เมื่อรายได้หลักอยู่ที่ non-voice
ความพยายามที่จะเร่งสร้างรายได้จากตลาด non-voice ของค่ายโทรศัพท์มือถือ ด้วยการผนึกกำลังกับบริษัทผู้ผลิตสื่อบันเทิง ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจทั้งสองเหลื่อมซ้อนกันมากขึ้น พร้อมกับช่องทางการขายใหม่ๆ ที่เน้นสู่การขายตรงมากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2552)
RS วางไมค์มาเล่นกีฬา
ถ้ามองตลาดเพลงโดยรวมแล้ว บริษัทอาร์เอสอาจจะพอใจในยอดขายและรายได้จากธุรกิจบันเทิงส่วนนี้อยู่ไม่น้อย แต่ว่าในเนื้อหาที่เป็นเพลงที่ดูว่าดีแบบนี้ ไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่าศิลปินทุกเบอร์ที่ออกผลงานมาจะขายดีทุกชุด แม้จะมีโมเดลธุรกิจสำเร็จรูปรองรับก็ตาม
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2551)
เฮียสั่งลุย
เหตุการณ์ระเบิดในคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นอกจากจะทำให้การแสดงของอาร์เอสที่เตรียมเอาไว้ที่เซ็นทรัลเวิลด์ต้องยกเลิกไปแล้ว ยังส่งผลตามมาอีกอย่างน้อย 2 ประการ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550)
อาร์เอสซัลโวบอลสเปน ขอเบาะๆ 2 พันล้าน
หลังจากที่อาร์เอสได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาระดับทัวร์นาเมนต์มาหลายครั้ง เช่น ฟุตบอลโลก ซีเกมส์ ในปีนี้อาร์เอสคว้าลิขสิทธิ์ฟุตบอล "ลาลีกา สเปน" ฤดูกาล 2012-2015 มาไว้ในมือด้วยงบประมาณ 1,000 ล้านบาท
(Positioning Magazine 25 พฤษภาคม 2555)
RS เปิดโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง 8 สู้ฟรีทีวี
อาร์เอส เปิดโทรทัศน์ดาวเทียมช่องใหม่ ผลิตเนื้อหาชนฟรีทีวี มีทั้งละคร เพลง ซีรี่ย์ญี่ปุ่นและเกาหลี พร้อมเปิดอีก 2 ช่องสิ้นปีนี้ คาดหวังยอดรายได้ 400 ล้านบาทในปีแรก
(Positioning Magazine 1 เมษายน 2554)
เพลงผสมดราม่า แนวรุกใหม่ “อาร์เอส”
ปีนี้ 2 ธุรกิจหลักที่เป็นทัพหลักของกลุ่มอาร์เอส คือ ธุรกิจเพลงและธุรกิจสื่อ โดยมีแนวทางว่า ผนวกรวมคอนเทนต์บันเทิงกับสื่อทุกประเภทที่มีอยู่ในมือเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่อส่งต่อนโยบายให้กับธุรกิจย่อยในเครืออาร์เอส แต่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทแม่อย่างเคร่งครัด
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2554)
อาร์เอสโขกโฆษณาอีก30% ทีวีดาวเทียมรายย่อยตายอื้อ
“อาร์เอส” รุกธุรกิจแซทเทลไลท์ทีวี เต็มสูบ จ่อคิวปรับขึ้นราคาค่าโฆษณา 30% รับเม็ดเงินโฆษณาทีวีดาวเทียมทะลุ 5,000 ล้านบาทในปีหน้า ส่วนเอซีนีลเส็นปฏิวัติการสำรวจเรตติ้งใหม่ ขยายฐานกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 เท่า รับการแข่งขันเดือด ชี้รายย่อยไม่แกร่งล้มหายเพียบ
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 10 กุมภาพันธ์ 2555)
ย๊าค ในเครือ อาร์เอส ปักธงรบ
ในฐานะผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภททีนวาไรตี้ (Teen Varity) ที่เจาะตลาดกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะ ทุ่มงบกว่า 50 ล้านบาท ผุดช่อง YAAK TV ฟรีทีวี Uncensored 24 ชม. ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 22 สิงหาคม 2554)
อาร์เอสยิ้มทีวีลูกทุ่งกำไร
อาร์สยามขาขึ้น หลังวางหมากถูกทาง เน้นบริหารแบบ 360 องศา ครึ่งปีแรกทำได้ 322 ล้านบาท โตเกินเป้า 11% มั่นใจทั้งปีกวาดรายได้เพิ่มอีก 20% จากเป้าหมายเดิม 640 ล้านบาท ยิ้ม ช่อง สบายดีทีวี เข้าถึงกลุ่มผู้ชม นั่งแท่นอันดับหนึ่งของเคเบิลทีวี คว้ากำไรปีแรก
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 2 สิงหาคม 2554)
'อาร์สยาม' ปั้นช่องใหม่ รองรับเป้าหมายอายุ 40 ปีอัพ
หลังจากค่ายเพลงอาร์สยามประสบความสำเร็จจากทำตลาดแบบ 360 องศาจนสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทตามเป้าที่วางไว้ 640 ล้านบาทอย่างแน่นอน เห็นจากครึ่งปีแรกยอดรายได้สูงเกิดกว่าเป้า 11% แล้วปีนี้จึงเกิดแนวคิดที่จะขยายช่องทางใหม่อีกช่อง คือ เปิดช่องสำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 40 ปีขึ้นไป เพื่อระบายคอนเทนต์ที่มีอยู่มากจนไม่สามารถลงช่อง “สบายดี ทีวี” ได้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 สิงหาคม 2554)
อาร์เอส สดใสไตรมาสแรกเติบโตกว่า 27 เปอร์เซ็นต์
“อาร์เอส” เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 54 ทำรายได้รวม 610.28 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 66.21 ล้านบาท หรือเติบโตกว่า 27% เป็นปลื้มธุรกิจกลุ่มมีเดียเติบโตแข็งแกร่ง โดยเฉพาะธุรกิจโทรทัศน์ที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ช่วยเสริมทัพและนำอาร์เอสเดินหน้ามุ่งสู่การเป็นดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เน็ตเวิร์ค เต็มตัว
(อาร์เอส, บมจ. 19 พฤษภาคม 2554)