ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศคนใหม่
คณะกรรมการบริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศมีมติเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ให้นายร็อดดริโก ราโต (Rodrigo Rato) ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศว่างลง เมื่อนายฮอร์สต์ โคห์เลอร์ (Horst Koehler) ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งเยอรมนี
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547)
Second-Generation Economic Reform
ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศป่าวประกาศให้ชาวโลกรับทราบตั้งแต่ต้นทศวรรษ
2540 ว่า นานาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกที่สาม ควรจะก้าวเข้าสู่การปฏิรูป
เศรษฐกิจรุ่นที่สอง
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546)
ลาที... กองเดอซูส์
ช่วงเวลานี้จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
ถือได้ว่าเป็นข่วงเวลาแห่งการนับถอยหลังของมิเชล
กองเดอซูส์ (Michel Camdessus) กรรมการจัดการ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund)
หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) ซึ่งประกาศล้างมือในอ่างทองคำ
หลังจากที่อยู่ในตำแหน่งนี้นานถึง 3 เดือน
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542)
เผยผลIMFทบทวนเศรษฐกิจไทย แนะเร่งกระตุ้นอุปสงค์-เรียกความเชื่อมั่น
ในปี 2549เศรษฐกิจไทยขยายตัวประมาณร้อยละ 5 แม้ว่าสภาวการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ แต่การส่งออกที่ขยายตัวสูงช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ การขยายตัวของการส่งออกเป็นผลจากการเร่งตัวของอุปสงค์สินค้าเกษตร อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ (manufactured goods)
(ผู้จัดการรายวัน 28 มีนาคม 2550)
ปรับเป้าศก.โต5.5% ปลดแอกIMFวันนี้!
แบงก์ชาติปรับเป้าเศรษฐกิจปีนี้โตเพิ่มอีก 1% เป็น 5.5% ขณะที่คลังก็เตรียมเปรับเพิ่ม
หลังแนวโน้มครึ่งปีหลังขยายตัวต่อเนื่อง-ซาร์สกระทบน้อยกว่าคาด ขณะที่ปี 47 คาดเงินฝรั่งดันเศรษฐกิจไทยฉลุย
ด้านคลังยันคืนหนี้ไอเอ็มเอฟหมดวันนี้ ปลดแอกไทยเป็นไท หลังตกเป็น ทาสฝรั่ง ในฐานะลูกหนี้
เกือบ 10 ปี ไม่กระทบฐานะการคลัง
(ผู้จัดการรายวัน 31 กรกฎาคม 2546)
ทศท.เพิ่มทุน1.5หมื่นล.ขึ้นIRCPหวังฟื้นเชื่อมั่นMAI
บริษัท ทศท คอปอร์เรชั่นจะสรุปผลเสนอขายหุ้น IPO 30% ภายใน 1-2 เดือนนี้ คาดเพิ่มทุนอีกประมาณ
2 เท่า เป็นมากกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท จะเริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาส
4 ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอผลแปรสัมปทาน และค่าเชื่อมต่อโครงข่ายเสร็จสิ้น
(ผู้จัดการรายวัน 31 กรกฎาคม 2546)
USวางหมากกันไม่ให้'กองทุนการเงินเอเชีย'แจ้งเกิด
เมื่อชาติเอเชียทำท่าจะเป็นอิสระเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐฯก็กำลังผลักดันให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) เปลี่ยนแปลงระบบการออกเสียง เตรียมยอมเพิ่มอำนาจต่อรองให้ชาติซึ่งมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมากขึ้นทุกทีเหล่านี้ โดยผู้สังเกตการณ์บางรายชี้ว่า นี่คือหมากกลล้ำลึกของวอชิงตันที่จะผูกมัดชาติเหล่านี้เอาไว้ ให้ยังคงอยู่ในองค์การโลกบาลทางการเงินแห่งนี้ ซึ่งถึงอย่างไรตนเองก็มีเสียงครอบงำเด็ดขาด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 มิถุนายน 2548)
เศรษฐกิจโลกไม่สมดุลชนิดเรื้อรัง IMF - เวิลด์แบงก์เตือนปรับด่วน
สหรัฐอเมริกาถูกเตือนนับครั้งไม่ถ้วนในหลายปีที่ผ่านมา ว่าระดับการจับจ่ายของสหรัฐฯนั้นเว่อร์อย่างน่ากลัวไม่ว่าจะในแง่ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศตนเองหรือต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม กระนั้นก็ตาม สหรัฐฯยังละเลยต่อหายนะ และเดินหน้าเร่งเครื่องยอดติดลบบัญชีบัญชีเดินสะพัด ตลอดจนยอดติดลบงบประมาณ ให้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดตลอดกาลใหม่ๆ ไม่ได้หยุดหย่อน ขณะนี้ทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ดูเหมือนจะพยายามยื่นมือเข้าแทรกแซง กล่าวคือตอนต้นเดือนนี้ ทั้งสองสถาบันโลกออกรายงานฐานะการเงินโลก ซึ่งเตือนเสียงเข้มว่าความไม่รับผิดชอบต่อฐานะทางการคลังของสหรัฐ คือปัจจัยอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 เมษายน 2548)