ธุรกิจใหม่ของทุนเก่า
เย็นวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา นาตาลี เกลโบวา อดีตนางงามจักรวาล ปี 2005 ต้องทำหน้าที่ในการโปรโมตสินค้าอีกครั้งหนึ่ง เพียงแต่สินค้าที่เธอมาช่วยในวันนี้ไม่ใช่เบียร์สิงห์ตามบทบาทของ Brand Ambassador ที่เธอทำอยู่ แต่เป็นร้านราเมงจากญี่ปุ่น ธุรกิจใหม่ล่าสุดของสันติ ภิรมย์ภักดี นายใหญ่ของบุญรอดบริวเวอรี่ เจ้าของเบียร์สิงห์
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2549)
ดร.นพดล อินนา เบื้องหลังของ "สิงห์" ผงาดในวงการไอที
นอกเหนือไปจากการนั่งบริหารในบุญรอดบริวเวอรี่ ผู้ผลิตเบียร์ โซดา และผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม ซึ่งรู้จักกันดีภายใต้ชื่อ "สิงห์" อันเป็นกงสีของครอบครัวแล้ว สันติ ภิรมย์ภักดี ยังมีกิจการหลายประเภทที่ใช้เงินส่วนตัวไปร่วมลงขันเอาไว้มากมาย ตามประสาของผู้มีชื่อเสียง และมีเพื่อนพ้องในวงการธุรกิจมากมาย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
จุดยืนต้องชัด
นับเป็นเทรนด์แรงของ Functional Drink ในยุคนี้สำหรับ “เบอร์รี่” ที่เกทับกันด้วยคุณสมบัติของเบอร์รี่นานาพันธุ์ แม้แต้ทิปโก้ก็ยังโปรโมตน้ำผลไม้โกจิเบอร์รี่ หลังจากตลาดนี้เติบโตเมื่อปี 2552 กว่า 355% มากกว่าตลาดเครื่องดื่มทุกประเภท ล่าสุด บี-อิ้งจากสิงห์ขอฮึดอีกรอบ ด้วยการเปิดตัว บี-อิ้ง อายแคร์ ที่มีส่วนผสมของเบอร์รี่ 5 ชนิด และนี่คือบทพิสูจน์อีกครั้งหนึ่งของสันต์ ภิรมย์ภักดีและแผนก Non-Alcohol ของบุญรอดฯ ที่ต้องหา Positioning ให้ชัดเจนเพื่อความสำเร็จในตลาด
(Positioning Magazine มิถุนายน 2553)
โซดาช้าง vs โซดาสิงห์ ศึกชิงความซ่า
หลังรีแบรนด์เบียร์ช้างแบบขนานใหญ่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ประเดิมต้นปี 2553 ก็ถึงเวลาของโซดาช้างที่ออกมาโฆษณาสกัดจุดอ่อนของตัวเอง ด้วยการหยิบยก Consumer Insight เรื่อง "ความซ่า" ซึ่งผู้บริโภคเห็นว่าโซดาช้างไม่ซ่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งเจ้าตลาดอย่างโซดาสิงห์
(Positioning Magazine เมษายน 2553)
ต้องออกแรงกระตุ้น
อยู่ในตลาดมาเกือบ 2 ปี ผลิตภัณฑ์ตัวที่ 2 ในกลุ่มเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ผลงานยุคของเจเนอเรชั่นที่ 4 “สิงห์” นำโดยสันต์ ภิรมย์ภักดี มาวันนี้เครื่องดื่ม “บีอิ้ง” ก็ถึงเวลาปรับตัวกระตุ้นยอดเติบโตให้ดีกว่าเดิม ทั้งการเปลี่ยนจากพรีเซ็นเตอร์ชาย เวียร์ ศุกลวัฒน์ เป็น นุ่น วรนุช ว่าที่สะใภ้คนล่าสุดของตระกูล เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายผู้หญิงให้มากขึ้น
