ธ.ก.ส. บทพิสูจน์ฐานรากภาคเกษตร
หนี้ ปัญหาตลอดกาลของเกษตรกรและเป็นปมเขื่องของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจนป่านนี้ก็ยังแก้ไม่ตก
ยิ่งเศรษฐกิจเฟื่องฟูหนี้ยิ่งพอกพูนแต่เมื่อเศรษฐกิจฟุบ เสียงร้องขอความช่วยเหลือก็ดังกระหึ่มกึกก้องไปทั่ว
ธ.ก.ส.ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ของเกษตรกรต้องตกเป็นจำเลยครั้งแล้วครั้งเล่า
เพราะสถานภาพแบงก์แห่งรัฐที่มีหน้าที่ต้องจัดการเรื่องนี้โดยตรง แต่บัดนี้
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2541)
"บัตรออมทรัพย์ทวีสิน ยุทธวิธียิงปืนนัดเดียวของ ธ.ก.ส."
ขึ้นชื่อว่าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส. เชื่อว่ามีคนเมืองจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้จักธนาคารของรัฐแห่งนี้ดีพอ นอกเหนือจากเป็นแบงก์ของเกษตรกรคนยากเท่านั้น และดูเหมือนจะเป็นแดนสนธยาที่คนในเมืองไม่กล้าเข้าไปกล้ำกราย
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2540)
ผ่าตัดใหญ่ ธ.ก.ส.
เร็ว ๆ นี้จะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) แหล่งเงินทุนราคาถูกสำหรับเกษตรกร ชาวนาชาวไร่และบรรดาหัวคะแนนของอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลาย
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2534)
พอเริ่มจด ก็เลิกจน!
ปีนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกโฆษณาและแคมเปญมาหลายชิ้น แต่ละชิ้นน่าสนใจกันทั้งนั้น มีมุมแปลกๆ มาเสนอ ทั้งที่ว่าไปแล้ว ไม่มีความจำเป็นมากมายที่สถาบันการเงินที่พึ่งของคนในชนบทจะต้องดิ้นรนสร้างแบรนด์ให้ใหญ่โต เพราะถึงอย่างไรลูกค้าก็ไม่เคยขาดสายอยู่แล้ว
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
คลังค้ำหนี้ธกส.งวดแรก2หมื่นล.
คลังได้ฤกษ์เซ็นค้ำเงินกู้ ธ.ก.ส. งวดแรก 2 หมื่นล้านบาทจ่ายเงินเกษตรกรโครงการรับจำนำข้าว สัญญาเงินกู้ 1 ปีครึ่ง ดอกเบี้ย 4.95% ระบุหากโครงการเสียหายจะต้องใช้เงินงบประมาณอุดหนุน เผยยอดรับจำนำข้าว ขาดดุลกลางปีดันยอดหนี้สาธารณะเป็น 38% จี้ธปท.สางหนี้เงินกองทุนฟื้นฟูฯ เพิ่มความยืดหยุ่นหน่วยงานอื่นกู้เงินได้บ้างหลังพบงบชำระหนี้ใช้จ่ายแค่ดอกเบี้ยเท่านั้น
(ผู้จัดการรายวัน 21 พฤศจิกายน 2551)
คลังค้ำหนี้ธ.ก.ส.แสนล.-4แบงก์ยิ้มแบ่งเค้กลงตัว
คลังถลุงไม่เลิกค้ำประกัน ธ.ก.ส.กู้เงินกรุงไทย ออมสิน ทหารไทย นครหลวงไทย รวม 1.1 แสนล้าน พยุงราคาข้าวสูงกว่าตลาดโลก 4 แบงก์ร่วมโครงการหน้าบานกินดอกสูงปลอดความเสี่ยง ขณะที่ต้องควักภาษีกว่า 1 หมื่นล้านจ่ายดอกเบี้ยและค่าบริหารจัดการทั้งโครงการโดยที่สต็อกข้าวเดิมกว่า 2 ล้านตันกระทรวงพาณิชย์ยังไร้หนทางระบาย "ประดิษฐ์" ลั่นห้ามโรงสีบัญชีดำร่วมโครงการเด็ดขาด
(ผู้จัดการรายวัน 4 พฤศจิกายน 2551)
ถึงคิวแบงก์รัฐเปิดศึกชิงเงินฝากธกส.ดึง5พันล้านลุ้นหวยทุกงวด
