"ที่มาและที่ไปของ BIS ของไทย"
การเติบโตของแบงก์ญี่ปุ่นในตลาดการเงินโลกเมื่อทศวรรษที่ 80 ได้กระตุ้นแบงก์ยุโรปให้ตื่นตัวต่อการแสวงหาหลักการและแนวทางในการควบคุมการเติบโตของแบงก์ญี่ปุ่นเป็นจริงจังมากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2535)
ค่าเงินบาท จุดตายเศรษฐกิจไทย
สถิติมีไว้ให้ทำลาย แต่บางสถิติสำหรับบางอย่างหากถูกทำลายบ่อย ๆ อาจเกิดหายนะขึ้นมาได้ เหมือนอย่างที่เกิดกับภาวะเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็น “จุดตาย” ที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยอาจต้องล่มสลายลง
(Positioning Magazine เมษายน 2550)
“ธาริษา วัฒนเกส”หญิงเดี่ยวมือหนึ่งแบงค์ชาติ
ย้อนหลังไป 32 ปีที่แล้ว สาวน้อยวัยใส พกพาดีกรีปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ จากญี่ปุ่น อาจไม่อยู่ในสายตาของคนในแบงก์ชาติเท่าไรนัก เพราะแบงก์ชาติเป็นหน่วยงานระดับประเทศ ถือเป็นแหล่งรวมของสุดยอดผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินทั้งหญิงและชาย แต่ ณ ปัจจุบันโฟกัสสายตาทุกคู่ต่างมองไปที่เธอ “ธาริษา วัฒนเกส” ที่เปลี่ยนสถานะจากสาวน้อย เจ้าหน้าที่ทั่วไปของแบงก์ชาติ กลายมาเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นเบอร์ 1 นั่งเก้าอี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจธนาคารที่มีมูลค่ารายได้ปีหนึ่งหลายแสนล้านบาท จากตลอดเวลากว่า 65 ปีที่ผ่านมา ผู้ว่าแบงก์ชาติ 20 คนเป็นชายทั้งหมด
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
3 ปัจจัยเสี่ยงฉุด Momentum
แม้จะเสียศูนย์กระทั่งมีเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จากการให้ยาแรงในมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้แข็งค่าจนกระทบต่อภาคการส่งออก แต่ภาคธุรกิจก็ต้องฟังความคิดเห็นทิศทางเศรษฐกิจของไทย จาก “ธาริษา วัฒนเกส” ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ในฐานะผู้รับผิดชอบนโยบายด้านการเงินของประเทศ
(Positioning Magazine มกราคม 2550)
'ธาริษา'ห่วงสินค้าแพง
ผู้ว่าแบงก์ชาติห่วงขึ้นเงินเดือนข้าราชการมีผลแง่จิตวิทยาให้สินค้าขึ้นราคาและอัตราค่าจ้าง แต่เชื่อกระทบไม่มาก มั่นใจปีนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังไม่หลุดกรอบ 0.5-3% พร้อมส่งสัญญาณดอกเบี้ยไทยเข้าสู่ขาขึ้น
(ASTVผู้จัดการรายวัน 25 มิถุนายน 2553)
ดันทุนไทยไปนอก-ผู้ว่าฯเคาะกะลาสกัดบาทแข็ง
ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติออกลีลาลดแรงกดดันถูกโจมตีบาทแข็ง เตรียมผ่อนคลายมาตรการให้คนไทยเพิ่มการลงทุนต่างประเทศแต่ขอเวลาสรุปแนวทางอีกครั้ง เผยไตรมาสแรกบาทแข็งค่า 4% ไตรมาส 2 เหลือ 0.06% แข็งน้อยกว่าคู่แข่ง ลั่นการดูแลเศรษฐกิจต้องให้เติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่เน้นช่วงสั้นๆ เอ็มดีตลาดหลักทรัพย์ฯ หนุน เหตุสภาพคล่องการลงทุนสูง
(ASTVผู้จัดการรายวัน 4 สิงหาคม 2552)
ธปท.หนุนเสริมความรู้ลูกค้ากองทุนรวม
ผู้ว่าแบงก์ชาติ หนุนวงการกองทุนรวม สร้างความรู้นักลงทุน เข้าใจผลตอบแทนและความเสี่ยง หวั่นฐ้ำรอย กบข. แนะอย่าหวังผลระยะสั้น ขายเพื่อทำยอด แต่ต้องขายให้คนที่เข้าใจจริง เตือนอาจมีผลกระทบระยะยาว ด้านสมาคมบลจ. รับลูก ชี้มีความจำเป็น แต่ต้องใช้เวลา
(ผู้จัดการรายวัน 27 มีนาคม 2552)
ค่าบาทแข็งซ้ำเติมรอยช้ำภาคส่งออก"ธาริษา"ย้ำคุมเกมไม่ให้ผันผวนมาก
"ธาริษา" ย้ำจุดยืน"แบงก์ชาติ"ชัดเจน ด้วยการคุมเกมค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากจนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการภาคส่งออก ส่วนค่าเงินที่แข็งขึ้นในช่วงนี้เพราะมีปัจจัยหลายด้านหนุนตั้งแต่การเทขายดอลลาร์ทำกำไร ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกถึงตกลงจุดต่ำสุด แถมการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นตัวหนุน แต่จะเฝ้าระวังไม่ให้แข็งมากเกินคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันการเคลื่อนไหวของค่าบาทยังเกาะกลุ่มภูมิภาคไม่ทะยานไปไกล
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 พฤษภาคม 2552)