ถกช้างหลังออกพรรษา
ก.ล.ต.โต้ที่ปรึกษาทางการเงิน ชี้หุ้นใหม่ที่เข้าจดทะเบียนช้าเกิดจากความ ไม่พร้อมของบริษัท ระบุหลายบริษัทมีโครงสร้างที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือ การไซฟ่อนเงินได้ ถ้าเตรียมตัวมาดีเปิดเผยข้อมูลมีคุณภาพก็พิจารณาเสร็จเร็ว ยกตัวอย่าง โกลว์, ภัทร เป็นหุ้นที่พิจารณาเร็วสุด ย้ำการทำงานของที่ปรึกษาทางการเงินไม่ระมัดระวัง ก.ล.ต.พร้อมที่จะลงโทษโดยบทลงโทษหนักสุดคือการพักใบอนุญาต ขณะที่ไทยเบฟเวอเรจ หรือเบียร์ช้าง บอร์ด ก.ล.ต.เตรียมพิจารณาหลังจากออกพรรษาไปแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 20 กันยายน 2548)
โบรกฯติงเกณฑ์หุ้นจองอ้างทำรายเล็กต้นทุนสูง
ก.ล.ต.ออกกฎคุมเข้มการจัดสรรหุ้นจองสั่งเปิดรายชื่อคนได้หุ้นจอง โบรกเกอร์เห็นด้วยแนวทางดี
แต่แนวทางการ กระจายหุ้นวงกว้างถ้าผ่านแบงก์พาณิชย์ทำได้เฉพาะบริษัทใหญ่มูลค่าระดมทุน
1 หมื่นล้านบาทขึ้น ทั้งยังส่งผลร้ายให้อันเดอร์ไรท์เตอร์เสี่ยง ต้องแบกรับหุ้นจองไว้เองหากประชาชนไม่สนใจจอง
(ผู้จัดการรายวัน 17 กุมภาพันธ์ 2547)
ก.ล.ต.สะกดรอยงบ แหกตา
มือปราบก.ล.ต. แกะรอยงบการเงินหลอกตา โดยเฉพาะบัญชี ที่นักบัญชีเรียกว่า "ซุกกิ้ง แอคเคานท์ติ้ง" ชี้เบาะแสส่วนใหญ่เป็น "เสียงนกหวีด" ที่ดังมาจากฝั่งของพนักงานบริษัท ที่ไม่รักชอบบริษัท และปัญหาภายใน สำคัญที่สุดคือ ผู้สอบบัญชี
ที่เขียน "เชื้อ" ทิ้งไว้เป็น "ปริศนา" เพื่อให้สะกดรอยหรือขุดคุ้ยได้ง่าย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 สิงหาคม 2548)