Siam@Siam โรงแรมแรกแห่ง "พรประภา"
หลายคนคงนึกภาพไม่ออกว่า เมื่อผู้บริหารระดับอาวุโสที่คลุกคลีอยู่ในบริษัทยานยนต์ที่เก่าแก่ติดอันดับของประเทศมานานกว่า 30 ปี อย่าง "พรพินิจ พรประภา" ลุกขึ้นมาทำโรงแรมเองแล้วนั้น หน้าตาของโรงแรมจะเป็นอย่างไร ถ้าอยากรู้ก็ลองตามไปดู กับโรงแรมที่มีชื่อว่า "Siam@Siam"
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2550)
สยามกลการ ยังเป็นสมบัติของ "พรประภา" จนลมหายใจสุดท้ายของ ดร.ถาวร
7 กรกฎาคม 2544 เมืองไทยต้องสูญเสียบุคคลากรคนสำคัญ ในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไปอีก
1 ท่าน จากการเสียชีวิตของดร.ถาวร พรประภา ผู้ก่อตั้ง และประธานกิตติมศักดิ์
บริษัทสยามกลการ และบริษัทในเครือ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
รถยนต์นิสสันในประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544)
“สยามกลการ” ผุดธุรกิจโรงแรมตั้งเป้ารายได้ 180 ลบ.ในปีแรก
กลุ่มสยามกลการ ทุ่มกว่า 600 ล้านบาท ผุดธุรกิจโรงแรม เสริมทัพสร้างรายได้ใหม่ คว้าบ้านเก่าใจกลางกรุงเทพฯ เนรมิตเป็นโรงแรม “สยาม แอ็ท สยาม ดีไซน์ โฮเต็ล แอนด์ สปา” เน้นจับกลุ่มเจ้าของธุรกิจจากต่างประเทศเอง ไม่สนกรุ๊ปทัวร์ ชูจุดขายด้านดีไซน์ บริการและความสะดวกดึงดูดลูกค้า
(ผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2549)
สยามกลการแตกไลน์ลดความเสี่ยงรายได้รถวูบ
กลุ่มสยามกลการมั่นใจสิ้นปีโต 15% ตามคาด โดยเฉพาะธุรกิจด้านอะไหล่และชิ้นส่วนถือเป็นพระเอกเหตุสร้างกำไรต่อเนื่อง พร้อมเผยแผนขยายและลงทุนธุรกิจใหม่อีกเพียบไม่ว่าจะเป็น ลิสซิ่ง, โรงแรม, สนามกอล์ฟ หวังเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง ล่าสุดทุ่ม 30 ล้านบาท เนรมิตโชว์รูมย่านบางนา-ตราด และเตรียมจัดจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ “ฮอนด้า” เสริมทัพให้กลุ่มเนื่องจากยอดขายรถยี่ห้อ “นิสสัน” ติดลบ “พรเทพ”คาดหวัง ปิกอัพ โมเดล ใหม่ จะเป็นอัศวินม้าขาวช่วยกู้ยอดขาย
(ผู้จัดการรายวัน 6 ตุลาคม 2549)
สยามกลการเร่งรีโนเวทรับตลาดโต
สถาบันดนตรียามาฮ่า (สยามกลการ) ชูกลยุทธ์ขยายตลาดธุรกิจดนตรีสู่เมืองใหญ่ครบวงจรเพิ่มอีก 10 แห่งในปีนี้ และเปิดหลักสูตรใหม่ ไวโอลิน รองรับกระแสความนิยมของวัยรุ่นไทย ล่าสุดเป็น Web Application พร้อมแต่งตั้งโต๋ ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร ศิลปินนักเปียโน เป็นพรีเซ็นเตอร์เปียโน YAMAHA คนแรกของไทย
(ผู้จัดการรายวัน 5 กันยายน 2549)
“สยามกลการ”แตกไลน์ท่องเที่ยวต่อยอดธุรกิจ
การแตกไลน์ธุรกิจของ “สยามกลการ” โดยเฉพาะด้านท่องเที่ยว-บริการ เป็นเรื่องที่ถูกจับตามองว่าเกิดอะไรขึ้น...เหตุใดทำไมเบอร์หนึ่งด้านธุรกิจอะไหล่และชิ้นส่วนรถยนต์ต้องกระโดดเข้ามาแชร์ตลาดท่องเที่ยวในช่วงนี้ทั้งๆที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง…หากการข้ามสายธุรกิจของสยามกลการครั้งนี้จะเป็นแค่การปรับตัวเพื่อต่อยอดธุรกิจเตรียมรองรับทั้งกลุ่มลูกค้าด้านยานยนต์และนักท่องเที่ยวในอนาคต...หรือกลายเป็นแค่ทางผ่านทางธุรกิจเพียงเท่านั้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 ตุลาคม 2549)