ถึงจะเป็นหนี้...แต่ก็ยังยิ้มได้
"ผมขอแนะนำผู้บริหารอีก 5 คนของไทยแอร์เอเชียที่เป็นผู้ร่วมก่อหนี้ตอนไปซื้อบริษัทมาจากบริษัทเก่าเจ้าของเดิมคงไม่ต้องเอ่ยถึง กว่าจะฝ่าฟันมรสุมการเมืองมาได้ต้องบาดเจ็บสาหัสทีเดียว" ทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เกริ่นบนเวทีในงานฉลองครบรอบ 5 ปีของสายการบินนี้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2552)
ปักหมุดแล้วบิน
เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา เครื่องบินโบอิ้ง 737-300 ลำที่ 13 ของไทย แอร์เอเชีย ซึ่งมีลวดลายและข้อความ Amazing Thailand ติดไว้บนตัวเครื่อง พาบรรดาสื่อมวลชนหลายสิบชีวิตร่อนลงจอดที่พื้นรันเวย์ของสนามบินนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นการโปรโมตเส้นทางบินใหม่ของสายการบินไทย แอร์เอเชีย
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550)
I belive I can fly
เขาบอกว่าไม่ใช่นอมินี และยอมเป็นหนี้เกือบ 800 ล้าน เพื่อแลกกับการถือหุ้นใหญ่ในไทยแอร์เอเชีย เขาคือ "ทัศพล แบเลเว็ลด์" ลูกครึ่งไทยฮอลแลนด์ ซีอีโอวัยไม่ถึง 40 ของสายการบินต้นทุนต่ำที่เป็นข่าวมากที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550)
วิถี CEO ในวิกฤต
ทุกเช้าซีอีโอของบริษัทยักษ์ใหญ่เกือบทุกบริษัทต้องเดินเข้าห้องประชุมพร้อมกับทีมผู้บริหารจากทุกฝ่าย ใช้เวลาเฉลี่ยอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงพูดคุยกัน เพราะเวลานี้ไม่ใช่ช่วงของการนั่งนิ่งๆ อยู่ในห้องทำงานของตัวเอง แต่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินต้องมอนิเตอร์ความเปลี่ยนแปลงโลก เจาะลึกถึงปัญหา ความเสี่ยงในธุรกิจทั้งหมดของตัวเอง และแก้ไขได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้ยอดขายหลุดร่วง จนไม่สามารถอยู่ได้
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
คาราบาวแตกไลน์ไม่ขายแค่เพลง
ไหนๆ วงคาราบาวยืนหยัดบนถนนสายดนตรีมายาวนาน 25 ปี สร้างชื่อเสียงจนรู้จักไปทั่ว ทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ ด้วยเหตุนี้เองแบรนด์ “คาราบาว ได้ถูกนำมาต่อยอดแตกไลน์เป็นธุรกิจผลิตเครื่องดนตรี โดยใช้แบรนด์และโลโก้ “หัวควาย” เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
“แอร์เอเชีย” ยังบินได้
การวางตำแหน่งตลาด กำหนดยุทธศาสตร์ และบริหารจัดการของความเป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์ที่ชัดเจนมาตั้งแต่ต้น ทำให้ไทยแอร์เอเชีย น่าจะเป็นสายการบินเดียวที่มีโอกาสรอดมากที่สุดในยามนี้ ก่อนหน้านี้ ทศพล แบเลเว็ลด์ ซีอีโอของไทยแอร์เอเชีย อาจเครียดจัดจนนอนหลับไม่เต็มตื่น จากปัญหาการเมืองรุมเร้าตกเป็นจำเลยสังคมว่าเป็น "นอมินี" ซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชียจากชินคอร์ป แถมผลกำไรติดลบ
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
ไทยแอร์เอเชียฟุ้งปีนี้โตเท่าตัว เล็งใช้อาฟต้าสยายปีกทั่วเอเซีย
