เอไอจีและเอไอเอความเชื่อมั่นที่ซื้อไม่ได้
ดูเหมือนว่า เอไอจีจะเป็นสถาบันการเงินแรกของสหรัฐอเมริกาที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดดเข้าไปอุ้มหลังจากที่เลห์แมน บราเธอร์ ประกาศล้มละลายเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551)
วันที่ตกต่ำของ Hank Greenberg
ผู้สร้างบริษัทประกันยักษ์ใหญ่สุดของโลก AIG กำลังเผชิญมรสุมลูกใหญ่ ที่อาจทำให้อาณาจักรธุรกิจที่เขาใช้เวลาสร้างมากว่าครึ่งชีวิต ต้องล่มสลาย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2548)
ชัยชนะของ AIG
ข้อตกลงการควบรวมกิจระหว่าง AIG กับ AGC บรรลุผลเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
หลังจาก AIG เสนอซื้อหุ้นด้วยราคา ไม่ถูกใจ AGC เพียง 46 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น
แต่ท้ายที่สุดข้อเสนอนี้ยังมีชัยชนะเหนือพรูเด็น เชียลที่เสนอเงื่อนไขให้กับ
AGC ในระดับ 49.52 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น หรือ 26.6 พันล้านเหรียญ สหรัฐเมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544)
“ซัพไพรม์นรก” ถล่มประกันชีวิต
ตกตะลึง!!! … ช็อกกันไปทั้งโลก เมื่อเศรษฐกิจอเมริกาดำดิ่งยิ่งกว่า “ตกนรก” เพราะการแผลงฤทธิ์เดชแบบไม่มีวันจบลงง่ายๆ ของ “ซัพไพรม์” การโหมปล่อยกู้จำนองแก่ผู้กู้ความน่าเชื่อถือต่ำในสหรัฐฯ จนสถานบันการเงิน แม่แบบเจ้าของนวัตกรรมซับซ้อน แต่ให้ผลตอบแทนยั่วยวนใจ ต้อง “ล้มทั้งยืน” กรณี “เลแมน บราเดอร์ส” อดีตวาณิชธนกิจ เบอร์ 4 จุดชนวน “ปรากฏการณ์โดมิโน” กลายมาเป็น “ฝันร้าย” ตามหลอกหลอนธุรกิจที่เกี่ยวข้องโยงใยไปทุกมุมโลก
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
คืนฝันร้าย AIG (AIA) นาทีช็อก (โลก) ความเชื่อมั่น
“AIG” อเมริกา ถูกชาวโลกพิพากษาโทษจนล้มทั้งยืน จวนเจียนจะล้มละลาย จากการนำพาองค์กรอันทรงอิทธิพลทางการเมืองและบนโลกการเงิน เข้าไปเกี่ยวข้องกับ “ซัพไพรม์” สุดท้ายต้องเร่ขายทรัพย์สิน ตัดขายหุ้น บริษัทใน “เครือ AIG” รวมถึง “สาขาAIA” เกือบครึ่งค่อนโลก หั่นทิ้งสายธุรกิจ “คอนซูเมอร์ ไฟแนนซ์ กรุ๊ป หรือ CFG” แบบไม่ไยดี ใน 11 ประเทศทั่วโลก เป็นการปิดฉากสายธุรกิจ CFG และถึงกาลอวสานความเชื่อมั่นในแบรนด์ประกันภัยพี่เบิ้มระดับโลก...
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
ต่างชาติทิ้งแสนล้าน หุ้นไทยดิ่ง 300 จุด
9 เดือนแรกของปี 2008 ท่ามกลางข่าวสถาบันการเงินล้มรายแล้วรายเล่า เงินต่างชาติขายหุ้นสุทธิแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ดัชนีหุ้นร่วงไปแล้วเกือบ 300 จุด หากพอร์ตต่างชาติที่อยู่ในตลาด 1 ล้านล้านบาทหายไป ตลาดหุ้นไทยจะดิ่งหายไปอยู่ที่ใดซึ่งยังไม่มีเซียนหุ้นคนใดกล้าฟันธง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยลบที่มาจากการเมืองในประเทศยืดเยื้อ จึงเหลือเพียงคำแนะนำเพียงว่าทั้งขาใหญ่ และแมงเม่าควรปรับพอร์ตเล่นหุ้น ปรับ Mind Set ถือยาว หรือทางที่ดีไปลงทุนอย่างอื่นดีกว่า
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
AIG ปูฐานธุรกิจปรับธนาคารใหม่เปิดสาขาทั่วปท.
