Talking book
คงจะดีไม่น้อย หากว่ามีใครสักคนมานั่งเล่าเรื่องย่อของหนังสือน่าอ่านให้เราฟังทุกครั้งที่ต้องการ ก่อนที่เราจะตัดสินใจควักเงินในกระเป๋าไปกับการซื้อหนังสือเล่มนั้นกลับมานอนอ่านต่อจนจบเล่มแบบเต็มอรรถรสที่บ้าน วันนี้คุณได้สิทธิ์นั้นแล้วจากบริการ *959
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549)
ซีเอ็ด..ไม่คุยโว ขอโตอย่างเดียว
คนอื่นกำลังถอย แต่ซีเอ็ดกลับรุก ทั้งเพิ่มช่องค้าปลีกเปิดร้านกว่า 10 สาขา
และมุ่งผลิตหนังสือเรียนกับหนังสืออ้างอิง ยึดนโยบายในดวงใจอยู่ได้ เพราะคุมค่าใช้จ่ายพนักงาน
ด้านยอดขายและกำไรยังโตได้ แม้จะโตแบบช้าๆ แต่ว่ามั่นคง
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541)
สำนักพิมพ์…หมื่นล้าน เอนเตอร์เทนเมนต์ บนตัวหนังสือ...ใครดังก็ขายได้
หากพูดถึงธุรกิจดาวเด่นที่สุดในแวดวงสิ่งพิมพ์ปัจจุบัน คงไม่มีกลุ่มไหนโดดเด่นเท่า “ธุรกิจหนังสือเล่ม” เพราะเป็นธุรกิจที่มีเม็ดเงินสะพัดนับหมื่นล้านต่อปี อัตราการเติบโตไม่เคยต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เฉพาะปี 2547 ตลาดขยายตัว 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปริมาณหนังสือเล่มใหม่ๆ ไหล่บ่าเข้าสู่ตลาดไม่น้อยกว่า 11,600 ปกต่อปี (2547) สะท้อนความเฟื่องฟูทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นดัชนีชี้วัดว่าคนไทยหันมานิยมอ่านมากขึ้น เพราะมีหนังสือดีๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการคนอ่านได้มากขึ้นจากอดีต
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
SE-ED ยุคใหม่ ต้องใส่เสียงดนตรี
จากการเข้าถือหุ้นของค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ แทน เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป ทำให้ display หน้าร้านของซีเอ็ดกำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยเพิ่มโซนขายซีดีเพลงซึ่งจะเปิดพื้นที่ให้กับค่ายน้องใหม่ใต้ชายคาแกรมมี่ “สนามหลวง” และต่อไปจะกลายเป็นคู่แข่ง Thai Ticket Master ในการเปิดจองคอนเสิร์ตและโชว์ที่จัดโดยแกรมมี่
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
ยอดตกต้องกระตุ้น
เพื่อกระตุ้นการซื้อหนังสือ ในช่วงวิกฤตน้ำมันแพงหูฉี่ ทำให้เจ้าของสำนักพิมพ์ และร้านหนังสือต้องลุกขึ้นมาจับมือร่วมกันทำกิจกรรมในชื่อโครงการ “ให้หนังสือเป็นของขวัญ Book for Gift” โดยมีคอนเซ็ปต์ คือ การให้หนังสือเป็นของขวัญ สนุกและมีความสุข
(Positioning Magazine กันยายน 2548)
หนังสือแข่งเดือด สนพ.เทศรุกหนักชี้แนวธรรมะบูม
ซีเอ็ด ชี้ธุรกิจหนังสือปี 48 สะท้อนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของสำนักพิมพ์ว่าดี หลังสำนักพิมพ์ทุบสถิติแห่ออกหนังสือสูง 11,651 ปกต่อปี เฉลี่ย 31.9 ปกต่อวัน ระบุธุรกิจข้างเคียงกว้านซื้อลิขสิทธิ์ต่างประเทศ/ไทย ร้านหนังสือมีน้อย บีบสมรภูมิหนังสือแข่งดุ อัดสงครามราคา โปรโมชั่นระคุ ขณะที่คนไทยแห่อ่านหนังสือหลักธรรมข่มใจเศรษฐกิจฝืด