ไทยแอร์เอเชีย คุยฟุ้งปีนี้ หวังโตเท่าตัว ดันกำไรแตะ พันล้านบาท รับอานิสงส์จากเปลี่ยนเครื่องบินใหม่ป้ายแดง ทำให้ประหยัดต้นทุน ด้านแผนระดมทุนคาด 3 เดือนรู้ผล เล็งใช้เสรีอาฟต้าขอสิทธิ์การบินที่ลาว และฟิลิปปินส์ สยายปีก เป็นสายการบินต้นทุนต่ำในอาเซียน
(ASTVผู้จัดการรายวัน 5 กุมภาพันธ์ 2553)
แอร์เอเชียฟุ้งท่องเที่ยวไทยฟื้นแล้วเล็งปั้นภูเก็ตฐานการบินแห่งที่สอง
“ทัศพล”มั่นใจท่องเที่ยวไทยฟื้นแล้ว คุยฟุ้งลูกค้าไทยแอร์เอเชียกลับมาแล้ว หลังพบตัวเลขโหลดแฟกเตอร์ 2 เดือนแรกปีนี้แตะที่ 78% เฉพาะเส้นทางภูเก็ตเต็ม100% ระบุต่างชาติเปลี่ยนพฤติกรรมท่องเที่ยว หันชอปของถูกเลือกเที่ยวช่วงโลวซีซั่น เล็งปั้นภูเก็ตเป็นฐานการบินแห่งที่ 2 นำร่องเปิดเส้นทางภูเก็ต-ฮ่องกง ตุลาคมนี้
(ผู้จัดการรายวัน 9 มีนาคม 2552)
เฮดจิ้งทำไทยแอร์เอเซียขาดทุน"อัดงบเพิ่ม-ขยายนักธุรกิจ"แก้ตัว
ไทยแอร์เอเชีย ลุยเปิดบริการเสริม เรียกลูกค้ากลุ่มนักธุรกิจเพิ่มเป็น 3-5% ยอมรับวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลทุกธุรกิจแข่งขันสูง อัดงบการตลาดและประชาสัมพันธ์เพิ่มจากปีก่อน 50% เป็น 180 ล้าน ยอมรับพิษเก็งซื้อน้ำมันล่วงหน้าทำประกอบการปีก่อนขาดทุน แต่ปีนี้ยังฝันโต 10-15%
(ผู้จัดการรายวัน 17 กุมภาพันธ์ 2552)
หยุดบินวันทูโก-วิบากกรรมนกแอร์ไทยแอร์เอเชียลูกค้าแห่ชม
แม้ช่วงเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมาการเปิดให้บริการของสายการบินต้นทุนต่ำจะมีการชิงไหวชิงพริบเพื่อเป็นผู้นำการตลาดมาโดยตลอด หลังจาก 2 ค่ายคู่แข่งอย่าง วันทูโกและนกแอร์เจอพิษราคาน้ำมันและเศรษฐกิจตกต่ำเล่นงานจนต้องปรับตัวหนีตาย ทว่าผลประกอบการของไทยแอร์เอเชียเจ้าของวลีติดหู “ใครๆก็บินได้” กลับมียอดรายได้เติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 25 อาณิสงส์ครั้งนี้ส่งผลให้ไทยแอร์เอเชียกำลังจะก้าวขึ้นแท่นเป็นจ้าวตลาดโลว์คอสแอร์ไลน์ในเมืองไทยอย่างชนิดที่คาดไม่ถึง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 สิงหาคม 2551)
อานิสงส์น้ำมันแพง!...โลว์คอสต์พลิกวิกฤติสร้างโอกาส
สั่นสะเทือนไปทั้งวงการบินเมื่อดัชนีราคาน้ำมันฉุดไม่อยู่ ผู้ประกอบการบินหลายค่ายต่างฟันธงว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากที่สุด และธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำคงจะไม่ต่ำต่อไป เพราะในช่วงที่ผ่านมาแต่ละค่ายต่างงัดโปรโมชั่นที่ห้ำหั่นกันด้วยกลไกราคา จนสงครามราคาที่ตั้งไว้ในแต่ละค่ายกลายเป็นกับดักที่ผูกมัดตัวเองไปในที่สุด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 กรกฎาคม 2551)
ฝ่าคลื่นธุรกิจ....พิชิต 3 มหาสมุทร กับ 3 ผู้นำ
- เรียนรู้ 3 กลยุทธ์การตลาด จาก 3 ผู้บริหารแถวหน้า
- "ทศพล แบเลเว็ลด์" ตัวแทน red ocean strategy ฟาดฟันในสมรภูมิธุรกิจอย่างดุเดือด
- "แพทย์หญิงนลินี ไพบูลย์" ถ่ายทอด blue ocean strategy วิธีคิดคือกุญแจสู่ความสำเร็จ
- "ดนัย จันทร์เจ้าฉาย" ยืนยัน white ocean strategy แนวทางสู่ความยั่งยืน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มิถุนายน 2551)