Second-Generation Economic Reform
ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศป่าวประกาศให้ชาวโลกรับทราบตั้งแต่ต้นทศวรรษ
2540 ว่า นานาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกที่สาม ควรจะก้าวเข้าสู่การปฏิรูป
เศรษฐกิจรุ่นที่สอง
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546)
เวิลด์แบงก์ เชื่อไทยพ้นวิกฤต 'แต่ต้องใช้เวลา'
25 ปี ที่เวิลด์แบงก์เข้ามาเปิดสำนักงานในประเทศไทย เพื่อดูแลการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและการเงินแก่ไทย
ในฐานะประเทศด้อยพัฒนา จนในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเศรษฐกิจไทยดีขึ้นจนถึงระดับที่ไม่ต้องรับความช่วยเหลืออย่างมากจากหน่วยงานนี้อีก
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541)
ผู้จัดฉากประชุมแบงก์โลก
ไทยเป็นประเทศที่ 5 ของเอเชียที่ลงทุนจัดประชุมแบงก์โลกในเดือนตุลาคม 2534
เป้าหมายเพื่อ SYNERGY ที่จะได้กับประเทศไทย…นิพัทธ์ พุกกะณะสุต ข้าราชการระดับสูงในกระทรวงการคลังคือบุคคลทีอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้
แต่หลายฝ่ายหวั่นเกรงว่า การขาดแคลนคนบริหารงานประชุมขนาดใหญ่สุดยอดของโลกครั้งนี้จะทำให้รัฐบาลไทยขายขี้หน้าก็เป็นได้…
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2532)
เวิลด์แบงก์หนุนรัฐอัดฉีดเงินกู้ศก.
เวิลด์แบงก์ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ -2.7% และอาจดิ่งลงถึง -4.9%ได้หากเศรษฐกิจทรุดต่อ-การเมืองรุนแรง ยาหอมรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจถูกทาง ทันการณ์ และปริมาณหนี้สาธารณะยังรับได้กับมาตรการเพิ่มได้อีก แต่เตือนต้องคุมการขาดดุลงบประมาณในปีต่อๆไปไม่ให้เพิ่มขึ้นมาก หวั่นถล้ำลึก หนี้สาธารณะท่วม
(ผู้จัดการรายวัน 8 เมษายน 2552)
เวิลด์แบงก์ลดศก.ไทยเหลือ4.2%
"เวิลด์แบงก์" ชี้ พิษน้ำมันฉุดเศรษฐกิจไทยปีนี้หด 1% ประกาศปรับลดอัตราการเติบโตเศรษฐกิจเหลือ 4.2% จากเดิมประเมินไว้ 5.2% คาดปีหน้าเศรษฐกิจขยายตัว 5% การลงทุนภาคเอกชนหนุนเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายวัน 4 พฤศจิกายน 2548)
ธ.โลกหั่นจีดีพีไทยเหลือ5.2%
ธนาคารโลกปรับลดจีดีพีไทยพรวดเดียว 0.6% เหลือเพียง 5.2% จากเดิมที่ตั้งไว้ 5.8% หลังสัญญาณชัดเจน เศรษฐกิจโลกชะลอตัว บวกกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น และคาดจะอยู่เหนือระดับ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อีกอย่างน้อย 4 ปี ขณะที่มีการลงทุนเอกชนและรัฐบาลเป็นปัจจัยบวก พร้อมเสนอแนะหากไทยต้องการรักษาการเติบโตตามเป้าหมายที่ 6.6% ต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการลงทุน
(ผู้จัดการรายวัน 28 เมษายน 2548)
เศรษฐกิจโลกไม่สมดุลชนิดเรื้อรัง IMF - เวิลด์แบงก์เตือนปรับด่วน
สหรัฐอเมริกาถูกเตือนนับครั้งไม่ถ้วนในหลายปีที่ผ่านมา ว่าระดับการจับจ่ายของสหรัฐฯนั้นเว่อร์อย่างน่ากลัวไม่ว่าจะในแง่ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศตนเองหรือต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม กระนั้นก็ตาม สหรัฐฯยังละเลยต่อหายนะ และเดินหน้าเร่งเครื่องยอดติดลบบัญชีบัญชีเดินสะพัด ตลอดจนยอดติดลบงบประมาณ ให้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดตลอดกาลใหม่ๆ ไม่ได้หยุดหย่อน ขณะนี้ทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ดูเหมือนจะพยายามยื่นมือเข้าแทรกแซง กล่าวคือตอนต้นเดือนนี้ ทั้งสองสถาบันโลกออกรายงานฐานะการเงินโลก ซึ่งเตือนเสียงเข้มว่าความไม่รับผิดชอบต่อฐานะทางการคลังของสหรัฐ คือปัจจัยอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 เมษายน 2548)