"มีเดีย ออฟ มีเดียส์ เมื่อ "การตลาด" ช่วยแต่งตัวเข้าตลาดหุ้น"
"มีเดีย ออฟ มีเดียส์" ของสามีภรรยา "โฆสิต สุวินิจจิต"
และ "ยุวดี บุญครอง" กำลังเป็นอีกฉากหนึ่งของธุรกิจบันเทิง ที่สามารถนำพาบริษัทให้เติบใหญ่อย่างรวดเร็ว
จากบริษัทโบรกเกอร์ขายเวลาโฆษณาทีวี กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตและนำเข้ารายการโทรทัศน์รายใหญ่และอาจนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในเวลาไม่นานนี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538)
“ยุวดี บุญครอง” ออนแอร์
ได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิงแถวหน้าของผู้จัดรายการโทรทัศน์ โลดแล่นออนแอร์อยู่ในสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ โดยเฉพาะช่อง 5 และ 7 มานานกว่า 20 ปี ด้วยบุคคลิกภาพที่ทุกคนคุ้นตากับผมซอยสั้น แต่งทรงเปรี้ยวจี๊ด พร้อมเสื้อผ้าสีสันสดใส และที่ลืมไม่ได้ เธอมักมาพร้อมกับผ้าพันคอที่ดูเหมาะเจาะพอดิบพอดี คุณสมบัตินี้เป็นใครอื่นไม่ได้นอกจาก “ยุวดี บุญครอง”
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
“ยุวดี”ซุ่มต่อยอดทีวีดาวเทียม เล็งเปิดร้านขายสินค้า-ลุยอีก5ช่อง
เอเชีย เทเลวิชั่นฯ เดินหน้ารุกสื่อโทรทัศน์ ดาวเทียมเต็มสูบ ประเดิมผุด ช่อง “เอช พลัส ชาแนล” หลังพบธุรกิจสื่อโทรทัศน์ฟรีทีวีไม่แน่นอน แข่งขันสูง คาดปีแรกโกยรายได้กว่า 400 ล้านบาท แย้มเตรียมต่อยอดธุรกิจผุดโมเดลธุรกิจใหม่ พร้อมโฟกัสเปิดตัวช่องใหม่รวม 5 ช่อง ด้านฟรีทีวีปีนี้ คว้ามาได้ 7 รายการ ใกล้เคียงปีที่ผ่านมา ป้อนให้กับ 3 สถานี มั่นใจสิ้นปีรายได้พุ่งก้าวกระโดด แตะ 800 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 15 มกราคม 2550)
ทักษิณเบรกผังใหม่ททบ.5
ช่อง 5 วุ่น นายกฯ สั่งชะลอใช้ผังใหม่ จนกว่าผลสอบเรื่องนำช่อง 5 เข้าตลาดหุ้นจะมีข้อสรุป
บอร์ดดึงอำนาจการจัดผังคืนจากอาร์.ที.เอ. ผู้จัดรายการที่หลุดผังรวมตัวโต้ ไม่ได้รับความเป็นธรรม
"ยุวดี" ร่ำไห้กลางงานแถลงข่าว เพราะสูญรายได้ 10 ล้านบาท "หมอซ้ง"
ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อประธานวุฒิฯ
(ผู้จัดการรายวัน 25 มิถุนายน 2547)
มีเดียส์รุกทีวีดาวเทียมลุย24ชม."ยูบีซี-บีทีวี"
มีเดีย ออฟ มีเดียส์ เปิดแผนก้าวสู่ปีที่ 21 รุกสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 2 ช่อง
ไทย แชนแนล และเฮลธ์ ทีวี ออกอากาศผ่านช่องบีทีวีและยูบีซี ชี้เทรนด์ผู้ชมทีวีทั่วโลกเปลี่ยน
หันชม ช่องเคเบิลทีวีมากขึ้น คาด 3-5 ปีไทยเปลี่ยนตาม พร้อมปรับตัวสู่ "ดิจิตอล
มีเดีย" วางตัวเป็นนอนมิวสิก คอนเทนต์ โพรวายเดอร์
(ผู้จัดการรายวัน 28 เมษายน 2547)
แกะโมเดลธุรกิจ "ทีวีดาวเทียม" สารพัดอุปสรรครอคอยผู้ท้าทาย
รูปแบบสื่อฟรีทีวี ที่มีข้อจำกัดมากมาย ต้นทุนการผลิตรายการที่ผู้ผลิตแต่ละรายลงทุนจำนวนมหาศาล แต่ต้องเผชิญความไม่แน่นอนของสัญญาเช่าเวลาของทุกสถานี ทั้งราคาค่าเช่าที่สูงขึ้นทุก ๆ ปี นโยบายผู้บริหารสถานีที่เปลี่ยนไป จนถึงเส้นสายที่เกาะเกี่ยวกันหาความมั่นคง มั่นใจไม่ได้ ผังรายการโทรทัศน์ถูกปรับเปลี่ยนปีต่อปี เป็นความสั่นคลอนของการทำธุรกิจ ที่ทำให้เกิดการมองหาเวทีใหม่ ๆ ซึ่งมาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 กุมภาพันธ์ 2550)