Kantana The Experienced
จากคณะละครวิทยุเล็กๆ เมื่อ 52 ปีก่อน
วันนี้ กันตนากรุ๊ป กลายเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายใหญ่ของเมืองไทย
เป็นผู้นำในการนำเอาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้กับวงการบันเทิง
รวมทั้งคิดการใหญ่สร้างกันตนา มูฟวี่ ทาวน์ และมหาวิทยาลัยกันตนา
สถาบันด้านการแสดงแห่งแรกของประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546)
ช่อง 7 ถึงเวลาทวงแชมป์
หลังจากโดนสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ตีกระหน่ำแบบไม่ยั้ง ทั้งในด้านละครและรายการวาไรตี้
ทำเอาสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เจ้าของแชมป์เรตติ้งครองใจคนดู ต้องหันมาตั้งรับปรับปรุงตัวเองครั้งใหญ่
เพื่อรับมือกับศึกอันใหญ่หลวงครั้งนี้
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541)
หมดยุคคุณนายแดง
เกือบ 16 ปีเต็ม ที่สุรางค์ เปรมปรีด์ นั่งบริหารงานเคียงบ่าเคียงไหล่ กับ
ชาติเชื้อ กรรณสูต ผู้เป็นพี่ชายในสถานีโทรทัศน์ช่อง 7
เป็นเวลา 16 ปีเต็มที่สองพี่น้องคู่นี้ได้สร้างให้ช่อง 7 สี ครอบครองเรตติ้งคนดูสูงสุด
ส่งผลให้งบโฆษณาทางโทรทัศน์มูลค่ามหาศาลตกอยู่ในมือของช่อง 7 มากที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2540)
โมเดล “บอร์ด” ออนแอร์ช่อง 7 หลังหมดยุค “สุรางค์ เปรมปรีดิ์”
เปิดปี 2555 มา ใครที่คาดหวังว่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในช่อง 7 หลังจากที่ “คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์” หมดอำนาจ เมื่อ “กฤตย์ รัตนรักษ์” ประธานกรรมการ ไม่ต่อสัญญาจ้าง ขอบอกว่าต้องรออีกพักใหญ่ เพราะขณะนี้ทุกอย่างภายในช่อง 7 ยังนิ่งและ ขับเคลื่อนด้วยระบบที่วางไว้ในรูปแบบคณะกรรมการหรือบอร์ดชุดต่างๆ
(Positioning Magazine 10 มกราคม 2555)
เด้ง “สุรางค์ เปรมปรีดิ์” พ้นช่อง 7
“คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์” หมดหน้าที่สำหรับช่อง 7 แล้ว เมื่อ”กฤตย์ รัตนรักษ์” ไม่ต่อสัญญาจ้างเป็นกรรมการผู้จัดการที่จะสิ้นสุดสิ้นปี 2554 นี้
(Positioning Magazine 21 ธันวาคม 2554)
“ละคร” ฮิตติดจอ ช่อง 7 กวาดเงิน ช่อง 3 ได้กล่อง
โทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อหลัก นี่คือโอกาสของธุรกิจคอนเทนต์ทางทีวี ที่มีการแข่งขันสูง ข้อมูลล่าสุดที่เนลสัน มีเดียเผยแพร่ พบว่าเม็ดเงินโฆษณามหาศาลยังคงอยู่ที่ช่อง 7 โดยเฉพาะทวงคืนตำแหน่งแชมป์จากช่อง 3 เมื่อยูนิลีเวอร์ที่เน้นสินค้ากลุ่ม Mass กลับมาซบอกช่อง 7 เหมือนเดิม
(Positioning Magazine 14 มีนาคม 2554)
ศึกจอตู้อังคาร4ทุ่มเดือดขาใหญ่ส่งวาไรตี้ลงปะชันศึก
เปิดศึก ทีวีวันอังคาร ช่วง 4 ทุ่ม ทุกช่องชิงคนดู-เรตติ้ง จากรายการวาไรตี้ 4 ค่ายใหญ่ ทั้ง “วิทวัส-เจเอสแอล-ไตรภพ-ดีด็อก” ช่วงเวลาเดียวกัน ศึกครั้งนี้ใครดีใครอยู่ คนวงการจับตา “คลับเซเว่น” ต้องออกแรงหากจะเบียด “ตีสิบ” ได้หรือไม่
(ผู้จัดการรายวัน 19 มิถุนายน 2551)
ทีวีปรับผังใหญ่รับศึกหนักปีหน้าช่อง7ชูนอนไพร์มไทม์ช่อง5กว้านผู้จัดทีไอทีวี
เจ้าสังเวียนสื่อทีวี ช่อง 7 สี ขยับตัว ปรับผังช่วงนอนไพร์มไทม์ สู่ความมีสาระมากขึ้น หวังเรียกเม็ดเงินโฆษณาเข้ามาได้อื้อ หลังทีไอทีวี ทำท่าจะถอยทัพ ล่าสุดเผยผังใหม่ไตรมาส 1 /2551 ชูรายการใหม่ “คันปาก” เสริมทัพช่วงเช้า หวังชิงเรตติ้งความเป็นผู้นำจากคู่แข่งให้ได้ ฟากททบ.5 เผยผังใหม่วันเดียวกัน มุ่งปรับไพร์มไทม์เข้าสู้ เผยมีผู้จัดจากทีไอทีวีไหลมากว่า 10 ราย
