6 ปีที่ผ่านไป
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เป็นสองลูกหนี้ที่ดำรงบทบาทอย่างมีสีสันมาก
ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546)
I shall Return
สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เชื่อมั่นเสมอว่า ชีวิต และการทำงาน ก็เหมือนกับพระอาทิตย์
คือมีทั้งขึ้นและตก แต่หลังจากพระอาทิตย์ของเขาตกลงครั้งล่าสุด เขาต้องใช้เวลารอนานเกือบ
6 ปี กว่าที่แสงสีทองจะปรากฏขึ้นมาบนขอบฟ้า ให้เขาได้มองเห็นอีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546)
The Biggest Deal ธุรกิจไทย (ด้วยกัน)
การเกิดขึ้นของมิลเลนเนียมสตีล ถือเป็นกรณีประวัติศาสตร์ของ การรวมกิจการของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศไทย
ที่ได้บทสรุปอย่างนุ่มนวลที่สุด ทั้งๆ ที่แต่ละฝ่าย ล้วนมีบุคลิกที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546)
MSกู้3.5พันล.ผุดโรงถลุงเหล็ก
มิลเลนเนียม สตีล กู้เงินอีกประมาณ 3,500 ล้านบาท เพื่อใช้สร้างโรงงานถลุงเหล็กต้นน้ำกำลังการผลิต 5 แสนตันต่อปี หวังลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพเหล็ก คาดเริ่มเดินเครื่องผลิตได้ไตรมาส 3 ปี 51 และโครงการนี้ให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ( IRR ) สูงกว่า 15% ขณะที่ผลงานปีนี้คาดกำไรดี ผลจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น ทาทา สตีล (ประเทศไทย) และใช้ชื่อเทรด TSTH หลังทาทา สตีลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 67%
(ผู้จัดการรายวัน 13 ธันวาคม 2549)
MSรื้อโครงสร้างรับผู้ถือหุ้นใหม่พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น"ทาทา สตีลฯ"
มิลเลนเนียม สตีล ปรับใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่ อิงรูปแบบต่างประเทศ ดีเดย์ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้ พร้อมทั้งเพิ่มทุนบริษัทย่อย "เหล็กสยาม" เพื่อให้สอดคล้องกับการดำรงฐานะบริษัทต่างด้าว หลัง Tata Steel เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก่อนจะประกาศเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ทาทา สตีล ประเทศไทย" หรือ TSTH
(ผู้จัดการรายวัน 26 ตุลาคม 2549)