The Real Universal Banking
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์แทบทุกแห่งต่างประกาศตัวกันปาวๆ ว่าจะเบนเข็มไปสู่การเป็น Universal Banking แต่กลับมีธนาคารเพียงไม่กี่แห่งที่มีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และผู้บริโภคทุกคนสามารถจับต้องได้
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547)
ที่สุดของแบงก์ศรีนคร....ไม่เหลือเชื่อ
"ลูกเอ๋ย...พ่อจะจากเจ้าไปแล้ว เจ้าคือ บุตรหัวปี ภาระครอบครัวจะตกบนบ่า
ทั้งสองของเจ้า น้องๆ อายุยังเยาว์ ต้องอาศัย เจ้าอุ้มชูสมบัติครอบครัวเรา
....ทางที่ดีเจ้าจงเป็นหัวเรือของธุรกิจ อย่าได้แบ่งสมบัติ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า
เจ้าจะดำเนินการได้ดี จงอย่า ทำให้พ่อผิดหวัง" แต้จือปิง ต้นตระกูลเตชะไพบูลย์สั่งเสียบุตรชายคนโต
อุเทน หรือแต้โหงวเล้าไว้ในพินัยกรรมสุดท้าย
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2545)
รวมศรีนคร-นครหลวงไทย เพื่อขยาย-ขายธุรกิจ
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นมา ชื่อของธนาคารศรีนคร ได้หายไปจากสารบบของธนาคารพาณิชย์ไทย
จากการตัดสินใจของทางการ โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยุบไปรวมกับธนาคารนครหลวงไทย
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของระบบธนาคารพาณิชย์ให้เสร็จสิ้นลงไป เพราะตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤติทางการเงินเมื่อเกือบ
5 ปีก่อน ในระบบธนาคารพาณิชย์ ยังเหลืออยู่อีกเพียง 2 แห่งคือ ศรีนคร และนครหลวงไทยเท่านั้น
ที่ยังมีปัญหาอยู่
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545)
หัวเลี้ยวหัวต่อ SCIB
บูทของ บล.นครหลวงไทยภายในงาน Set in the City ปีนี้คึกคักแน่นอน เมื่อธนาคารนครหลวงไทยในฐานะบริษัทแม่
ใช้โอกาสอันดีนี้ขายหุ้นเพิ่มทุนเพื่อสลัดภาพตัวเองให้หลุดจากความเป็นองค์กรของรัฐบาล
และเพิ่มความยืดหยุ่นการดำเนินงาน
(ผู้จัดการรายวัน 19 พฤศจิกายน 2546)
แบงก์ชฎาหวนคืนตลาดหุ้นตั้งบลจ.กลางปี47-ชูบริการลูกค้าอบอุ่น
แบงก์นครหลวงไทย (SCIB) ยุคใหม่ หลังกลืนแบงก์ เจ้าสัวอุเทน เตชะไพบูลย์
ศรีนคร รวมถึง สยายปีกครอบคลุมธุรกิจตลาดเงิน-ตลาดทุนไทยเกือบครบแล้ว เตรียมตั้งบลจ.กลางปีหน้า
มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านให้บริการลูกค้า ด้วยจุดแข็งที่ฝ่ายบริหาร-พนักงานธนาคารใกล้ชิด
และให้บริการที่อบอุ่นกับลูกค้า ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ตั้งเป้าเป็นธนาคารส่วนตัวลูกค้าที่ดีที่สุด
(ผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2546)
นครหลวงไทยใหม่ราบรื่น เดินหน้าแข่งแบงก์เอกชน
"อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" เผยแผนธนาคารนครหลวงไทยใหม่ ขอเพิ่ม
สินทรัพย์ดีผ่านการซื้อหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยกับเอเอ็มซีเพชรบุรี
90,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสินเชื่อ
(ผู้จัดการรายวัน 2 เมษายน 2545)