พันธมิตรธุรกิจ เสถียร เศรษฐสิทธิ์
เสถียร เศรษฐสิทธิ์ เป็นคน "เดือนตุลา" ที่กลับมาเติบโตบนเส้นทางธุรกิจและเป็นผู้ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์การสู้รบบนถนนสายเครื่องดื่มชูกำลัง คนสำคัญของ "คาราบาวแดง"
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2547)
เดิมพันด้วยชีวิต แอ๊ด คาราบาว
แอ๊ด คาราบาว เป็นศิลปินคนหนึ่งของเมืองไทยที่มีแฟนเพลงตั้งแต่ขอทานยันรัฐมนตรีมานานกว่า 20 ปี ความชื่นชอบในเสียงเพลงกลายเป็นอิทธิพลที่ทรงพลังทางความคิดให้กับคนกลุ่มใหญ่อย่างไม่ตั้งใจและเมื่อเขาเป็นพ่อค้าขายสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายซ้อนทับไปกับแฟนเพลง เสียงวิพากษ์วิจารณ์จึงหนาหู เป็นการฉวยโอกาสที่ "รับไม่ได้" ในความคิดของคนหลาย ๆ คน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2547)
เกมการตลาดจาก ฟาร์อีสท์ ดีดีบี
บริษัท ฟาร์อีสท์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน) คือพันธมิตรธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การตลาดอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นส่วนผสมสำคัญในยุคเริ่มต้นของ "คาราบาวแดง"
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2547)
เสริมสุข โยกแรงเยอร์ เติมพอร์ต แทนคาราบาวแดง
เสริมสุข ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลัง “แรงเยอร์” และ “พาวเวอร์ พลัส” จำนวน 20 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่าการเข้าซื้อกิจการเป็นจำนวนเงิน 248 ล้านบาท เพื่อต้องการต่อยอดุรกิจในตลาดเครื่องดื่มไม่อัดลม
(Positioning Magazine 16 ตุลาคม 2555)
Energy Drink แค่มี B12 ยี่ห้อไหนก็ได้
สารเพิ่มคุณภาพในเครื่องดื่มชูกำลัง B12 ไม่ใช่เรื่องใหม่ของธุรกิจนี้ เพราะเครื่องดื่มชูกำลังทุกแบรนด์มีวิตามิน B12 ผสมอยู่แล้ว และมีมานานตั้งแต่เริ่มผลิต ขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์ใดจะนำใช้เป็นคุณสมบัติพิเศษ เพื่อทำการโฆษณา หรือสื่อออกไปให้ผู้บริโภคได้รับทราบ
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2554)
Think Big
ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังไม่คึกคักเท่าสมัยตอนเปิดตัว “คาราบาวแดง” แรกๆ เมื่อปลายปี 2545 ที่เจ้าเก่าดั้งเดิมงัดเอากลยุทธ์การตลาดออกมาฟาดฟันกับน้องใหม่รายนี้ที่มี “น้าแอ๊ด-คาราบาว” เป็นจุดขาย เรียกเสียงตอบรับจากสาวก “นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่” ได้ดีไม่เบาจนไต่ขึ้นอันดับ 3 จะเป็นรองเพียง M150 และกระทิงแดง
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
เครื่องดื่มบำรุงสมองแข่งชิงบัลลังก์ “บีอิ้ง”ลุยสร้างเซกเมนต์ดูแลสายตา
