Los Angeles ระบบขนส่งมวลชนฉลาด เมืองกระชับ
ผู้เขียนได้ไปเยือนหลายเมืองแถบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้นึกเปรียบเทียบปัญหาการพัฒนาเมืองของไทยที่มีผลกระทบจากการเติบโตของเมืองอย่างไร้การควบคุมและไร้ทิศทาง หรือ “การเติบโตของเมืองแบบกระจัดกระจายไร้ทิศทาง” (urban sprawl) ซึ่งหมายถึงการแผ่ขยายตัวจากใจกลางเมืองออกไปสู่เขตรอบนอกของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2555)
Tokyo Gate Bridge
สะพานโครงสร้างแปลกตาดูละม้ายไดโนเสาร์คู่หนึ่งที่ยืนประจันหน้าเข้าหากันดั่งกรอบประตูเปิดกว้างต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนมหานครโตเกียวโดยทางเรือนั้น กลายเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กใหม่ของเมืองหลวงญี่ปุ่น ซึ่งแท้จริงแล้วนี่คือจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายของเส้นทางบายพาสเชื่อมต่อระบบการจราจรรอบอ่าวโตเกียวชั้นในเป็นวงแหวน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555)
เส้นทาง 18B ประตูเปิดเวียดนามสู่ลาวใต้
5 ปีหลังเปิดใช้เส้นทางสาย 18B ภาพการพัฒนาของแขวงต่างๆ ในเขตลาวใต้ได้ปรากฏภาพออกมาให้เห็นชัด โดยเฉพาะกระแสการลงทุนจากเวียดนามที่หลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่ซึ่งเคยกันดารแห่งนี้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555)
BTS ออกบัตรแรบบิท ตีตั๋วร่วมรีเทลช้อป
ในเมื่อมีฐานลูกค้าจำนวนมากถึง 1.5 ล้านคน ก็ควรนำมาต่อยอดธุรกิจ นี่คือคอนเซ็ปต์การทำธุรกิจล่าสุดของรถไฟฟ้า ”บีทีเอส” กับการเปิดตัวบัตรแรบบิต ที่ไม่ใช่แค่ใช้ขึ้นรถไฟฟ้าเท่านั้น แต่ใช้ช้อปปิ้ง มีส่วนลด และสะสมแต้มแลกของรางวัลได้ด้วย
(Positioning Magazine 25 พฤษภาคม 2555)
ณัฐปรี พิชัยรณรงค์สงคราม ปั้นแบรนด์ (เรือ) ด่วน
ณัฐปรี พิชัยรณรงค์สงคราม ก้าวเข้ามารับผิดชอบธุรกิจครอบครัวเรือด่วนเจ้าพระยา และบริษัท สุภัทรา จำกัด ในฐานะ Generation ที่ 4 กล่าวว่า "เรือด่วนเจ้าพระยาอายุ 40 ปี มีความเคลื่อนไหวมาโดยตลอด และเริ่มสร้างแบรนด์เมื่อปีที่ผ่านมา ส่วนสุภัทราอายุ 92 ปี แต่เราไม่เคยสร้างแบรนด์นี้เลย"
(Positioning Magazine 23 พฤศจิกายน 2554)
พลิกโฉมเจ้าพระยากับเรือด่วนฯโฉมใหม่ (แต่มาเมื่อไหร่ไม่รู้)
นับเป็นปีที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดของบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด เพราะมีการรีแบรนด์ในโอกาสครบรอบ 40 ปีแล้ว แถมยังลงทุน 80 ล้านบาท สร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ใกล้สะพานพระนั่งเกล้า จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง ด้วยอาคารดีไซน์เก๋จากไม้ตะเคียนทอง
(Positioning Magazine 15 กันยายน 2554)
'บีทีเอส'กำไร9เดือน1.7พันล้าน เปิดเส้นทางใหม่ดันยอดผู้ใช้เพิ่ม
“บีทีเอส”โชว์กำไร9 เดือนพุ่งแตะ 1.7 พันล้าน สูงขึ้นหลายเท่าจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีเพียง 337 ล้านบาท เหตุไตรมาส3ฟันรายได้รวม 2,131ล้านบาท พร้อมคาดยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในปีนี้และต่อเนื่องถึงปีหน้าอีก 15% จากการเปิดเส้นทางอ่อนนุช-แบริ่งและวงเวียนใหญ่-บางหว้า
