อีกก้าวของความสำเร็จ
"เรตติ้ง" อาจเป็นดัชนีสามัญที่ใช้วัดความสำเร็จของหลายบริษัทในธุรกิจสื่อ
แต่ไม่ใช่มาตรวัดความสำเร็จหนึ่งเดียวของสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา หรือพี่ฉอดแห่งแกรมมี่
บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการสื่อ
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546)
เอ-ไทม์ มีเดีย ปั้นอากาศเป็นเงิน
จากธุรกิจที่เริ่มต้นการเช่าชั่วโมงผลิตรายการ มีคนเพียงแค่ 2-3 คน ที่ก่อร่างสร้างตัว สร้างโมเดลของธุรกิจ ที่เข้าถึงกลุ่มคนฟังจำนวนมาก สามารถแปรอากาศให้เป็นเงิน จนทำรายได้เป็นอันดับสอง ให้กับกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546)
เอ-ไทม์ ย้ำความเป็นผู้นำรายได้ปี'40 ทะลุ 500 ล้านบาท
"ลักษณะการทำงานของ เอ-ไทม์ ในทุกปีช่วงเดือน พ.ย. เราจะทำงานของปีหน้ากันแล้วคือเราจะมี Year Plan ออกมาว่าในปีหน้ารายการวิทยุทั้ง 4 คลื่นของเรานั้นจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างทั้งในและนอกรายการ" สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา หรือ 'พี่ฉอด' กรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงลักษณะการทำงานของ บงเอ-ไทม์ มีเดีย (@ - TIME)
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
โซเชี่ยล มีเดียดันเพลงไปไกลกว่าที่เคย
ในความคิดเห็นของดีเจ พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา มองว่า กังนัมสไตล์เป็นความลงตัวของช่วงเวลาและสื่อ ส่วนเพลงก็น่าจะดังแค่เวลาเดียว ไม่ถึงขนาดขึ้นหิ้งเป็นเพลงระดับตำนานในแง่ของศิลปะ เป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
(Positioning Magazine 15 กุมภาพันธ์ 2556)
ซีอีโอ Synergy
“ความสำเร็จของธุรกิจบันเทิง ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ไม่ได้ยึดตัวเลข แต่ขึ้นกับการทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปให้ได้มากกว่า” บางส่วนของวลีที่ “พี่ฉอด สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา” กล่าวในฐานะสวมหมวกใหม่ควบ 2 ตำแหน่ง “ประธานกรรมการบริหารและกรรมการบริการ” ของค่าย จีเอ็มเอ็ม มีเดีย อย่างเป็นทางการ เมื่อ 30 เมษายนที่ผ่านมา แทนอากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ที่โฟกัสเหลือตำแหน่งเดียว คือ ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
พี่ฉอด-สายทิพย์ ดีเจมือเก๋า
อีกหนึ่งหญิงเก่งของวงการบันเทิง “พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา” บอสค่ายเอ-ไทม์ และแกรมมี่ เทเลวิชั่น เจ้าของความสำเร็จในการปั้นคลื่นวิทยุในเครือเอ-ไทม์ ให้เด่นโดดโลดแล่นบนแฝงหน้าปัดมาอย่างต่อเนื่องก่อนจะมาเป็นผู้บริหารคลื่นเอ-ไทม์ฯ พี่ฉอดเคยเป็นนักจัดรายการ หรือดีเจคลื่นวิทยุดังๆ มานานสิบปี
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
จีเอ็มเอ็มปรับใหญ่วิทยุดึงเงินชูธงธุรกิจทราเวลเลอร์-โชว์บิซ
เศรษฐกิจย่ำแย่ ธุรกิจวิทยุโอกาสโตสูง “เอ-ไทม์” แรง เทเม็ดเงินเพิ่ม 20% อัดกิจกรรมแต่ละคลื่นถี่ฉิบ พร้อมปรับโลโก้แต่ละช่อง รีแบรนด์บานาน่า 89 เอฟเอ็ม เป็น Chill 89.fm เดินหน้าลุยเอไทม์ทราเวลเลอร์ โชว์บิซ และกรีนชาแนล มั่นใจปีหน้าโตเท่าปีนี้ที่ 8% จาก 750 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 21 ตุลาคม 2551)
สื่อวิทยุหืดขึ้นคอครึ่งปีหลังจีเอ็มเอ็ม-อาร์เอสพลิกเกมสู้วิกฤติ
ตลาดสื่อโฆษณาวิทยุยังอึมครึม แม้ครึ่งปีแรกโตดี สองค่ายยักษ์ จีเอ็มเอ็มแกรมมี่-อาร์เอส มองตรงกัน ยังน่าเป็นห่วง ประเมินจากเศรษฐกิจแย่ กำลังซื้อลด ลูกค้าวางแผนซื้อสื่อระยะสั้นลง ต้องงัดเกมมาต่อสู้ช่วงชิงลูกค้าและงบโฆษณากันเต็มที่
(ผู้จัดการรายวัน 2 มิถุนายน 2551)
“สายทิพย์”ร้อนวิชาซินเนอจี้ควบพาร์ทเนอร์-รับตลาดซื้อสื่อสั้น
พี่ฉอด เปิดใจหลังนั่งเก้าอี้ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เตรียมเดินหน้าซินเนอจี้การทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด สู่เป้า 2,900 ล้านบาท ที่วางไว้ มั่นใจสื่อมีเดียที่มีอยู่มีความแข็งแกร่งพอที่จะอยู่รอดในสถานการณ์ที่ต้องรอดูความแน่นอนต่างๆ พร้อมชี้ความแข็งแกร่งของธุรกิจนี้ขึ้นอยู่กับความอยู่รอดไม่ใช่การเติบโต
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2550)
อาถรรพ์ 20 ปี บัส ซาวนด์ ยังร่อแร่ อาร์.เอ็น.ที. ดึง เอฟเอ็มวัน กู้คลื่น 500 ล้าน
อาถรรพ์บัสซาวนด์ รอปลุกชีพ 20 ปี ยังส่อแววเข็นไม่ขึ้น แม้อาร์.เอ็น.ที.ฯ จะได้เอฟเอ็มวัน มาเสียบแทน บัซ เอฟเอ็ม ที่จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ถอดใจยุบคลื่นหนีเศรษฐกิจ ได้ทันการณ์ไม่ผิดสัญญา แต่เงื่อนไขค่าตอบแทนของสัมปทาน 20 ปี ที่ต้องจ่ายให้ ขสมก. กว่า 500 ล้านบาท ยังคงเป็นปริศนาว่า บัสซาวนด์ จะยังคงเป็นสื่อที่มองไม่เห็นอนาคตต่อไปหรือไม่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)