สาระ ล่ำซำ Changes Driver
ย้อนกลับไป 10 ปีก่อนคงไม่มีใครคิดว่าจะสามารถหัวเราะร่วนได้เวลานั่งดูโฆษณาประกันชีวิต เพราะคนไทยเชื่อว่าเรื่องเจ็บตายไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดเล่นสนุกสนาน แต่ "สาระ ล่ำซำ" กลับทำให้ "ประกันชีวิต" กับ "รอยยิ้ม" เป็นของคู่กันได้ และยังเป็นผู้บุกเบิกอีกหลายสิ่งในธุรกิจประกันชีวิต
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553)
Like Your Family
ภายใต้บรรยากาศการแข่งขันกันอย่างรุนแรงแบบไม่มีใครยอมใครเวลานี้ นอกจากธุรกิจแต่ละรายจะต้องแน่ใจว่า พวกเขาจะสามารถรักษาความจงรักภักดีต่อยี่ห้อสินค้าภายในกลุ่มลูกค้าไว้ได้ในระยะยาวแล้ว การหาคู่พันธมิตรทางธุรกิจ ที่พร้อมจะผนึกกำลังร่วมกันแชร์พอร์ตลูกค้า เพื่อขยายบริการสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในตลาดซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็ต้องการได้อย่างไม่ยากเย็นนั้น ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมี
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549)
เมืองไทยประกันชีวิต A Life-Insurer of Villagers
ไม่ได้เป็นแค่ผู้เสนอบริการแก่คนหัวคิดทันสมัยในเมืองใหญ่ เพราะเวลานี้เมืองไทยประกันชีวิตได้ลงมาเล่นในตลาดต่างจังหวัด เพื่อเสนอระบบประกันชีวิตที่ดีกว่า ให้กลุ่มรากแก้วตามหมู่บ้านใช้เป็นหลักประกันชีวิตในแบบที่พอเพียง
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2549)
พันธมิตรใหม่
ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจร้านอาหารประเภทต่างๆ แต่สำหรับ Western Casual Dining Restaurant แล้ว ซิซซ์เล่อร์แทบไม่มีคู่ต่อกรที่สมน้ำสมเนื้อ
(Positioning Magazine มีนาคม 2553)
“ธนาคารฟอร์ติส” คว่ำ “กลุ่มเมืองไทย” สะดุ้ง
เพียง 2 วัน หลัง “ธนาคาร ฟอร์ติส” แบงก์รายใหญ่แถบ “ยูโรโซน” ล้มคว่ำหัวคะมำ “กลุ่มเมืองไทย” อันประกอบด้วย เมืองไทยประกันชีวิต และ บมจ.เมืองไทยประกันภัย ก็เจอกับบททดสอบ น่าท้าทายของ “ซับไพรม์” ที่กำลังคุกคามไปทั่ว “ยุโรป”
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
เมืองไทยประกันชีวิต ขึ้นแท่นที่ 1 แบรนด์ไทยด้วยความสุข
แนวโน้มคนซื้อประกันเพราะตัวแทนกำลังจะลดลง แต่แบรนด์จะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อมากขึ้น เมืองไทยประกันชีวิตเริ่มมองเห็นจุดเปลี่ยนนี้ ก่อนที่ตัวเลขการขายประกันชีวิตผ่านตัวแทนของบริษัทจะค่อยๆ ปรับตัวลดลง เริ่มต้นสร้างแบรนด์และปรับปรุงองค์กรให้พร้อมกับการแข่งขัน จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของเมืองไทยเกิดขึ้นในปี 2547 ที่ได้ทั้งโลโก้และพันธมิตรใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงเพียงปีเดียว เมืองไทยฯ สร้างอัตราเติบโตให้บริษัทถึง 65% ขณะที่เอไอเอเติบโตเพียง 1% ในช่วงเดียวกัน ปัจจุบันเมืองไทยประกันชีวิตยังกลายเป็นแบรนด์ประกันชีวิตของคนไทยที่ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งอีกด้วย
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
เมืองไทยฯตั้งเป้าโต40% เน้นขายผ่านเคแบงก์
เมืองไทยประกันชีวิตตั้งเป้าเบี้ยประกันพุ่ง 40% เน้นขายประกันผ่านเคแบงก์ “สาระ ล่ำซำ” นั่งควบตำแหน่งMDและCEO มุ่งนโยบายทุกส่วนรับมือการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ เอาใจคนแต่ละช่วงอายุ
(ASTVผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2553)
เมืองไทยปลื้มเบี้ย11เดือนพุ่ง25%
เมืองไทยประกันชีวิตปลื้มไม่หยุดส่งท้ายผลงานเข้าเป้า 11 เดือน ชูเบี้ยประกันรับรวม 19,324 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 25.10% พร้อมจับมือ"กสิกรไทย"เพิ่มศักยภาพช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ พร้อมจัดกิจกรรมตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 28 ธันวาคม 2552)
ปรับเครดิตMTLมี"เสถียรภาพ"
รายงานข่าวจาก บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศปรับแนวโน้มความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (MTL) เป็นมี "เสถียรภาพ" จากเป็น "บวก" ในขณะเดียวกัน ฟิทช์ประกาศคงอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Insurer Financial Strength (IFS)) ของ MTL ที่ "BBB+" และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS) ที่ "AA(tha)"
(ผู้จัดการรายวัน 16 ตุลาคม 2551)
แบรนด์“เมืองไทยประกันชีวิต”ถมทุกพื้นที่ว่างสีบานเย็น ประกาศศักดิ์ดาผ่าน“บอลลีกไทย”
นอกจากจะดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดอย่าง เร็ว แรง “สาระ ล่ำซำ” ยังไม่ยอมตกกระแสหลังจับสัญญาณได้ว่า “บอลลีกไทย” กำลังเป็นเทรนใหม่มาแรงในสังคมไทย และด้วยเหตุนี้จึงนำ แบรนด์ “เมืองไทยประกันชีวิต”เข้าสนับสนุนสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษเมืองไทย กับทีม "อีสานกูปรีอันตราย" แน่นอนจากนี้ไปทั้งชื่อ “เมืองไทยประกัน”หรือสีชมพูบานเย็นประจำองค์กรแห่งนี้ก็จะผงากอยู่ในสนาม ฟุตบอล และอัฒจันทร์ทุกครั้งที่มีการแข่งขัน เป็นอีกยุทธศาสตร์ของถมพื้นที่ว่างให้เต็มไปด้วยแบรนด์ขององค์กรแห่งนี้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 มีนาคม 2553)