การสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ความพยายามของสังคมไทยที่จะหนุนนำให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ creative economy ดูจะเป็นกรณีที่มีนัยความหมายเป็นเพียงประหนึ่งวาทกรรมที่เกิดขึ้นและเสื่อมถอยวาบหายไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่สามารถนำมาประกอบส่วนให้เกิดผลจริงจังได้มากนัก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554)
วิสัยทัศน์ CJ Group: Asian Cultural Platform
หากความสำเร็จของภาพยนตร์ AVATAR รวมถึง Transformer III ที่นำเสนอด้วยเทคนิค 3D จะมีส่วนเสริมให้ลมหายใจที่รวยรินของอุตสาหกรรมภาพยนตร์กลับมาอยู่ในภาวะตื่นตัวและคึกคักขึ้น ทำให้โรงภาพยนตร์สามารถคงสถานะของการเป็นสถานที่ในการเสพรับความรื่นรมย์ของภาพยนตร์ได้อีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554)
วิชา พูลวรลักษณ์ Creative Entertainer
ชื่อของวิชา พูลวรลักษณ์ ได้รับการยอมรับและกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่เป็น lifestyle trendsetter คนสำคัญของเมืองไทย ภายใต้อาณาจักรธุรกิจเครือเมเจอร์ของเขา ไม่แปลกเลยที่เขาจะเป็นผู้นำเข้านวัตกรรมใหม่ล่าสุดว่าด้วยโรงภาพยนตร์แบบ 4 มิติหรือ 4D Plex มานำเสนอต่อสายตาผู้ชม
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554)
เมเจอร์ กับโมเดลโฆษณาแบบฟรีทีวี
เมื่อโลเกชั่นไม่สามารถสะท้อนถึงรสนิยมและไลฟ์สไตล์ที่แท้จริงของคนดูภาพยนตร์ กอปรกับไม่สามารถเก็บเกี่ยวรายได้จากโฆษณาอย่างเป็นกอบเป็นกำ เมเจอร์ฯ จึงเตรียมผุดโมเดลโฆษณารูปแบบใหม่ๆ คิดตามฟอร์มภาพยนตร์ ใหญ่ กลาง เล็ก เพื่อสร้างรายได้จากโฆษณามากขึ้น รวมถึงตอบโจทย์ลูกค้าได้ชัดเจนกว่าเดิม
(Positioning Magazine 13 กันยายน 2554)
HOUSE RCA โรงหนังอินดี้กับนักปั่นอินเทรนด์
เท่าที่นับดูแล้ว ห้างร้านในกรุงเทพฯ ที่จัดสรรพื้นที่ไว้ให้สำหรับคนปั่นจักรยานได้แวะพักนั้นมีเพียงไม่กี่แห่ง นอกจากเซ็นทรัลบางสาขา สยามพารากอน เค-วิลเลจ จามจุรีสแควร์ และอาคารอื้อจื่อเหลียงแล้ว ก็ยังมีโรงภาพยนตร์อินดี้อย่าง “เฮ้าส์ อาร์ซีเอ” ที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการให้บริการที่จอดรถจักรยาน
(Positioning Magazine 10 สิงหาคม 2554)
โรงหนัง 4 มิติ Value Added ของเมเจอร์ฯ
หลังจากขยายโรงหนัง 3 มิติ เพื่อสร้างสีสันความแปลกใหม่ และขยายกลุ่มคนดู เมเจอร์ฯ รุกต่อด้วยโรงหนัง4มิติ หรือ 4DX ประเดิมโรงแรกในห้างสรรพสินค้าพารากอน ซีนีเพล็กซ์ ด้วยเงินลงทุน 50 ล้านบาท ใช้เทคโนโลยีฮอตจากซีเจ กรุ๊ป ประเทศเกาหลี
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
ไทยผุด100โรงหนังปีมังกร เมเจอร์ลุยตปท.-SFซุ่มบิ๊กโปรเจ็คต์
ตลาดหนังเอเชียเฟื่องสุดๆ โรงหนังผุดเป็นดอกเห็ด จีนนำทีมเพิ่ม 3,000 โรง มาเลเซีย 200 โรง ไทยร่วม 100 โรง ฮอลลีวู้ดพร้อมสร้างหนังป้อนตลาดเต็มสูบ “เมเจอร์”สบช่องเตรียมลงทุนต่างประเทศต่อเนื่องจากอินเดีย “เอสเอฟ” อุบโปรเจกต์พันล้าน หวังสร้างปรากฏการณ์ใหม่แก่ธุรกิจโรงภาพยนตร์
