ปริญสิริ Boutique Oriental Home
บ้านจัดสรรราคาแพงในเมืองไทยเคยมีชื่อผู้ประกอบรายใหญ่ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเพียงไม่กี่ราย แต่แล้วก็มีชื่อ "ปริญสิริ" แทรกขึ้นมาให้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์การเติบโตของกลุ่มนี้จึงน่าสนใจ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547)
Success Story ของผู้อยู่รอด
บริษัทแอล.พี.เอ็น., วังทอง กรุ๊ป, บริษัทปริญสิริ และบริษัทพฤกษา เรียลเอสเตท เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับกลางๆ ที่ต่างผ่านประสบการณ์อันเจ็บปวดจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 บทเรียนและการต่อสู้ในช่วงเวลานั้นได้กลายเป็นบทเรียนและประวัติศาสตร์
ของบริษัทที่น่าจดจำ ก่อนจะตกผลึกกลายเป็นวิธีคิดใหม่ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการธุรกิจบ้านจัดสรร
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547)
ปริญสิริฯถอยฉากผุดคอนโดฯใหม่ลุ้นรัฐบาล'สมัคร1'บริหารประเทศครบปี!!
"ปริญสิริ"แตาะเบรกชะลอพัฒนาโครงการคอนโดฯใหม่ หลังไม่มั่นใจในเสถียภาพของรัฐบาล"สมัคร 1" จะบริหารประเทศครบปีหรือไม่ พร้อมเร่งการขายโครงการคอนโดฯที่ลงทุนไปแล้ว 3 โครงการ กระโจนสู่เมืองท่องเที่ยว กระจายความเสี่ยงสู่รูปแบบการพัฒนาโครงการรีสอร์ทในพัทยา-ประจวบคีรีขันธ์ มูลค่า 3,000 ล้านบาท ด้านเจ้าของจักรยานLA ยอมรับช่วงปี 50 ยอดขายโครงการบ้านเดี่ยวชะลอลง 50% ยัน"อิมเมจ เพลส"ปี 51 ปิดการขายโครงการ เล็ง4-5 แปลงใหม่โซนพุทธมณฑล ผุดโครงการบ้านเดี่ยวต่อ
(ผู้จัดการรายวัน 28 กุมภาพันธ์ 2551)
"ปริญสิริ" เผยปี49 เปิด 7 โครงการ ตั้งเป้ารายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า40%
"ปริญสิริ" เผยแผน ปี 49 เตรียมพัฒนาต่อเนื่อง 7 โครงการ ตั้งเป้ายอดขายเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% แจงยอดขาย 3 ไตรมาส 2,223 ล้านบท ยอดรับรู้รายได้ 1,214 ล้านบาท จากเป้ารวมทั้งปี 2,300 ล้านบาท ล่าสุด เปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มอีก 2 โครงการ ย่านเกษตร-นวมินทร์ และพระราม 2 มูลค่ารวม 673 ล้านบาท ย้ำชัดเข้าเทรดในตลาด พ.ย.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 11 ตุลาคม 2548)
"ปริญสิริฯ"ยืนยันแผนเข้าตลาดฯติดตามหุ้นกฟผ.
เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ฯหวนคืนตลาดหุ้น วันนี้(20 ก.ย.) เข้าซื้อขายในหมวดปกติภายใต้ชื่อ "KC" พร้อมเร่งยอดโอนบ้านให้ลูกค้าภายในสิ้นปีอีก 1,100 ล้านบาท ด้านปริญสิริฯ ยันเข้าตลาดหุ้นแน่ แต่ขอมอนิเตอร์หุ้นกฟผ.อย่างใกล้ชิด ขณะที่ยอดขายโครงการแต่ละเดือนยังไม่ตก เร่งงานก่อสร้างเพื่อโอนบ้านให้ลูกค้า ช่วงปลายปีให้ได้อีก 300 หลัง เฉลี่ยอยู่ที่ 3-4 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 20 กันยายน 2548)
เปิดยุทธศาสตร์ปริญสิริเตรียมท้าชนยักษ์ใหญ่ทุกเซกเมนต์
แม้จะไม่ติดอันดับ Top Five ของดีเวลลอปเปอร์ที่มีรายได้สูงสุด แต่ปริญสิริอาศัยจุดแกร่งต่างๆ ที่มีจนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นที่น่าจับตามอง และเมื่อปริญสิริเลือกจะทำตลาด Mass เจาะทุกเซกเมนต์ จึงทุ่มงบสื่อสารการตลาดอย่างหนัก เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำแบรนด์ หลังตัดสินใจนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการสร้างแบรนด์ และการยอมรับของสาธารณชนเท่านั้น เพราะบริษัทมีความแข็งแกร่งทางการเงินอยู่แล้ว การตัดสินใจครั้งนั้นถือเป็นก้าวย่างสำคัญ เพราะความเป็นเจ้าของจะไม่จำกัดอยู่แค่ภายในครอบครัวอีกต่อไป และยังมีพันธสัญญาที่จะต้องผลักดันบริษัทฯ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นที่พึงพอใจของผู้ถือหุ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 มกราคม 2550)
ปริญสิริฉวยนโยบายรัฐพลิกผัน ลุยซื้อที่ดินราคาถูกเข้าสต็อก
ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของนโยบายการลงทุนโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนของภาครัฐว่าจะยังยืนนโยบายเดิมที่วางไว้ตั้งแต่ก่อนการหาเสียงเลือกตั้ง หรือจะปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนหลังจากที่ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล หรือเฮียเพ้ง
ความสับสนวุ่นวายในช่วงนั้น ทำให้บรรยายกาศการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในช่วงนั้นเสียสูญทันที เพราะเริ่มไม่เชื่อมั่นในนโยบายการบริหารจัดการประเทศของรัฐบาลแล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 ธันวาคม 2548)
ศุภาลัย/ปริญสิริเดินหาบริหารต้นทุน ลดความเสี่ยงรักษาผลกำไร
"ศุภาลัย"กระจายความเสี่ยงเลี่ยงเปิดขายทีละเฟส เลือกแบบบ้านให้ตรงกลุ่มลูกค้า ชูกลยุทธ์ราคาเป็นหัวหอกในการทำตลาด ปรับเป้ารายได้ปลายปีเพิ่มเป็น 7,000 ล้านบาท ด้าน "ปริญสิริ"บีบคอซัพพลายเออร์ล็อคราคาวัสดุนานกว่า 6 เดือน พร้อมเปิดโครงการใหม่อีก 3 แห่งภายในสิ้นปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)