Future Thai Architects
เหล่าผู้สร้างงานสถาปัตยกรรมที่มีรากมาจากความเป็นช่างของคนไทย กำลังเข้าสู่ยุคแห่งความซับซ้อนในรูปแบบ ด้วยการก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของระบบเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดน
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2548)
ผู้ร่วมสร้าง Brand Cotto
ทีมนักออกแบบหนุ่มสาวทั้ง 7 คน ของ Cotto Studio ถูกหล่อหลอมตัวตนอย่างหนักเพื่อสร้างศักยภาพในการออกแบบแข่งขันกับตลาดโลก แต่ละคนมีดีกรีทางด้านการศึกษาเป็นต้นทุน และยังต่อยอดในการเปิดโลกทัศน์ด้วยการเดินทางไปดูงานแฟร์ และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก พร้อม ๆ กับทำเวิร์กชอปกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
ตำนานจากโลกตะวันออก "Cotto Studio"
ศาสตร์และศิลป์จากซีกโลกตะวันออกกำลังถูกขับเคลื่อนผ่านกระบวนการจัดการ จาก "Cotto Studio" กลายเป็นกระเบื้องลายใหม่
ที่กำลังสร้างอิทธิพลต่อวงการออกแบบของโลกตะวันตก
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
เมืองไทยเล็กไปแล้ว
ก่อนแถลงข่าวครบรอบ 25 ปี และการประกาศวิชั่นใหม่ ขอเป็น “ผู้นำตลาดอาเซียน” ใน 5 ปีจะเริ่มขึ้น สราวุฒิ สำราญทรัพย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สยามซานิทารีแวร์อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์และก๊อกน้ำคอตโต้ ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างไร้ค่า แต่ทำหน้าที่เป็นไกด์พาสื่อทัวร์ชมโชว์รูม “คอตโต้ สตูดิโอ” เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดยิ่งขึ้น เพราะยุคนี้แค่แถลงด้วยการพูดอย่างเดียวอาจไม่แรงพอเป็นข่าวได้
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2553)
ห้องน้ำ…อัจฉริยะ
จากงานสถาปนิก’48 ที่ผ่านมา เริ่มเห็นได้ชัดว่า คนเมืองรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำมากกว่าเป็นแค่ห้องน้ำธรรมดา โดยได้นำเอา “ความอัจฉริยะ” หรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสินค้า และที่จัดได้ว่าเป็นของงานนี้ก็คือ “อ่างอาบน้ำ” ไม่ใช่แค่ดีไซน์เก๋ แต่ยังมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำอ่างอาบน้ำเป็นมากกว่าอ่างอาบน้ำ
(Positioning Magazine มิถุนายน 2548)
Uniquely Designed
Never Ending Ideas…From COTTO คือ กลยุทธ์การตลาดที่ COTTO ใช้เพื่อต่อยอดจุดยืนที่มุ่งพัฒนาสินค้าสุขภัณฑ์อย่างต่อเนื่องให้ชัดเจนยิ่งขึ้นทั้งในแง่ของดีไซน์และคุณภาพ พร้อมหวังเก็บยอดขายให้ได้ 2,900 ล้านบาทในปีนี้ กับส่วนแบ่ง 42 % ซึ่งเป็นผู้นำตลาดร่วมด้วยกิจกรรม Smart & Style Sanitaryware เพื่อสร้างดีไซเนอร์รุ่นใหม่หัวคิดไกลให้กับวงการสุขภัณฑ์
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2547)
เปิดเขตการค้าเสรีอุปสรรค บนเวทีแข่งขันตลาดกระเบื้อง
รูปแบบการทำตลาดสินค้าของจีนที่เน้นกลยุทธ์ราคาในการทุ่มตลาด ทำให้ปัจจุบันมีกระเบื้องจากประเทศจีนทะลักเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดกระเบื้องในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งประเทศไทยก็เป็นอีกตลาดหนึ่ง ที่ถูกสินค้าจากจีนแชร์ส่วนแบ่งไปจำนวนมาก
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 11 มกราคม 2553)
“คอตโต้” ฟันธงตลาดสุขภัณฑ์ทรงตัว ลุยเปิดศูนย์โชว์สินค้าต่อยอดห้องสมุด
สุขภัณฑ์คอตโต้คาดการณ์ตลาดปีหน้ายังทรงตัว เร่งรุกตลาดรีโนเวทเต็มสูบ เปิดตัว Cotto Library (Sanitary Ware&Fittings) โชว์สินค้าสุขภัณฑ์-ก็อกน้ำ ต่อยอดห้องสมุดกระเบื้อง ตอบโจทย์ตลาดด้วยบริการครบวงจร เดินหน้าปรับโฉมสาขาเก่า-เปิดตัวสาขาใหม่ต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายวัน 17 ธันวาคม 2550)
คอตโต้-กะรัดงัดสูตรสู้กำลังซื้อฝืด ออกสินค้าใหม่ดันราคาขายเจาะลูกค้าระดับกลาง-ล่าง
สินค้าสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ตกแต่งในห้องน้ำงัดกลยุทธ์ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจชะลอตัว บิ๊ก"คอตโต้"ระบุค่าบาทแข็งกระทบตลาดส่งออกสุขภัณฑ์ ไตรมาสแรกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 20ล้านบาท เร่งปรับลดต้นทุนผลิตด้านพลังงานและกระบวนการการผลิต ระบุเศรษฐกิจและอสังหาฯในประเทศหดตัว 3-5% พร้อมตั้งเป้าโตสวนกระแสตลาดประมาณ 5-10% หลังปรับกลยุทธ์ออกสินค้าใหม่ช่วยปรับราคาขายตามต้นทุนที่แท้จริง ด้าน"กะรัต ฟอเซท" ปั๊มรายได้ปี 50 โตเพิ่มอีก 20% หรือมีรายได้รวม 360 ล้านบาท เน้นตลาดภายในประเทศเป็นสำคัญ พร้อมเพิ่มโมเดลในหลากหลายรูปแบบของกระรัต ฟอเซท ลั่นภายใน 3 ปีต้องขึ้นแท่นติด 1 ใน 3 ของผู้นำตลาด ระบุปลายปีจ่อเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น
(ผู้จัดการรายวัน 24 เมษายน 2550)
เปิดยุทธศาสตร์“โตโต้”ขยายไลน์สินค้าทุกตลาด
“โตโต้”เปิดกลยุทธ์บุกตลาดช่วงครึ่งปีหลัง สปีดขยายสินค้าครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า ทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงผู้พิการ เล็งออกสินค้าใหม่ 2 รุ่น Drake และ Dalton เน้นกลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการ ตั้งเป้าโกยยอดขายปีนี้ 500 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กรกฎาคม 2549)