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 10 มกราคม 2555)
โรงหนังยังยิ้มได้ Q4 หนังเทศช่วยชีวิต ชี้ ทั้งปีไปได้ดี-ลุ้นปีเถาะโต 30%
ไตรมาส 4 หนังเทศช่วยชีวิต ส่งภาพรวมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ยังไปได้ดี ส่วนปีหน้าปีทองทั้งไทยและเทศ โตรวมไม่ต่ำกว่า 30% “เมเจอร์” มั่นใจทั้งปีโตไม่ต่ำกว่า 10% ตามเป้าที่วางไว้ ส่วนปีหน้าวางไว้ที่ 10-15% ทุ่มอีก 1,000 ล้านบาท ขยายโรงภาพยนตร์ต่อเนื่อง เอสเอฟตอกย้ำ ไตรมาส 4 อุตฯหนัง น้ำตาร่วง
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 22 ธันวาคม 2553)
“เอสเอฟ”หวังQ2-3ตลาดรวมฟื้น ผุดเอาท์ดอร์ซีนีม่าดูหนังเห็นทะเล
เครือเอสเอฟ เล็งผุดโรงหนังใหม่ในกรุงเทพฯอีกอย่างต่ำ 3-5 สาขา มั่นใจตลาดยังมีรองรับอีกมาก พร้อมเกาะติดไปกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลเป็นหลัก เผยปีนี้วางแผนเปิดใหม่ 5 สาขา เปิดตัวไปแล้ว 3 แห่ง ล่าสุดเตรียมเปิดสาขาที่เซ็นทรัลพลาซ่าชลบุรีปลายเดือนนี้ ส่วนที่พัทยาเตรียมเปิดโฉมเอาท์ดอร์ซีนีม่า มั่นใจปีนี้แชร์เพิ่มเป็น 35%
(ASTVผู้จัดการรายวัน 18 พฤษภาคม 2552)
Sands Theater แม่เหล็กบันเทิงใหม่ จุดขายโรงละครบอร์ดเวย์แห่งเอเชีย
"แซนด์ส เธียเตอร์"โรงละคร และแม่เหล็กตัวที่ 5 "มิวเซียม" หรือพิพิธภัณฑ์ อย่างไม่เป็นทางการพร้อมกัน ด้วยกลยุทธ์สื่อสารการตลาดยอดฮิต นั่นคือ Press Tour กับสื่อมวลชนจากเมืองไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดกลุ่มเป้าหมายของนักท่องเที่ยว
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤศจิกายน 2553)
ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ปี 50 : เผชิญหลากปัจจัยลบ...เร่งปรับตัวตามไลฟ์สไตล์
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยบทวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของธุรกิจโรงภาพยนตร์ในปี 2550 โดยชี้ว่า เหตุการณ์การลอบวางระเบิดถึง 8 จุดในเขตกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมานั้น คาดว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโรงภาพยนตร์ ในปี 2550 พอสมควร ในด้านความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของผู้บริโภคในการออกมาใช้เวลาว่างและพักผ่อนในศูนย์การค้า การเข้าชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้คนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคบางส่วนยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทางมายังสถานที่ที่คาดว่าจะไม่ปลอดภัย หรือมาใช้เวลาระยะสั้นลงหรือออกมาใช้บริการเมื่อมีความจำเป็นและรีบกลับที่พักแทนการออกมาเที่ยวและใช้เวลาในสถานที่ต่างๆ นอกบ้านเหมือนช่วงที่ผ่านมา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มกราคม 2550)