ปิดปูม Lehman Brothers (ตอนที่ 2)
Pete Peterson เรียกได้ว่าเป็น CEO คนแรก ที่พลิก Lehman Brothers ให้พ้นจากการขาดทุนต่อเนื่องมาเป็นกำไรติดต่อกันถึง 5 ปีซ้อน เขานำ Lehman เข้าเทกโอเวอร์ Abraham & Co. และควบกิจการกับ Kuhn, Loeb & Co. ทำให้ Lehman กลายเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551)
ปิดปูม Lehman Brothers (ตอนที่ 1)
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2008 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ คือ การล่มสลายของสถาบันการเงินสัญชาติอเมริกัน Lehman Brothers วาณิชธนกิจรายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ อันเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญบนเวทีเศรษฐกิจโลกมาช้านาน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551)
กรรมเก่า
ว่ากันว่าเรื่องร้ายๆ มักจะมาตอนที่ไม่ทันตั้งตัว วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ ก็คงอยู่ในข่ายนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะระหว่างที่ผู้คนในสังคมต่างเฝ้ารอการตรวจสอบและดำเนินคดีกับอดีตผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดก่อนชนิดตาแทบไม่กะพริบ อยู่ๆ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ก็ไปขุดเอาเรื่องราวขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อเกือบ 10 ปีก่อนมาสะสาง โดยการออกหมายเรียกวิชรัตน์ ในฐานะอดีตเลขาธิการ ปรส.มารับทราบข้อกล่าวหาชนิดที่ไม่มีเค้าลางมาก่อน เปรียบเหมือนฟ้าผ่ากลางแดดยังไงยังงั้น
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
ต่างชาติทิ้งแสนล้าน หุ้นไทยดิ่ง 300 จุด
9 เดือนแรกของปี 2008 ท่ามกลางข่าวสถาบันการเงินล้มรายแล้วรายเล่า เงินต่างชาติขายหุ้นสุทธิแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ดัชนีหุ้นร่วงไปแล้วเกือบ 300 จุด หากพอร์ตต่างชาติที่อยู่ในตลาด 1 ล้านล้านบาทหายไป ตลาดหุ้นไทยจะดิ่งหายไปอยู่ที่ใดซึ่งยังไม่มีเซียนหุ้นคนใดกล้าฟันธง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยลบที่มาจากการเมืองในประเทศยืดเยื้อ จึงเหลือเพียงคำแนะนำเพียงว่าทั้งขาใหญ่ และแมงเม่าควรปรับพอร์ตเล่นหุ้น ปรับ Mind Set ถือยาว หรือทางที่ดีไปลงทุนอย่างอื่นดีกว่า
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
แบงก์วูบ ติดล็อก “เลแมนฯ”
ทันทีที่เลแมน บราเดอร์ส ประกาศ “ล้มละลาย” สถาบันการเงินของไทย โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์หลายแห่งถูกจับตามองว่าได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน “เงินหมุน” ให้กับเลแมนฯ และสถาบันการเงินอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาหรือไม่ และต่างเกรงว่าเงินนั้นจะ “ไม่หมุนกลับมา”
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
8 ปี ปิดดีลแสนล้าน
ในช่วงรุ่งเรืองของ “เลแมน บราเดอร์ส (ไทยแลนด์)” ตลอดนับ 10 ปีที่ผ่านมาในไทย ผู้บริหารของ “เลแมนฯ” ไม่ค่อยเปิดเผยตัวเป็นข่าวให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนเท่าไรนัก แต่เมื่อบริษัทแม่ที่สหรัฐอเมริกาประกาศ “ล้มละลาย” หนึ่งในผู้บริหาร “เลแมนฯ” อย่าง “กฤษดา กวีญาณ” ต้องออกมาอยู่ในสปอตไลต์ อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะพอร์ตของเลแมนฯ ในไทยมีมากถึง 50,000 ล้านบาท กว่า 50% เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ กำลังถูกจับตามองว่าหากต้องมีการ “ขาย” เพื่อส่งเงินกลับสหรัฐอเมริกา ทรัพย์สินเหล่านี้จะเปลี่ยนไปอยู่ในมือของใคร
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
เอ็นพาร์คเร่ขายโนโวเทลภูเก็ต-สิริภูเก็ตรอเลแมนฯชี้ขาดหวังดึงเงินจ่ายหนี้กรุงไทย
เอ็นพาร์คฝ่ามรสุมทางธุรกิจ ประกาศขายทรัพย์ให้แก่บริษัท เลแมน บราเดอร์สฯ อีกระลอก ทั้งโครงการโรงแรมโนโวเทล ภูเก็ต-บริษัท สิริภูเก็ตฯ รวมจำนวน 750 ล้านบาท หวังนำเงินชำระหนี้สถาบันการเงิน เสริมทุนหมุนเวียนและพัฒนาโครงการใหม่ ด้านโบรกเกอร์ชี้ บริษัทเอ็นพาร์คยังมีภาระหนี้กับแบงก์กรุงไทย 2,000 ล้านบาท ชี้โอกาสผลักดันให้ผลประกอบการพลิกขาดทุนเป็นบวกอีกนาน
(ผู้จัดการรายวัน 1 กันยายน 2549)
เลแมนฯ จ้องซื้อสินทรัพย์แปซิฟิค "เสริมสิน" ชี้ขาด 20 วันยันโปร่งใส
แปซิฟิค แอสเซ็ทส์ฯ ทำข้อตกลงกับวาณิชธนกิจชื่อดังอย่าง เลแมน บราเดอร์สฯ ดิวซื้อขายทรัพย์ของแปซิฟิคฯ มูลค่า 3,220 ล้านบาท แจงยิบเงินจากการขายทรัพย์คืนหนี้แบงก์ลดฮวบ 50% ของมูลหนี้รวม ลงทุนบุกโรงแรมวิลล่าเกาะสมุย "เสริมสิน สมะลาภา" ยันทุกอย่างโปร่งใสและยุติธรรม ระบุทุกขั้นตอนตรวจสอบได้ และกรรมการมีอิสระเต็มที่ไม่มีบทบาทซ้ำซ้อนกัน
(ผู้จัดการรายวัน 1 กรกฎาคม 2548)
ไต้หวันกับภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจชั่วคราว
ปัจจัย 3 ประการที่มีผลต่อเศรษฐกิจไต้หวัน คือ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกับจีน สกุลเงินที่มีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง และสภาพคล่องภายในประเทศ
(อาซิแอม-เบอร์สัน มาร์สเตลเลอร์ 7 มีนาคม 2548)