แพรวา-คลาสสิคลานนา เดินคนละทางเป้าหมายเดียวกัน
เป้าหมายของ สุเมธ พันธุ์แก้ว ก็คือ เป็นดีไซเนอร์มือหนึ่งในภาคเหนือ งานของเขาคือ
ชุดแต่งกายในธีมพื้นเมืองล้านนา ทั้งแบบดัดแปลงสมัยใหม่และมีกลิ่นอายแบบภาคเหนือแท้
"เมื่อนึกถึงผ้าหรือสไตล์พื้นเมือง ไม่ว่าไทย-เทศจะต้องนึกถึงเรา นี่เป็นความฝันของผม
งานออกแบบของเขา ส่งออกทั้งชุดไปที่ญี่ปุ่นและอิตาลี ในราคาที่คนไทยหลายคนอาจจะหยิบไม่ลงได้หลายปีแล้ว
ในชื่อ "คลาสสิค โมเดล" และ "คลาสสิค ลานนา" แต่เขาคิดว่ากิจการของเขายังไปได้ไกลกว่านั้น
ส่วน ประพันธ์ มูลน้อย อาจมีเป้าหมายที่แตกต่างไปบ้าง เวลานี้บริษัท
แพรวาไหมไทยของเขา มียอดส่งออกเสื้อผ้าฝ้าย เฉพาะในญี่ปุ่นปีละไม่ต่ำกว่า
30 ล้านบาท มีร้านที่จำหน่ายสินค้าของเขาทั่วญี่ปุ่นเกือบ 50 แห่ง แถมเป็นเจ้าของกำลังการผลิตผ้าฝ้ายทอมือใน
เชียงใหม่ไม่น้อยกว่า 70%
ขณะนี้กำลังพยายามยกระดับตัวเองสู่การดีไซน์แบบเสื้อผ้าใหม่ ในลักษณะของคอลเลกชั่น
ในนามของ "คอตตอนฮัท" และ "แพรวา โดยมีดีไซเนอร์ทั้งญี่ปุ่นและไทยเป็นทีมงานอยู่เบื้องหลัง
ทั้งสองคนไม่มีฐานธุรกิจนี้อยู่เดิม โดยเพิ่งจะเข้าสู่เส้นทางนี้อย่างจริงจังไม่เกิน
10 ปีที่ผ่านมานี้เอง
การตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกต่างประเทศเป็นหลัก มีองค์ประกอบของธุรกิจเฉพาะตัว
แต่เขาทั้งคู่ได้ค้นพบความลับอันนั้นแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542)