แบงก์รัฐเปิดศึกชิงเงินฝากหลังสนองนโยบายรัฐจนสภาพคล่องตึงตัว ธ.ก.ส.ออกบัตรเพิ่มทรัพย์ 5 พันล้าน ดอกเบี้ย 1.5% อายุ 3 ปี ฉลองครบรอบ 42 ปี หวังดึงประชาชนลดซื้อหวยมีโอกาสลุ้น 36 งวดแถมได้ทุนพร้อมดอกเบี้ยคืนขณะที่รางวัลที่ 1 มีถึง 5 รางวัล ด้านแบงก์ออมสินเตรียมขายพันธบัตรออมสินคุ้มครองสุขภาพอายุ 2 ปี จ่ายดอกเบี้ย 3.5% หวังระดมเงินฝากเข้าพอร์ต 1 หมื่นล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 7 ตุลาคม 2551)
ธ.ก.ส.เตรียมพร้อมปล่อยกู้ รับแผนงานรัฐฉีดเงินตรงสู่ชนบท
ธ.ก.ส.เตรียมงบตั้งยอดปล่อยกู้ปีนี้ 3.23 ล้าน รับแผนงานรัฐบาลอัดฉีดเงินลงสู่ท้องถิ่น กลไลขับเคลื่อนนโยบายการคลังตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียน ด้วยความเหมาะสม พ.ร.บ.เปิดทางให้ภาคนอกเกษตรกู้แล้ว แถมมีสาขาเยอะ พนักงานพร้อม ไม่หวั่นหนี้เสียเหตุมีการเข้าถึงท้องถิ่นรู้จักผู้คนในท้องถิ่นดี-มีการพัฒนาอาชีพก่อนอนุมัติเงินกู้ อีกทั้งยังนำร่องผ่องถ่ายงานให้กองทุนหมู่บ้านพัฒนาสู่ธนาคารหมู่บ้านในอนาคต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มกราคม 2552)
เมืองไทยประกันชีวิตพึ่ง"ธ.ก.ส."สานกลยุทธ์ต่อยอดตลาดรากแก้ว
สำหรับ"เมืองไทยประกันชีวิต"การคบ"ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร" (ธ.ก.ส.) เป็นพันธมิตร ดูจะกลายเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจเหนือคู่แข่ง ด้วยสามารถแทรกซึมความรู้การทำประกันชีวิตลงสู่ฐานรากแก้วผ่านองค์กร พนักงานของ "ธ.ก.ส." ที่ชาวรากแก้วให้ความไว้วางใจ ถือเป็นความโชคดีในระยะยาวสำหรับการเจาะตลาดขนาดใหญ่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)
ธ.ก.ส.-ธอส.เข้าตาจนเฉือนเนื้อเลือดสาดใบสั่ง"โยกเงินฝากรัฐ"อุ้มลูกหนี้"พูดง่ายทำยาก"
เมื่อหนทางการโยกเงินฝากของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเข้าสู่ 2 ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ อย่าง "ธ.ก.ส."และ"ธอส.จะกลายเป็นภาพเลือนรางลงทุกที แต่ด้วยภาระหน้าที่ทำให้ธนาคารทั้ง 2 แห่งต้องยอมเฉือนเนื้อตัวเอง แม้เลือดในตายังไม่กระเด็นแต่ก็พอมีแผลให้รู้สึกเจ็บๆ คันๆ เพราะเงินกองทุนที่รัฐหวังว่าจามารถโยกเข้ามาได้นั้นถูกปิดกั้นจากข้อผูกมัดที่มิอาจดึงเงินดังกล่าวมาใช้ได้ง่าย ๆ ทำให้ธนาคารเฉพาะกิจรัฐทั้ง 2 แห่ง ต้องพึ่งพาลมหายใจตัวเองเป็นหนทางสุดท้ายที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ที่กำลังเดือดร้อน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มิถุนายน 2549)
ธ.ก.ส. รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลแก่รัฐวิสาหกิจดีเด่น 13 แห่ง ณ หอประชุมกองทัพเรือ โดยรางวัลดังกล่าวแบ่งเป็น 3 หมวดคือหมวดรัฐวิสาหกิจที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น 3 รางวัล
(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 5 ตุลาคม 2548)