บุญทักษ์ หวังเจริญ - สุภัค ศิวะรักษ์ กับนิยามใหม่แต่โจทย์เก่า
บุญทักษ์ หวังเจริญ และสุภัค ศิวะรักษ์ เป็นนักการธนาคารที่คร่ำหวอดในธุรกิจการเงินมากว่า 20 ปี ทำให้ไอเอ็นจี กรุ๊ป และกลุ่ม CIMB เลือกเขาทั้งสองให้มานั่งในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อให้ภาพของธนาคารยังคงความเป็นไทย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2552)
วิถีธนาคารลูกครึ่งยุคใหม่
แม้ไทยธนาคารและธนาคารทหารไทย จะได้ชื่อว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นคนไทย ทว่าการครอบครองหุ้นส่วนใหญ่โดยต่างชาติ ทำให้ยุทธศาสตร์และวัฒนธรรมใหม่กำลังจะเริ่มต้น
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2552)
CIMB รุกคืบอย่างมีเป้าหมาย
หากธุรกิจการเงินการธนาคารเป็นประหนึ่งหัวใจของกลไกที่จะขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ การเข้าซื้อกิจการของไทยธนาคาร โดย CIMB Group สถาบันการเงินอันดับสองจากมาเลเซีย กำลังสะท้อนภาพยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ที่พร้อมจะงอกเงยขึ้นจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ นี้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2552)
ไทยแท้ๆ
ไม่บ่อยนักที่จะเห็นคนนอกมานั่งเก้าอี้ในแวดวงธนาคาร แต่ไม่ใช่สำหรับธนาคารยุคที่ต้องวาง Positioning ของตัวเองให้ชัดเจน ด้วยเหตุนี้เอง "เผ่าทอง ทองเจือ" อาจารย์และกูรูด้านศิลปะและวัฒนธรรม จึงถูกทาบทามให้นั่งเก้าอี้ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการของไทยธนาคาร "พีระศิลป์ ศุภผลศิริ"
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
CIMBใช้BTปล่อยกู้รายใหญ่
ไทยธนาคารเปิดแผนดำเนินธุรกิจหลัง "สุภัค" นั่งซีอีโอ-เอ็มดี มุ่งขยายฐานลูกค้ารายใหญ่ผ่านเครือข่ายซีไอเอ็มบี ปรับโครงสร้างการบริหาร กดดันระดับผู้จัดการสาขาต้องมีศักยภาพชัดเจน รับปีนี้อาจยังไม่มีกำไรสุทธิเหตุต้องลงทุนเพิ่มหลังลุยขยายธุรกิจ และเดินหน้ารวมบล.บีที-บล.ซีไอเอ็มบี จีเค คาดเสร็จสิ้นใน 6 เดือน พร้อมสรุปแผนโดยรวมภายในเดือนพ.ค.นี้ ยันไม่มีแผนเออร์รีไทร์ หรือเปิดให้พนักงานหยุดโดยไม่รับเงินเดือนเหมือน บ.แม่
(ผู้จัดการรายวัน 1 เมษายน 2552)
"บีที"เฉือนราคาหุ้นเพิ่มทุนเหลือ0.38ออกตราสารโปะเงินกองทุน2.5พันล.
บอร์ดบีทีอนุมัติลดราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารเหลือไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 0.38 บาท จากเดิม 0.66 บาท พร้อมออกตราสาร "Hybride Tier 1-Upper Tier 2" วงเงินไม่เกิน 2.5 พันล้าน และลดพาร์จากหุ้นละ 3.75 บาท เหลือ 0.50 บาทเพื่อตัดขาดทุน รอประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติวันที่ 20 ก.พ.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 16 มกราคม 2552)
"สุชาติ"เซ็นขายหุ้นBTแล้ว
คลังไฟเขียวเพดานต่างชาติถือหุ้นแบงก์ไทยธนาคารกว่า 49% เปิดทาง CIMB Bank ซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ ส่วนขั้นตอนต่อไปรอ CIMB Bank เข้าเจรจาเรื่องการซื้อรวมถึงราคากับกองทุนฟื้นฟูฯ
(ผู้จัดการรายวัน 9 ตุลาคม 2551)
"ไทยธนาคาร"ทำสงครามกองโจรคัดตำราซิตี้แบงก์เบียดฐานรายย่อย
"ไทยธนาคาร"แบงก์ไซส์เล็ก ยอมรับอยู่ในทีว่า ขนาดที่เสียเปรียบแบงก์ใหญ่ ทำให้การตัดสินใจลงสนามแข่งขันต้องเลือกเวทีที่มีโอกาสแพ้น้อยที่สุด ดังนั้นการรุกตลาดแต่ละครั้งจึงต้องเน้นทำสงครามกองโจร เลี่ยงการรบในรูปแบบ โดยเฉพาะการทะลุทะลวงเข้าถึงตลาดรายย่อย ที่คัดลอกตำราการตลาด "ซิตี้แบงก์ โมเดล"ซึ่งอาศัยกองทัพนักรบ "ไดเร็คเซลส์"มาเป็นแม่แบบ เพื่อลบจุดบอดที่มีสาขาหรือแขนขาครอบคลุมไม่ทั่วถึง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)
ไทยธนาคารหนุนประหยัดพลังงาน ต้นทุนสำคัญที่กัดกินภาคธุรกิจ
การประหยัดและใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น กลายเป็นเรื่องที่ได้ยินค่อนข้างมากในช่วงนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญของต้นทุนพลังงานที่แนวโน้มทะยานขึ้นสูงจนคาดเดาได้ยากว่าจะหยุดอยู่ที่ใด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น และบางแห่งที่รับรู้ผลกระทบได้รวดเร็ว ได้เตรียมการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการประหยัดพลังงาน หรือหาวิธีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องลงทุนเพื่อเกิดประโยชน์ในระยะยาว และเป็นที่มาของสินเชื่ออนุรักษ์พลังงาน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 พฤศจิกายน 2548)
ไทยธนาคารชี้แจงเรื่องเงินกองทุน
ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ไทยธนาคารได้มีแผนการเพิ่มทุน 2 ขั้นตอน โดยในขั้นแรกจะเป็นการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของไทยธนาคารให้กับกองทุนทีพีจี นิวบริดจ์ จำนวนประมาณ 556 ล้านหุ้นและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับนักลงทุนรายอื่น ๆ อีกจำนวน 175 ล้านหุ้น ซึ่งข้อเสนอการเพิ่มทุนในขั้นแรกนี้ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเรียบร้อยแล้ว
(ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ. 14 มีนาคม 2550)
ไทยธนาคารสรุปการขายหุ้นเพิ่มทุน
ธนาคารและ Newbridge Asia IV, L.P (“TPGN”) ได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วในเรื่องของราคาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการได้มีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่ของธนาคารจำนวน 556,225,048 หุ้น ให้แก่ TPGN ในราคาจองซื้อหุ้นละ 4.17 บาท
(ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ. 7 มีนาคม 2550)