GRAMMY GOLD กริส ทอมัส พระเจ้าให้เราหรือเปล่า
ชื่อเสียงของแกรมมี่ในยุคเริ่มต้นจะผูกติดมากับการทำเพลงวัยรุ่น เพลงสตริง มากกว่าที่จะออกมาเป็นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของแกรมมี่และเป็นจุดขายที่เปลี่ยนแปลงได้ยากในสายตาของคนฟังและคนซื้อ แต่การที่ถนัดทำเพลงสตริงก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำเพลงแนวอื่นไม่ได้ เพราะโดยหลักการแล้ว การทำเพลงสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การสร้างความบันเทิงให้ผู้ฟังจนทำให้เกิดการซื้อผลงาน
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550)
กินหัว กินหาง กินกลางตลอดตัว
เหมือนกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพิ่งจะนึกขึ้นมาได้ว่าที่ผ่านมาได้แต่นั่งมองผู้ประกอบการคาราโอเกะเก็บเกี่ยวรายได้และผลกำไรจากธุรกิจนี้ไปไม่น้อย ทั้งๆ ที่แกรมมี่เป็นเจ้าของสิทธิ์ในเพลงที่ลูกค้าร้องกันอยู่ทุกวัน แต่กลับมีรายได้จากส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549)
"Content is a king"
"บางคนบอกว่าเทคโนโลยีจะฆ่าธุรกิจเรา เป็นเพราะเขาไม่เข้าใจ ยิ่งเทคโนโลยีมาก โอกาสสร้างรายได้จากทุกทางยิ่งมาก ต่อไปเราอาจไม่ต้องออกแผ่นซีดี แต่ใช้วิธีดาวน์โหลด แทน" เป็นประกาศของไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แถลงข่าวนโยบายของแกรมมี่ ภายใต้ชื่องาน "Music never die"
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2547)
“ซีทีเอช” บิ๊กคอนเนกชั่น อำนาจใหม่ดึงโฆษณา
ชื่อของบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ ซีทีเอช เป็นที่รู้จักเฉพาะในวงการเคเบิลทีวีท้องถิ่นมาหลายปี แต่เมื่อ “วิชัย ทองแตง” อดีตทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาจับมือมากับทายาทของ นสพ.ไทยรัฐ ประกาศซื้อหุ้นในซีทีเอช พร้อมลงทุน 25,000 ล้านบาท และมีแกรมมี่เข้ามาถือหุ้นด้วย ยิ่งทำให้ซีทีเอชถูกจับตามองมากขึ้น
(Positioning Magazine 6 กรกฎาคม 2555)
แกรมมี่ VS ทรูวิชั่นส์ ศึกกล่องดาวเทียมถึง Multi Channel
ความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคกลุ่มแมสในการรับชมทีวีที่ต่างจากเดิม มีทางเลือกมากกว่าฟรีทีวี มาพร้อมกับธุรกิจที่แข่งขันกันรุนแรง โดยมีบิ๊กเพลเยอร์อย่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ แข่งกับทรูวิชั่นส์ ดูได้จากกรณี “จอดำ” บนทีวีสมาชิก “ทรูวิชั่นส์” อดดูการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2012 ที่ผ่านมา
(Positioning Magazine 6 กรกฎาคม 2555)
ทรูวิชั่นส์ VS GMM Z “กล่อง” ใครจะโดนกว่ากัน
การแข่งขันของ ”ทรูวิชั่นส์ และ GMM Z” แม้จะเพิ่งเริ่มต้น ในการแย่งผู้ชมทีวี แต่ก็นับเป็นช่วงอินโทรฯ ที่เร้าใจ เพราะต่างแลกกันหมัดต่อหมัด และสนุกมากยิ่งขึ้น เมื่อ ”ทรูวิชั่นส์” รับน้องใหม่ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ด้วยอาวุธครบมือ
(Positioning Magazine 25 พฤษภาคม 2555)
"แกรมมี่"ผนึก5พันธมิตร บริการจัดเรียงช่องฟรีคชจ.
ศึกเคเบิลทีวีเดือด PSI สะเทือน แกรมมี่จับมือ 5 พันธมิตรจานดาวเทียม ส่งกล่อง 1SKY จัดเรียงช่องไม่เก็บค่าใช้จ่าย เจ้าของคอนเทนท์ตบเท้าแห่เข้าร่วม 100 ช่อง เปิดตัว 20ก.ย.นี้ มั่นใจปีแรก รับชมกว่า 5 ล้านกล่องทั่วประเทศ ดันเม็ดเงินโฆษณาโตเท่าตัวใน 2 ปี แตะ 12,000 ล้านบาท
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 16 กันยายน 2554)
จีเอ็มเอ็มจัดหนักคอนเท้นต์ JK POP หวังกวาดลูกค้าทุกกลุ่มทีวีดาวเทียม
ปฏิบัติการช่วงชิงคนดูเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมจัดหนักปรับคอนเท้นต์ถ้วนหน้า ประเดิมไตรมาสแรกของปี 2554 ประเดิมด้วยค่าย ทรูวิชั่นส์ ล่าสุดค่าย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บุกตลาดทีวีดาวเทียมด้วยการเปิด ช่อง JKN : Japan Korea Network ทั้งในระบบ Free to Air ทั้งเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม หวังขยายฐานคนดูกลุ่มวัยรุ่นและแฟนพันธุ์แท้เจเค-ป็อป
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 มีนาคม 2554)
ภาคต่อPartnership Marketing เพิ่มฐานลูกค้าทีวีดาวเทียมเครือแกรมมี่
ในปี 2554 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ยังคงเดินหน้าบุกธุรกิจทีวีดาวเทียม ด้วยกลยุทธ์จับไลฟ์สไตล์คนเมือง เพื่อรักษาฐานผู้ชมเดิมและสร้างผู้รับชมกลุ่มใหม่ๆ โดยวางกลยุทธ์ทางการตลาดไปในช่องทางต่างๆประกอบด้วย การจัดกิจกรรม On Ground ทั่วประเทศตลอดทั้งปี
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 กุมภาพันธ์ 2554)
Big Move ธุรกิจบันเทิง-เพลงปี 53
ธุรกิจบันเทิง-มิวสิกในปีนี้ จัดเป็นปีที่มีการปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้ง หากเอ็กซเรย์ผ่านการขับเคลื่อนธุรกิจ 2 ค่ายใหญ่ “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ VS อาร์เอสฯ” แล้ว ยิ่งเห็นภาพความสะท้อนที่เด่นชัดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องมาเจอมรสุมลูกใหญ่อย่าง วิกฤตการเมือง-ม็อบ เสื้อแดง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 มกราคม 2554)