อุดม ตันติประสงค์ชัย Who is Nuts!
คนหนึ่งเป็นเถ้าแก่หรือ entrepreneur อย่างอุดม ตันติประสงค์ชัย เจ้าของ One-Two-Go กับอีกสองคนเป็นลูกจ้างองค์กรระดับสากลโลก Chief Executive Officer (CEO) มืออาชีพอย่าง ทัศพล แบเลเวลด์ CEO ของ Thai Air Asia และพาที สารสิน CEO แห่ง Nok Air ล้วนมียุทธวิธีแบบ Nuts! ที่แตกต่างจากการทำตลาดแบบเดิมๆ ในการรุกพื้นที่ทางการตลาดใหม่ๆ และบุกเบิกงาน operations business ที่เข้าถึงมวลชน ซึ่งทั้งสามตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้แต่ละบริษัทจะกวาดผู้โดยสารให้ได้ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน
(นิตยสารผู้จัดการ 5 กรกฎาคม 2548)
วิกฤติสายการบิน Low Cost Unbearable & Unready for takeoff
"เหนื่อย..." สีหน้าและแววตาของอุดม ตันติประสงค์ชัย เจ้าของสายการบินต้นทุนต่ำอย่าง One-Two-Go ซึ่งเป็นเครือข่ายของ Orient Thai Airlines (OX) ขณะเอ่ยคำนี้ก็ยังคงความเป็น survivor คนเดิม ที่มียุทธวิธีเอาตัวรอดได้เสมอ ภายใต้แรงกดดันจากปัจจัยลบ เช่น ราคาน้ำมัน jet fuel crisis ที่ทะยานเกิน 50 เหรียญต่อบาร์เรล และค่าเงินดอลลาร์
(นิตยสารผู้จัดการ 5 กรกฎาคม 2548)
"ธุรกิจเสี่ยงภัยของอุดมที่กัมพูชา"
อุดมเป็นคนบุกเบิกการเข้าไปลงทุนและทำมาค้าขายในกัมพูชายุคฟื้นฟู แต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองของกัมพูชา
ทำให้ธุรกิจของอุดมเต็มไปด้วยความเสี่ยงภัยสูงโดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลในพนมเปญนำธุรกิจของเขาไปโยงใยกับผลประโยชน์ของเจ้านโรดม จักรพงศ์ ความเสี่ยงภัยนี้เองคือที่มาของประสบการณ์ที่ลงทุนต้องระวงในกัมพูชา
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2535)
ปิดฉาก “วันทูโก”
“แอร์โฮสเตส” “สจ๊วต” และพนักงานของสายการบิน “วันทูโก” กว่า 500 คน ที่กำลังบอบช้ำ เพราะอนาคตที่มืดมน และตกงาน หลังจาก “วันทูโก” หมดสิทธิ์เทกออฟบินขึ้นสู่น่านฟ้านับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา หลายคนในนี้ แม้จะรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะความผิดพลาดของผู้บริหารเป็นหลัก แต่หาก “น้ำมันไม่แพง” อย่างนี้ อนาคตของพวกเขาและพวกเธอคงไม่มืดมนขนาดนี้
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
ดาลัด ตันติประสงค์ชัย สาวน้อยแห่งวงการนกเหล็ก
ด้วยอายุเพียง 21 ปี กับบทบาทผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Development) ของบริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลนส์ เจ้าของสายการบิน วันทูโก สายการบินต้นทุนต่ำรายแรกของไทย และสายการบินทั่วไป คือ โอเรียนท์ ไทย เธอจัดเป็นนักบริหารสาวที่มีอายุน้อยที่สุดอีกคนหนึ่งแห่งวงการนกเหล็กบ้านเรา
(Positioning Magazine มีนาคม 2548)
วันทูโกเมินไพร้ซ์วอร์หวั่นเจ็บตัว
วันทูโก ไม่ขอร่วมวงสงครามราคา เร่งอัพเกรดบริการ ประกาศเดินหน้าเพิ่มเส้นทางบินต่อเนื่องทั้งปี ประเดิม กรุงเทพฯ-ตรัง ตั้งเป้าสิ้นปีโกยรายได้ 1 พันล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 10 มีนาคม 2552)
วันทูโกทุ่ม 7 หมื่น ล.ซื้อเครื่องใหม่
แก้ภาพลักษณ์ใหม่ วันทูโกซุ่มเจรจาโบอิ้ง เตรียมถอยเครื่องบินป้ายแดง 20 ลำมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท หวังขยายฝูงบินแสดงศักยภาพทางการแข่งขัน ตอกย้ำบริการเพื่อสร้างแบรนด์รอยัลตี้ เมินร่วมเล่นกลยุทธ์สงครามราคา
(ผู้จัดการรายวัน 26 พฤศจิกายน 2550)
วันทูโกปรับค่าตั๋วอีก200บาทก.ย.นี้เพิ่มเส้นบินสกัดไทยแอร์เอเชียผูกขาด
วันทูโกสุดอั้น เล็งขยับขึ้นค่าตั๋วโดยสารอีก 200 บาท ต่อที่นั่ง กันยายนนี้ พร้อมเปิดเส้นทางบิน สุวรรณภูมิ ออกไป 3 เส้นทางในประเทศ เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ รับผู้โดยสารต่อเครื่อง กันไทยแอร์เอเชียผูกขาด คุยปีหน้า โตก้าวกระโดด ส่วนปีนี้รายได้ตามเป้า 2.5 พันล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 2 สิงหาคม 2550)
ได้เวลาปรับทัพ 'โลว์คอสต์' หลังยอดนักท่องเที่ยวหายเพียบ!...
กระแสความร้อนแรงของตลาดโลว์คอสต์แอร์ไลน์ปัจจุบันเริ่มอ่อนตัวลง หลังจากสายการบินหลายค่ายพร้อมใจปรับทัพรับศึกช่วงโลว์ซีซันที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาพรวมการแข่งขันของโลว์คอสต์ในประเทศไทยจำเป็นต้องลดจำนวนเที่ยวบินลงอย่างเห็นได้ชัด หรือบางเส้นทางก็ถูกยกเลิกไปอย่างไม่มีกำหนด
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 กันยายน 2552)
“โลว์คอสต”ปีฉลู...สู้ยิบตา...งัดสารพัดกลยุทธ์กระตุ้นนักท่องเที่ยว
กลเกมการตลาด “โลว์คอสแอร์ไลน์”ช่วงต้นปีวัวดูจะคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ และวันทูโก พยายามเปิดศึกช่วงชิงลูกค้าด้วยการสรรหากลยุทธ์ออกมาหวังกระตุ้นให้ตลาดตื่นตัว ซึ่งนับจากนี้เป็นต้นไปภาพการแข่งขันของธุรกิจการบินต้นทุนต่ำน่าจะมีออกมาเป็นระยะอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มกราคม 2552)
โลว์คอสแอร์ไลน์ปรับทัพรับท่องเที่ยวไฮซีซั่น
การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ทางการตลาดของสายการบินเริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเที่ยวบินไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่คาดว่าน่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ ที่ล่าสุดมีสายการบินทั้งในและต่างประเทศเดินทางเข้าไปมากว่า 8 สายการบิน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 พฤศจิกายน 2549)