้วยตามหัวเมืองใหญ่ โดยนำรูปแบบเนเบอร์ฮูดเป็นเรือธง ลั่นปลายปีนี้เปิดบริการดิเอสพละนาดได้ในส่วนแรก คาดปีนี้รายได้เติบโต 100% เท่ากับปริมาณพื้นที่รวมสู่ 180,000 ตารางเมตร
(ผู้จัดการรายวัน 4 กันยายน 2549)
ศึก Community Mallสมรภูมิ ต่อยอดธุรกิจ
Community Mall เป็นรูปแบบหนึ่งของศูนย์การค้าที่ไม่ต้องใช้พื้นที่มากมายเหมือนดิสเคาน์สโตร์หรือห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆที่เน้นความหลากหลายและครบครันของสินค้าเพื่อดึงดูดผู้บริโภคจากทั่วสารทิศ แต่ Community Mall เน้นการตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภครวมถึงการวางโพสิชันนิ่งให้เป็นแหล่งนัดพบและใช้ชีวิตของผู้บริโภคจึงมีรูปแบบสินค้าและบริการที่แตกต่างจากศูนย์การค้าทั่วไป
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
เนรมิตเมือง2หมื่นล้านบาทบทพิสูจน์ฝีมือทายาท“เจริญ”
เจริญ สิริวัฒนภักดี ธุรกิจน้ำเมาของเขาที่ทุกคนรู้จักกันดี ได้ก้าวขึ้นไปถึงสูงสุด แต่สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายใต้ปีก ทีซีซี แลนด์ แม้จะมีอาคารสำนักงานให้เช่ามากมายหลายแห่ง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เพราะยังไม่ได้มีการหยิบที่ดินแปลงใหญ่มาพัฒนาอย่างจริงจังหลังจากที่มีการร่วมทุนกับแคปปิตอล แลนด์ กลุ่มทุนสิงคโปร์ จัดตั้งบริษัท ทีซีซี แคปปิตอล แลนด์ ขึ้นเพื่อพัฒนาโครงการสำหรับขาย กลับสร้างปรากฎการณ์ให้ทุกคนต้องจับตามอง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
อาดิดาส จับมือ เอสพลานาด ลุยโปรโมทฟุตบอลโลก
ลูกฟุตบอลยักษ์ “จาบูลานี่” ด้านหน้า ดิ เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ รัชดาภิเษก พร้อมจัดแสดงนิทรรศการลูกฟุตบอลและรองเท้าสตั๊ด ที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกนับตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 13 มีนาคม 2553
(เวเบอร์ แชนด์วิค 8 มีนาคม 2553)
กิจกรรม: “งานเทศกาลชาและขนมญี่ปุ่น”
บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) จัด “เทศกาลชาและขนมญี่ปุ่น” โดยพบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ
กิจกรรมไฮไลท์ การประมูลชามัตชะ กิโลละหนึ่งแสนบาท, สัมผัสรสชาติของ“ขนมต้องห้าม”, สาธิตกรรมวิธีการทำชามัตชะ เป็นต้น
(เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย), บจก. 21 สิงหาคม 2551)