"แดง แหนมเนือง" สูตรญวนดั้งเดิม มุ่งสู่แฟรนไชส
กว่า 35 ปี ที่ร้านแหนมเนืองแห่ง นี้เปิดขายอาหารเวียดนาม จนเป็นที่รู้จักของคนที่นิยมรับประทานอาหารเวียดนามจากทั่วสารทิศ เป้าหมายธุรกิจของ "แดงแหนมเนือ" สูงสุดคือ ต้องการจะกระจายร้านไปยังจังหวัดต่างๆ
ในรูปแบบของการขายแฟรนไชส์ เหมือนเอ็มเค สุกี้หรือร้านอาหาร 13 เหรียญ แต่ทั้งนี้ต้องค่อยเป็น
ค่อยไปทีละก้าว บนหลักการ Slow but Sure
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543)
"เจ๊รัช" ของพื้นบ้าน 'ไทยแลนด์แบรนด์'
"เจ๊รัช" ปรับตัวอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากอาหารพื้นเมืองอีสานวางขายในลัง มาเป็นสินค้าขึ้นห้างฯ พร้อมได้รับ "ไทยแลนด์แบรนด์" เตรียมการเป็นสินค้าส่งออกในอนาคต
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
เตียหงี่เฮียง จากเถ้าแก่ภูธร..สู่ตลาดฮ่องกง
ข้าวตังหมูหยอง "เตียหงี่เฮียง" ผ่านการพัฒนารสชาติมายาวนาน กำลังกลายเป็นขนมขบเคี้ยวที่ฮิตติดตลาดฮ่องกง ขณะนี้มีผู้จำหน่ายขนมขบเคี้ยวในฮ่องกงติดต่อนำเข้า 4 รายแล้ว ความสำเร็จนี้สั่งสมจากรากฐานการพัฒนากิจการมาเป็นระยะเวลายาวนาน
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
สมรภูมิเมนูหมื่นล้าน
มูลค่าตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นในปี 2553 ประมาณ 8,000 ล้านบาท ปี 2554 คาดสูงถึง 10,000 ล้านบาท โดยกลุ่มไฮเอนด์มีประมาณ 20% เป็นกลุ่มเฉพาะ และกลุ่ม Mass 80% ซึ่งแน่นอนตลาดอาหารญี่ปุ่นที่กำลังเติบโตขณะนี้ขับเคลื่อนโดยกลุ่ม Mass
( 10 พฤษภาคม 2554)
Key Success : จุดเปลี่ยน "อาหารญี่ปุ่น" ถูกใจ Mass
อาหารญี่ปุ่น คืออาหารต่างชาติที่คนไทยนิยมเป็นอันดับ 1 เบียดแซงอาหารชาติอื่น ปัจจุบันได้กลายเป็นเมนูที่กลุ่ม Mass เข้าถึงอยู่ตามห้างสรรพสินค้า ดิสเคาน์สโตร์ หรือแม้แต่ริมทาง ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่เป็นเพราะพฤติกรรมคนเปลี่ยน เทรนด์ของรสชาติอาหาร และกลยุทธ์ธุรกิจ เป็นส่วนผสมที่พาให้อาหารญี่ปุ่นมาถึงจุดนี้
( 10 พฤษภาคม 2554)
Transparency Marketing พลิกวิกฤตอาหารญี่ปุ่น เมื่อจุดแข็งกลายเป็นจุดอ่อน
หลังจากญี่ปุ่นเจอปัญหาสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปนเปื้อนในอาหารหลังแผ่นดินไหวรุนแรง หลายแบรนด์ในไทยจึงเจอกับคำถามว่า "กินอาหารญี่ปุ่นได้หรือ... ไม่กลัวรังสีหรือ" มีกรณีศึกษาจาก 2 แบรนด์ยักษ์มาย้ำให้เห็นว่าเมื่อวิกฤตเกิดขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้บริโภค การตลาดบนความ "โปร่งใส" (Transparency Marketing) คือคำตอบที่ดีที่สุด
( 10 พฤษภาคม 2554)
กลุ่มสมบูรณ์ ทุ่ม 40 ล้านบาท เปิดตัวธุรกิจใหม่ “ชุน โนะ ไม”
ทายาทรุ่น 3 กลุ่มสมบูรณ์ ทุ่มงบ 40 ล้านบาท เปิดตัวร้าน ชุน โนะ ไม ชูจุดขาย ครัวโชว์ถ่ายทอดอาหารสูตรต้นแบบจากญี่ปุ่น เน้นเมนูที่ออกแบบโดยตรงตามฤดูกาล และเทศกาลเฉลิมฉลองจากญี่ปุ่น สาธิตการปรุงอาหารอย่างทั่วถึง ผ่านจอมอนิเตอร์รอบร้าน
(วีม คอมมูนิเคชั่น, บจก. 30 กันยายน 2554)
รถจำหน่ายอาหารญี่ปุ่น Dr.Sushi
กุศมัย กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่น แนะนำ รถ 3 ล้อ คีออส ด๊อกเตอร์ ซูชิ ( Dr.Sushi ) สำหรับจำหน่ายอาหารญี่ปุ่น ออกแบบและตกแต่งมาเป็นพิเศษ เพื่อจำหน่ายอาหารญี่ปุ่นโดยเฉพาะ
(นิวส์ เพอร์เฟค คอมมิวนิเคชั่น, บจก. 29 ตุลาคม 2553)