กรณีเริงชัย มะระกานนท์ กรณีศึกษา การตัดสินใจเพื่อชาติ
วงเงิน 1.85 แสนล้านบาท เป็นทุนทรัพย์ความเสียหายในคดี แพ่งที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยเป็นวงเงินที่ทางการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าเริงชัย มะระกานนท์
อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ คือ ผู้ที่ก่อให้เกิดความ เสียหาย จากการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้ในการปกป้อง
ค่าเงินบาทในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2540
ก่อนมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในอีก 2 วันถัดมา ซึ่งเป็นจุดพลิกผันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่วิกฤติ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2545)
"เริงชัย มะระกานนท์ …พ้นพงหนาม?"
เริงชัย เป็นนักเรียนทุนคนแรกของแบงก์ชาติที่ขึ้นถึงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ซึ่งตำแหน่งสูงสุดสำหรับข้าราชการประจำของแบงก์ชาติ เริงชัยเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการสายที่
5 รับผิดชอบสำนักงานสาขา
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531)
ยื่นอุทธรณ์คดี "เริงชัย" สอบเพิ่ม 4 พันล. FBCB
ทนาย "เริงชัย" เตรียมยื่นขยายเวลาอุทธรณ์พร้อมขอทุเลาบังคับคดีชดใช้ความผิดปกป้องค่าเงินบาท 1.86 แสนล้านบาท เพื่อรอคัดคำพิพากษา เชื่อ ธปท.จะชะลอการบังคับคดีเพื่อรอให้คดีถึงที่สุด ขณะที่ บช.ก. ระบุต้องสอบสวนเพิ่มเติม 10 ประเด็นก่อนดำเนินคดีอดีตผู้บริหารธนาคารมหานคร (FBCB) พร้อมสั่งเร่งสรุปสำนวนคดีเศรษฐกิจที่คั่งค้างอีกกว่า 1 พันคดี
(ผู้จัดการรายวัน 14 มิถุนายน 2548)
"เริงชัย" แพ้คดีสวอปบาท ต้องชดใช้เงิน1.8แสนล้าน
ศาลแพ่งพิพากษาให้ "เริงชัย มะระกานนท์" ชดใช้เงิน 1.8 แสนล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี แต่ไม่เกิน 65 ล้านบาท แก่แบงก์ชาติ ฐานประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงกรณีทำสวอปปกป้องค่าเงินบาท แทนที่จะลอยตัวค่าเงินตามคำแนะนำของรองผู้ว่าฯธปท. จนทำให้ทุนสำรองติดลบ ทนายฮึดสู้ต่อชั้นอุทธรณ์ ยกประเด็นจำเลยไม่ได้ประมาท บอกคดีนี้เป็นการละเมิด จำเลยมีสิทธ์ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอไม่ให้เป็นบุคคลล้มละลายได้
(ผู้จัดการรายวัน 1 มิถุนายน 2548)
ก.ค.รู้ผลธปท.ฟ้อง"เริงชัย"แสนล.
ศาลแพ่งตัดสินคดีแบงก์ชาติฟ้องแพ่ง เรียกค่าเสียหาย 1.8 แสนล้านบาท จาก "เริงชัย มะระกานนท์" อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ ตามข้อกล่าวหาละเมิด ทำสวอปค่าเงินบาทจนทุนสำรองประเทศไม่เหลือ ต้นเดือน ก.ค.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2548)