ธนาคารเอไอจีฯ ได้ฤกษ์เปิดอย่างเป็นทางการพฤศจิกายนนี้ หลังจาก ธปท.ตรวจสอบระบบการทำงานธุรกรรมทางการเงินเรียบร้อยแล้ว เตรียมเปิดให้บริการพร้อมกัน 10 สาขาทั่วประเทศ ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค เน้นสินเชื่อส่วนบุคคลและเช่าซื้อ โดยชูจุดเด่นเรื่องคุณภาพ และบริการหวังสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าเป็นหลัก
(ผู้จัดการรายวัน 25 กรกฎาคม 2548)
แบงก์เอไอจีดีเดย์เปิดQ3บุกสินเชื่อรายย่อยเต็มสูบ
ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายปีนับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเมืองไทย ในที่สุดบริษัทเงินทุน (บง.) เอไอจี ไฟแนนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ "ชัยวัฒน์" ผู้คลุกอยู่ไฟแนนซ์แห่งนี้มาตลอดให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการรายวัน" วางเป้าหมายที่จะปลุกปั้นเอไอจีไฟแนนซ์ให้เป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย หรือรีเทลแบงกิ้งอันดับหนึ่งของเมืองไทยอย่างมีคุณภาพ
(ผู้จัดการรายวัน 1 กุมภาพันธ์ 2548)
"ING-TMB"ยังไม่ใช่รายสุดท้าย!ความเหมือนที่ต่างสุดขั้วAIG(AIA)
ในขณะที่ "AIG" คือขาใหญ่ในย่านวอลล์สตรีท "ING" สิงโตจากแดนกังหันลม ก็ติดทำเนียบ สถาบันการเงินระดับท็อป 20 ในย่านสหภาพยุโรป ทั้งสองผู้ยิ่งใหญ่บังเอิญก้าวเข้ามาติดบ่วงกรรม "มหันตภัยซัพไพร์ม" ถล่มโลก ในเวลาไลเลี่ยกัน เพียงแต่AIGเข้าไปพัวพันโดยตรง จนติดร่างแห ผ่านการค้ำประกันตราสารที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนING ต้องเผชิญกับ แรงกระเพื่อม "อาการแพนิก" นักลงทุนที่ถอนตัวจากตลาดหุ้นอย่างรวดเร็ว จนต้องรับเงินอัดฉีดจากรัฐบาลกลาง แต่ถึงอย่างนั้น ING ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน TMB หรือ แบงก์ทหารไทยก็ยังไม่ใช่รายสุดท้าย ในยุควิกฤตสถาบันการเงินโลกตะวันตก....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2551)
ผ่ากลยุทธ์สื่อสาร จากเอนรอนถึง AIG
ภาพลักษณ์ หรือ Image ได้รับการพิสูจน์มานานหลายสิบปีแล้วว่ามีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของกิจการในโลกการตลาดยุคนี้
มีหลายอาณาจักรยักษ์ใหญ่หลายรายบนโลกธุรกิจธุรกิจต้องมามีอันล่มสลาย และเสียชื่อเสียงที่สั่งสมมานาน ไม่ว่าจะเป็น เอนรอนจากการฉ้อโกงทางบัญชี และใช้ตัวเลขที่หลอกลวง มาจนถึงบริษัทเวิลด์คอม ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดของโลก และผู้ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐฯ ที่ตกอยู่ในฐานะล้มละลาย เมื่อปี 2545
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กันยายน 2551)
เฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 2.00 และให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้แก่ AIG
แผนการให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้แก่บริษัท AIG นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองว่า ความช่วยเหลือที่เฟดให้แก่บริษัท AIG ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงจุดยืนของเฟดซึ่งเลือกที่จะใช้มาตรการเฉพาะหน้า และเครื่องมือดูแลด้านสภาพคล่อง ในการแก้ไขความปั่นป่วนและบรรเทาความตึงตัวในภาคการเงิน มากกว่าจะใช้นโยบายการเงิน ที่มีพันธกรณีต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและระดับราคาโดยรวม
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 19 กันยายน 2551)
บิ๊กแบรนด์อเมริกันเผยตำนานความสำเร็จของธุรกิจในเมืองไทย
3 บริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่ที่มีตำนานอันยาวนานในฐานะผู้นำธุรกิจในเมืองไทยที่จะมาร่วมเผยตำนานความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ (AIG) และ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ตอบรับการเข้าร่วมเป็นพันธมิตร ใน“Buy & Visit USA 2006” งานแสดงสินค้าและบริการจากสหรัฐอเมริกา
(เพนเนอร์-แมดิสัน, บจก. 28 สิงหาคม 2549)