6 อรหันต์น้ำมันยุค “ทักษิณ”
โครงสร้างการบริหารนโยบายด้านพลังงาน ที่มีอำนาจทับซ้อนกับผลประโยชน์ โดยมีบุคคลในแวดวงกิจการน้ำมันเป็นตัวเดินเรื่อง ชัดเจนมาตั้งแต่เริ่มสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ในปี 2544 จนมาถึงช่วงที่สถานการณ์ราคาน้ำมันเริ่มพุ่งทะยานตั้งแต่ปี 2547 ในแวดวงน้ำมันถึงกับมีการเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “6 อรหันต์ทองคำด้านพลังงาน” เพราะไม่เพียงบทบาทสูงเกี่ยวกับการกำหนดราคาพลังงานแล้ว คนเหล่านี้ยังได้ผลตอบแทนเรื่องหุ้น เบี้ยประชุม และโบนัส จำนวนมาก
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
เสนอปิดปั๊ม3ทุ่ม-ตั้งกองทุนอุ้มขนส่ง
กระทรวงพลังงานสั่งกรมเชื้อเพลิงศึกษาดึงเงินน้ำมันที่ผลิตได้ในประเทศแล้วขายลดราคาซึ่งมีมูลค่าพันล้านบาท ตั้งเป็นกองทุนเพื่อนำมาช่วยเหลือค่าขนส่ง เตรียมหารือร่วมกระทรวงพาณิชย์-กรมขนส่งทางบกอีกรอบ 7 ก.ย.นี้ ถกผู้ค้าน้ำมันและโรงกลั่นหาวิธีบังคับประหยัดเพิ่มเติม นัดแรกเล็งปิดปั๊มน้ำมันเร็วขึ้นจาก 4 ทุ่มเป็น 3 ทุ่ม ขณะที่ผู้ค้าน้ำมันเสนอกรณีรถมีผู้โดยสารเกิน 4 คนเติมน้ำมันจะมีการให้คูปองส่วนลดไปซื้อสินค้าราคาถูกในมินิมาร์ท สภาอุตฯจี้ใช้น้ำหนักรถบรรทุก 26 ตัน
(ผู้จัดการรายวัน 6 กันยายน 2548)
ยุติดีลซื้อขายหุ้นบ้านปูวันนี้ "มิ้ง" สั่งกฟผ.ยึดประโยชน์สูงสุด
น.พ.พรหมินทร์ลั่นบอร์ดกฟผ. เตรียมยุติดีลแลกเปลี่ยนหุ้นกฟผ.-บ้านปู ในราชบุรีโฮลดิ้งและในเอ็กโก้
วันนี้ คาดไม่น่าจะล้ม ดีลมอบนโยบายยึดประโยชน์สูงสุดทั้งกฟผ. ประชาชน และการดูแลผู้ถือหุ้นรายย่อย
เสร็จ แล้ว ให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนำไปสู่การชี้แจงได้ ด้านผู้ว่ากฟผ.ยันที่ผ่านมาทำแบบถูก
ต้องรายงาน รมว.พลังงานโดยวาจาตลอด
(ผู้จัดการรายวัน 23 มกราคม 2547)
กฟผ.ทุ่มกว่า2หมื่นล้านแลก RATCH-EGCOMP
บอร์ด กฟผ. ไฟเขียวให้ กฟผ.เซ็น MoU ร่วมบ้านปูกับซีแอลพี เพาเวอร์เพื่อแลกหุ้นราชบุรี
(RATCH) และผลิตไฟฟ้า (EGCOMP) กฟผ.เล็งทุ่ม 2 หมื่นกว่า ล้านบาท กว้านซื้อหุ้น
RATCH 100% ก่อนถอดออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ อ้างแผนนี้ เพื่อชี้แจงนักลงทุนก่อน กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
(ผู้จัดการรายวัน 6 มกราคม 2547)