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
"สิงห์"ลดเสี่ยงน้ำเมาลุยฟู้ดเต็มตัวแยกทีมตลาด-เป้าสัดส่วนรายได้30%
“ค่ายเบียร์สิงห์” ลดความเสี่ยงธุรกิจ ไม่หวังยึดติดแค่น้ำเมาอย่างเดียว หวั่นอนาคตไม่แน่นอนถ้าตลาดอิ่มตัว สยายปีกสู่ฟู้ดแอนด์เบฟเวอเรจสุขภาพอย่างเต็มตัว เป้าหมายปี 2555 สัดส่วนรายได้กลุ่มนี้ 30% จากเดิม 10% ชูนโยบายกว้างทั้งว่าจ้างผลิตและเข้าซื้อหุ้นโรงงานผลิต
(ASTVผู้จัดการรายวัน 4 กุมภาพันธ์ 2553)
สิงห์ฯรับปีหน้าตลาดเบียร์ไม่โต เล็งปั้นนอนแอลกอฮอล์ทดแทน
สิงห์ฯ ชี้ตลาดเบียร์กว่าแสนล้านบาทปีหน้าไม่โต ล่าสุดตัวเลขตลาดปีนี้ 9 เดือนติดลบ 2.8% หวั่นวิกฤตเศรษฐกิจโลกกระทบไทยระยะยาว จ่อคิวปั้นสินค้ากลุ่มนอนแอลกอฮอล์ลงตลาดปีหน้า ทดแทนกลุ่มเบียร์ ส่วนแผนกลุ่มเบียร์ตั้งการ์ดหวังโตจากการชิงแชร์จากไทยเบฟฯ – ไทยเอเชียฯ เพื่อรั้งตำแหน่งผู้นำครองแชร์ 56-57% โอดรีดภาษีอีก 2% ซ้ำเติมผู้ประกอบการ
(ผู้จัดการรายวัน 3 ธันวาคม 2551)
สิงห์จวกพ.ร.บ.น้ำเมาเอื้อเหล้าขาวกระทบเศรษฐกิจไทยยิ่งถอยหลัง
เบียร์สิงห์ ออกโรงจวกพ.ร.บ.น้ำเมา สร้างความสับสนสังคม เอื้อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ วอนรัฐทบทวนใหม่ แบนโฆษณาเข้าข่ายขัดดับบลิวทีโอ ระบุตลาดน้ำเมาปีนี้มีโอกาสไม่โต ส่วนเหล้าขาวโตพุ่งจาก 500 ล้านลิตร เป็น 550 ล้านลิตร เตรียมปรับแผนรับมือยุคมืด โยกงบหนุนกีฬาถ่ายทอดสดประเทศเพื่อนบ้าน จ่อคิวดำเนินคดีตามกฎหมายกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากพ.ร.บ.
(ผู้จัดการรายวัน 16 มีนาคม 2550)
แนวรุกใหม่เบียร์สิงห์ เปิดศึกข้ามฟากสู้สังเวียนฟิชสแน็ก
หลังจากปีที่ผ่านมาได้ส่ง 'เอ็นจอย' แบรนด์ใหม่แกะกล่อง สแน็กตัวแรกของค่ายเบียร์สิงห์ ประชันตลาดกับ ทาโร่กับฟิชโช มาปีนี้ประเดิมกลุ่มธุรกิจนอน-แอลกอฮอล์ โดยกระโดดร่วมศึกฟิชสแน็กอย่างเป็นทางการ พร้อมเป้าหมายก้าวขึ้นสู่เบอร์ 3 สิ้นปีกวาดแชร์มาได้ถึง 10% จากตลาดรวมฟิชสแน็กมูลค่า 1,380 ล้านบาท
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 กุมภาพันธ์ 2553)
กลยุทธ์การตลาด:อีสานเบียร์เหมือนจะ Niche แต่ Mass
ยิ่งใกล้ห้วงยามการเลือกตั้งปลายปี 50 สมรภูมิภาคอีสานนั้นก็ระอุขึ้นเรื่อย ๆ ทว่าไม่เพียงแต่เฉพาะสมรภูมิทางการเมืองเท่านั้น ในสงครามการตลาดของสินค้าต่างๆ ก็รุนแรง โดยเฉพาะในตลาดเบียร์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 ธันวาคม 2550)