(ผู้จัดการรายวัน 21 กุมภาพันธ์ 2549)
"ซีเอ็ด"ชูโมเดลร้านสะดวกซื้อดันคีออสยึดรถไฟใต้ดิน8แห่ง
ซีเอ็ดปรับทิศทางสู่ร้านหนังสือสะดวกซื้อยึดคอนเซ็ปต์ แนวเดียวกับบุ๊คสไมล์ในร้านเซเว่นฯ พร้อมทั้งเผยผลกำไรเติบโต 30% ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน พร้อมดันคีออสในสถานีรถไฟฟ้าอีก 8 แห่งรองรับไลฟ์สไตล์คนกรุงเทพฯเปลี่ยน
(ผู้จัดการรายวัน 12 กันยายน 2548)
คลี่ม่านค้าปลีกรถไฟใต้ดิน"ซีเอ็ด-ทรู"กล้าเสี่ยงยึดหัวหาดหวังขุดทอง
เมโทรมอลล์ดีเดย์อวดโฉมแหล่งชอปปิ้งใหม่คนเมืองกรุง มิ.ย.นี้ ชิมลางสถานีแรก "สุขุมวิท" ชี้เป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟลอยฟ้า คนใช้บริการทะลักทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทำราคาค่าเช่าพุ่ง ด้านคนในวงการค้า ปลีกหลายรายยังหวั่นไปไม่รอด แต่เมโทรมอลล์มั่นใจค้าปลีกใต้ดินไปได้สวย ต่างจากแหล่งชอปปิ้ง ย่านคมนาคมประเภทอื่น เผยซีเอ็ดบุ๊ค-ทรูใจกล้าสุดจองครบทั้ง 11 สถานี
(ผู้จัดการรายวัน 18 เมษายน 2548)
ถอดรหัส 4 บิ๊กซีเอสอาร์ ตอบโจทย์ธุรกิจโตยั่งยืน
* ตกผลึกแนวคิดทำ CSR หลากสไตล์
* ไมเนอร์-ไทยพาณิชย์-เอสซีจี-ซีเอ็ด นำทัพ
* พิสูจน์ 'CSR เรื่องง่ายๆ ใครๆก็ทำได้'
* พร้อมข้อแนะนำ เริ่มต้นจากจุดใกล้ตัว..ก่อนไกลตัว
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 พฤศจิกายน 2552)
Brand Development :ยุทธศาสตร์สร้างอาณาจักรหนังสือ SE-ED Model
ใครเลยจะนึกว่าธุรกิจร้านหนังสือจะกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันกันรุนแรงไม่แพ้สินค้าหมวดคอนซูเมอร์โพรดักส์เลย หากลองให้ผู้บริโภคนึกชื่อร้านหนังสือท็อปฮิตที่ติดอยู่ในหัวพวกเขา หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ “ซีเอ็ด” อย่างแน่นอน แต่หนทางกว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นร้านหนังสือแถวหน้าที่มีสาขามากที่สุดและยอดขายมากที่สุดในเมืองไทยไม่ได้โรยด้วยกุหลาบเสมอไป แม้ในปัจจุบันซีเอ็ดจะขึ้นแท่นเป็นร้านหนังสืออันดับหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ “บีทูเอส” ร้านหนังสือที่พร้อมสรรพไปด้วยเครื่องเขียนและเสียงเพลง กำลังจะก้าวเข้ามาชิงความเป็นหนึ่งกับยักษ์ใหญ่ซีเอ็ด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 มิถุนายน 2549)
“Scenario Thinking”
พ็อกเกตบุ๊กส์เล่มนี้คือ เครื่องมือที่จะช่วยผู้บริหารมองอนาคต โดยบอกเล่าถึงขั้นตอนต่างๆ ในการจำลองสถานการณ์อย่างละเอียด จึงเป็นเครื่องมือช่วยคิดที่จะทำให้คุณหาทางออกได้
(ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ. )