ช่วง 2 -3 ปีที่ผ่านมานี้ “เครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์” นับว่าเป็นตลาดที่เติบโตต่อเนื่องในไทย กระทั่งปีนี้ตลาดมีมูลค่า 3,000-4,000 ล้านบาท จากการมีผู้ประกอบการในยุคแรกๆ เข้ามาสร้างตลาด ด้วยการบุกเบิกเซกเมนต์เพื่อความงาม ผิวขาว หรือชะลอริ้วรอย ทำให้ฟังก์ชันนัลดริงก์ กลายเป็นเครื่องดื่มแพร่หลายสำหรับสาวไทยโดยปริยาย
(ASTVผู้จัดการรายวัน 6 พฤษภาคม 2553)
ตลาดชูกำลังปีวัวหืดขึ้นคอรีเทิร์นแห่ชิงโชคปั๊มยอด
ค่ายเครื่องดื่มชูกำลัง แข่งชิงแชร์เดือด หลังตลาด 1.5 หมื่นล้านบาท ไม่โต เทรนด์กิจกรรมชิงโชครีเทิร์นอีกระลอก “คาราบาวแดง” แจกฟีโน 500 คัน ปั๊มยอด พร้อมเบนเข็มชูกำลังซบ จ่อคิวครึ่งปีหลังเท 300 ล้านบาท แตกไลน์นอนแอลกอฮอล์ ด้าน”โอสถสภา”รุกปั้นฉลาม หวังรักษาฐานลูกค้า “กระทิงแดง” ชูเอนเตอร์เทนเมนต์ มาร์เกตติ้ง มัดใจคนรุ่นใหม่
(ผู้จัดการรายวัน 27 มกราคม 2552)
“บาวแดง”รุกเพิ่มฐานส่งออก30%ล้มแผนลุยเดี่ยวหันร่วมทุนในจีน
คาราบาวแดง รุกหนักตลาดส่งออก หวังเพิ่มสัดส่วนสู่ 25-30% เล็งขยายตลาดใหม่ๆตะวันออกกลาง พร้อมปรับแผนลงทุนในจีน หลังศึกษาแล้ว ชี้ต้องเป็นการร่วมทุนสถานเดียวถึงทำได้ เร่งเจรจาควานหาพาร์ทเนอร์ร่วมทุน ขณะที่ตลาดในประเทศไทย ตลาดรวมเติบโตเล็กน้อย อัดงบตลาด 300 ล้านบาทลุยไม่ยั้ง ส่งหนังโฆษณาใหม่ออกมากระตุ้นหลังเงียบไปกว่า 2 ปี เตรียมเพิ่มทีมสาวบาวแดงเจาะย่านชุมชน
(ผู้จัดการรายวัน 31 พฤษภาคม 2550)
"Carabao XO" เครื่องดื่มชูกำลังกลิ่นวิสกี้
สัปดาห์ที่แล้ว คาราบาวตะวันแดงแถลงข่าว เตรียมปลุกกระแสตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ส่งน้องใหม่ Carabao XO ... กลิ่นวิสกี้ ลงสู่ตลาด หวังเขย่าวงการในช่วงสิ้นปี 2548 นี้ พร้อมทุ่มงบการตลาด 100 ล้านบาท นำเสนอผ่านสื่อโฆษณา และกิจกรรมการตลาดเต็มที่ เพื่อให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคอย่างรวดเร็วภายใต้คอนเซ็ปต์ "Carabao XO กลิ่นวิสกี้ ขวดเดียวพอ เตรียมคอให้พร้อม"
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 ตุลาคม 2548)
คาราบาวแดง หนุนเยาวชนเล่นดนตรี จัดโครงการ “ดนตรีสร้างชีวิต”
บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด จัดโครงการ “คาราบาวแดง ดนตรีสร้างชีวิต” เพื่อต้องการสนับสนุนให้เยาวชนไทยหันมาสนใจกับการเล่นดนตรีมากขึ้น โดยมอบทุนจัดหาเครื่องดนตรีให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนมูลค่า 30,000 บาท เพื่อปลูกจิตสำนึกที่ดีงาม และสร้างคุณค่าชีวิตผ่านการเล่นดนตรี ให้แก่โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก
(กู้ดวิล คอมมูนิเคชั่นส์, บจก. 27 กันยายน 2549)
โครงการ “คาราบาวแดง ดนตรีสร้างชีวิต” หนุนให้เยาวชนไทยสนใจดนตรี
บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด จัดโครงการ “คาราบาวแดง ดนตรีสร้างชีวิต” เพื่อต้องการสนับสนุนให้เยาวชนไทยหันมาสนใจกับการเล่นดนตรีมากขึ้น โดยมอบทุนจัดหาเครื่องดนตรีให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนมูลค่า 30,000 บาท
(กู้ดวิล คอมมูนิเคชั่นส์, บจก. 30 สิงหาคม 2549)