(ผู้จัดการรายวัน 21 ธันวาคม 2550)
จับตายูบีซีหลัง“ทริปเปิลเพลย์”ไล่บี้ ผู้บริหารทรูเชื่อผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสิน
จับตาอนาคตยูบีซีจากการไล่บี้ของทริปเปิลเพลย์ ที่เทคโนโลยีก้าวล้ำนำกฎหมาย จนทำให้เกิดบริการกลางสุญญากาศ กลุ่มทรูเอาบ้างด้วยการจับมือกับช่อง 7 หลังบัดดี้ทำไปแล้ว มั่นใจไม่ผิดกฎหมายอ้างให้บริการบนพีซีไม่ใช่ทีวี ส่วนอนาคตระหว่างการมาของบริการแนวใหม่กับยูบีซี ผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสิน
(ผู้จัดการรายวัน 2 มีนาคม 2549)
ช่อง 7 สี จะเกิดอะไร? วันที่ไร้คุณนายแดง
ลือหึ่งอีกแล้ว ปลด “เจ้าแม่วิกหมอชิต” หลังครองบัลลังก์นานเกือบ 3 ทศวรรษ เหตุใด...ทำไม...จริงหรือไม่ที่ “ชาลอต” เข้ามานั่งแทน คนวงการเชื่อความถดถอยของช่อง ไม่ทำการตลาด อาจพาสู่ยุดมืด จับตาการแข่งขันอันร้อนแรงของสื่อใหม่ จะเป็นตัวแปรให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการทีวี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 มีนาคม 2551)
ชงเก็บเพิ่ม สัมปทานฟรีทีวี 3 - 7 แปลงโฉมช่อง 11 เป็นทีวีสาธารณะ
ในขณะที่ข่าวสารบ้านเมืองกำลังให้ความสนใจอยู่กับจุดจบยกแรกของสื่อเสรี ไอทีวี ที่มีจุดกำเนิดภายหลังจากเหตุการณ์ความขัดแย้งในบ้านเมือง พฤษภาทมิฬ 2535 โดยคณะรัฐมนตรีเฉพาะกาลของนายอานันท์ ปัณยารชุน การก่อรัฐประหาร กันยายน 2549 ก็กำลังนำมาซึ่งการกำเนิดของสื่อเสรีอีกสถานี ที่รัฐบาลขิงแก่ของ พล อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นผู้ขับเคลื่อน ภายใต้ชื่อ ทีวีสาธารณะ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
สถานีโทรทัศน์ไทย แก้เกมสู้ศึก 7 สี วิ่งหาเด็ก ไอทีวี พร้อมเป็นสถานีข่าว
หลังจากเอเจนซี่โฆษณาและคนวงการสื่อสารการตลาดบ่นอุบว่ายอดตัวเลขโฆษณาผ่านอะโบฝเดอะไลน์ดิ่งเหว โดยเฉพาะเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์หดตัว เพราะลูกค้าระวังการใช้เงินสูงมาก ทำให้สถานีโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายเตรียมพลิกตำราแก้สถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว และภาวะทางการเมืองที่ไม่แน่นอน ทั้งผุดรายการใหม่เมื่อขยายกลุ่มคนดูให้มากขึ้น หรือร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ในแถบอินโดจีนเพื่อชิงความเป็นหนึ่งและตอกย้ำความเป็นสถานีข่าวให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 กรกฎาคม 2549)
เอชพีร่วมกับช่อง 7 ในโครงการ “ศิลปะเคลื่อนไหวในจอ 7 สี”
มอบเงินรางวัลมูลค่า 15,000 บาท พร้อมเครื่องพิมพ์ HP Photosmart A526 ให้กับผู้ชนะเลิศ 7 ท่าน ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาและบุคคลทั่วไปได้ร่วมส่งผลงานออกแบบการ์ตูนกราฟฟิก แอนิเมชั่น ภายใต้แนวคิด “ประหยัดพลังงาน...ลดภาวะโลกร้อน”
(ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน (ประเทศไทย), บจก. 20 มีนาคม 2551)
“อาร์เอส” ผนึก “ช่อง 7 สี -โมเดิร์นไนน์” ถ่ายทอดสดยูโร 2008
ทุกแมตซ์ รวมทั้งพิธีเปิด-ปิดอย่างเป็นทางการ ดีเดย์ 7 มิ.ย. 51 พร้อมเล็งผลิต 17 รายการทีวีกีฬา เริ่มออนแอร์ตั้งแต่เดือนเม.ย. 51 ควบคู่อัดอีเวนต์ยักษ์โรดโชว์ทั่วประเทศไทย เปิดโอกาสให้คอลูกหนังไทยร่วมสนุก และมินิคอนเสิร์ตจากศิลปิน สร้างกระแสบอลฟีเวอร์
(อาร์เอส, บมจ. 30 พฤศจิกายน 2550)