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 16 กุมภาพันธ์ 2555)
NWR หาพันธมิตรลุยรถไฟสายสีแดงหวังโอกาสเบียดชนะรายใหญ่
“เนาวรัตน์พัฒนาการ” คาดสิ้นปียอด backlog โตเป็น 1.2 หมื่นล้านบาท พร้อมรุกเข้าประมูลงานใหม่อีก 3-4 พันล้าน ดันภาพรวมทั้งปี 53 กำไรเติบโตใกล้เคียงปีก่อน ล่าสุด เร่งหาพันธมิตรเข้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เชื่อมีโอกาส เหตุรายใหญ่คว้าสัญญางานไปหลายสายแล้ว ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ร่วมกับพันธมิตร 2 โครงการจะเริ่มรับรู้รายได้ในปีหน้า
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 9 กันยายน 2553)
“คีรี กาญจนพาสน์”คิดการใหญ่ ขอลงทุนระบบขนส่งมวลชน
มังกรผลัดถิ่น “คีรี กาญจนพาสน์” แสดงความพร้อมลุยลงทุนโครงการรถไฟฟ้า ตอกหน้ารัฐบาลไม่พร้อม อย่าแทงกั๊ก เปิดทางเอกชนลงทุน เดินหน้าประมูลเดินรถสายสีม่วง มั่นใจเทคโนโลยีล้ำ -บุคลากรเชี่ยวชาญ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 ธันวาคม 2553)
ค้านสร้างโมโนเรลจุฬา เลือดสีชมพูค้านกันเอง
แผนสร้างโมโนเรลสาย จุฬา-สยาม เจออุปสรรค อาจารย์จุฬาฯแบ่ง2ฝ่าย อ้างโมโนเรล เฟส1 บดบังทัศนียภาพ แนะควรสร้างเฟส 3 ก่อน “มานพ พงศทัต” ที่ปรึกษาจุฬา ฉะ ควรปลี่ยนความคิดใหม่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน ชี้ควรทำเพื่อสังคมเพื่อคนกรุง ด้านกทม.ยันเดินหน้าสร้างเฟส1
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 ตุลาคม 2553)
BTSCคว้างานเดินรถ-บริหารBRTนำร่องเส้นทางนนทรี-ราชพฤกษ์
ไม่พลิกความคาดหมาย สำหรับการเข้าเดินรถ และบริหารสถานีรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ของ คีรี กาญจนพาสน์ เจ้าของฉายา “มังกรพลัดถิ่น”ที่สามารถคว้างานเดินรถและบริหารสถานี BRT มาครองยาว 7 ปี โดยไร้เงาคู่แข่ง
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 พฤษภาคม 2553)
“ร.ฟ.ท.” ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ แยก 3 หน่วยธุรกิจ กำกับดูแลกิจการรถไฟไทย
ร.ฟ.ท. ปรับโครงสร้างครั้งประวัติศาสตร์กิจการรถไฟไทย ในรูปแบบหน่วยธุรกิจ (Business Unit: BU) แยก 3 หน่วยธุรกิจกำกับดูแลกิจการ หน่วยธุรกิจการเดินรถ หน่วยธุรกิจการซ่อมบำรุง และหน่วยธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ด้วยงบลงทุน 1.76 แสนล้านบาท 3-5 ปี จะรับรู้การเปลี่ยนแปลงของ ร.ฟ.ท. แน่
(โฟร์ฮันเดรท, บจก. 10 กันยายน 2555)
โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน...หนุนบทบาทไทยในการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2553 การค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยกับ มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ อาจมีมูลค่าประมาณ 750,000-790,000 ล้านบาท หรือขยายตัวประมาณร้อยละ 16.0-22.0 จาก 646,813 ล้านบาท ในปี 2552 ขณะที่ในอีก 5 ปีข้างหน้า (2554-2558) มูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนอาจเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 1,500,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบร้อยละ 8 ของการค้ารวมของไทย จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 13 กันยายน 2553)