เชษฐ์ มังคโลดม คีย์แมนแก้โจทย์
แม้จะประสบความสำเร็จเป็น role model ในธุรกิจวิทยุติดต่อกันถึง 4 ปี แต่ค่ายเวอร์จิ้น เรดิโอ ไทยแลนด์ ภายใต้การดูแลของ “เชษฐ์ มังคโลดม” คีย์แมนคนสำคัญ ยังต้องเดินหน้าเชิงรุก และแก้โจทย์ทางธุรกิจ ซึ่งนับวันยิ่งทวีความรุนแรง ผนวกความเสี่ยงไม่น้อยต่อไป
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
เชษฐ มังคโลดม โอกาสของผู้เปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์การตลาดที่ เชษฐ มังคโลดม นำมาใช้ในการแจ้งเกิดคลื่นวิทยุทั้ง 4 คลื่น 89 เวอร์จิ้น ซอฟท์เอฟเอ็ม, 95.5 เวอร์จิ้น ฮิต, เวอร์จิ้น สมูท เอฟเอ็ม 105 และอีซี เอฟเอ็ม 105.0 ของ “เวอร์จิ้น เรดิโอ” ที่เป็นการลงทุนร่วมกับเวอร์จิ้น และกลุ่มบีอีซีเวิลด์ บนหน้าปัดวิทยุ ด้วยการทุ่มเงินลงทุนแจกเงินสดและบ้าน ควบคู่ไปกับการจัดรายการวิทยุโดยไม่มีโฆษณาตลอด 50 นาทีเต็ม จนทำให้ “เวอร์จิ้น เรดิโอ” ในหมู่นักฟังวิทยุ เป็นอย่างดี
(Positioning Magazine ธันวาคม 2547)
เวอร์จิ้นเจ็บตัวรายได้วิทยุวูบ
ปีนี้ธุรกิจวิทยุมีแต่ทรุด ทุกค่ายรายได้หดกันเป็นแถว เวอร์จิ้น เผย รายได้เหลือเพียง 475ล้านบาท จาก 520 ล้านบาทในปีก่อน ชี้ภาวะเศรษฐกิจไม่นิ่งแบบนี้ ต้องทำรีเสริ์ชเพื่อทำตลาดให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ชัดเจนมากขึ้น ของแจกไม่จำเป็นต้องราคาแพง เพียงอยู่ในกระแสความต้องการก็เพียงพอ
(ผู้จัดการรายวัน 26 กันยายน 2550)
สื่อวิทยุระอุเปิดศึกดั๊มราคาแย่งลูกค้าคาดตลาดรวมโต5%
บอสใหญ่ เวอร์จิ้น เรดิโอฯ ชี้อย่างเก่งภาพรวมธุรกิจปีนี้ใกล้เคียงปีที่ผ่านมา มองการแข่งขันในตลาดดุเดือด กลยุทธ์ ราคา จะเป็นเครื่องมือสู้ศึกปีนี้ เวอร์จิ้นเน้นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ขายโฆษณาพ่วงการเพิ่มมูลค่าต่อยอดให้ลูกค้า หวังมีรายได้รวมเพียง 525 ล้านบาท เท่าปีที่ผ่านมา
(ผู้จัดการรายวัน 9 มีนาคม 2550)
อ.ส.ม.ท.ทำวิทยุเดือดค่ายใหญ่เปิดศึกชิงคลื่น
สงครามคลื่นวิทยุเตรียมระอุอีกรอบ จับตาเดือนมีนาคมหลายคลื่นหมดสัมปทาน ขาใหญ่ไล่กวาดคลื่นวิทยุเข้าสังกัด
ชี้ปีนี้สัมปทานสลับมือกันวุ่น ยื่นค่าตอบแทนสุดเวอร์ถึงระดับ 5-6 ล้านบาท กลับสู่ยุคเฟื่องฟูก่อนฟองสบู่แตกอีกครั้ง
กลุ่มที่หลุดคลื่นอ.ส.ม.ท.วิ่งประมูลเพื่อหาคลื่นใหม่ทดแทน
(ผู้จัดการรายวัน 2 กุมภาพันธ์ 2547)
สื่อวิทยุเหงื่อหยด วัดดวงอนาคตก้าวต่อก้าว เวอร์จิ้น ลบภาพแจกแหลก หันพึ่งครีเอทีฟ
เปิดปีได้ไม่สวยนัก สำหรับสื่อวิทยุ ที่จบปีจอ 2549 ด้วยอัตราการเติบโตจุ๋มจิ๋ม 3% แต่เมื่อผ่านเดือนแรกของปีใหม่ ตัวเลขที่นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช เปิดเผยออกมา ยิ่งน่าตกใจ ที่สื่อวิทยุดิ่งตามสื่อสิ่งพิมพ์ไปติด ๆ อัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับมกราคม ของปี 2549 ถดถอยลงเกือบ 12% ทำเอาผู้ผลิตรายการวิทยุร้อน ๆ หนาว ๆ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)