"ธีรพงษ์-กรพจน์-และศุภพงษ์ สามหนุ่มสามมุม "อัศวินวิจิตร"
"ไม่เอา…ไม่พูด" เสียงปฏิเสธจากปากของกรพจน์ อัศวินวิจิตรที่ถูกนักข่าวรุมล้อมขอสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาค้างคาใจเรื่องเพิ่มทุนในสหธนาคาร ท่ามกลางงานเลี้ยงเปิดตัวบริษัทพรูเด็นเชียล ทีเอสไลฟ์ ประกันชีวิต ซึ่งกลุ่มธุรกิจของตระกูลอัศวินวิจิตรถือหุ้นอยู่ 30% และบางส่วนถือในนามสามพี่น้อง ได้แก่พี่ใหญ่-ธีรพงษ์ พี่กลาง-กรพจน์ และน้องเล็ก-ศุภพงษ์ อัศวินวิจิตร
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2538)
กรพจน์ อัศวินวิจิตร ติวเข้มงานการเมือง
นักธุรกิจหนุ่มวัย 30 กว่าปีคนนี้ไม่ได้หายหน้าค่าตาไปไหน แต่กำลังขะมักเข้มฝึกฝนบทเรียนทางการเมืองอย่างหนักในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
และ 1 ใน 25 ของคณะกรรมาธิการพิจารณาแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญที่มีโอสถ โกศิน
เป็นประธานฯ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534)
'ออมสิน'เล็งลดดอกกู้อีก0.50% ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ1.4แสนล้าน
แบงก์ออมสินเล็งลดดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ต่ำกว่า 0.5% สัปดาห์นี้-ตั้งเป้าปี 50 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 1.4 แสนล้าน พร้อมจับมือ "กรมส่งเสริมการเกษตร-มูลนิธิส่งเสริมยุวเกษตรไทย" ปล่อยกู้วิสาหกิจชุมชน 4 หมื่นกลุ่มทั่วประเทศ วงเงินรวม 3.5 หมื่นล้าน
(ผู้จัดการรายวัน 20 มีนาคม 2550)
เงินฝากคุ้มแล้วคุ้มอีกทะลุ2.5หมื่นล.
ปิดแคมเปญเงินฝาก “สลากออมสินพิเศษ เงินฝาก...คุ้มแล้ว คุ้มอีก” ยอดทะลุ 25,000 ล้านบาท เตรียมลุ้นรับรถโตโยต้า คัมรี 20 กุมภาพันธ์นี้ หลังออกรางวัลสลากออมสิน พร้อมดันกิจกรรมต่อเนื่องในงานมหกรรมการเงินภาคอีสาน Money Expo 2007 ที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่าง 9-11 กุมภาพันธ์ 2550 รับประทับตรายางบนสลาก “กูให้มึงออม มึงจะได้ไม่จน” จากหลวงพ่อคูณ เพื่อความเป็นสิริมงคล
(ผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2550)
ธปท.ลุ้นการเมืองนิ่ง-ดึงลงทุนกลับ"กรพจน์" จี้เข็นเมกะโปรเจกต์ต่อ
"หม่อมอุ๋ย"เชื่อสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลาย หลังรักษาการนายกฯเว้นวรรคทางการเมือง เชื่อเมื่อทุกฝ่ายมีความสมานฉันท์เรียกความมั่นใจนักลงทุนกลับมาได้ ด้านผอ.ออมสินมั่นใจ ใครเป็นนายกฯก็ทำให้เศรษฐกิจไทยก้าวต่อไปได้ หากมีความพร้อมและมั่นคง แนะรัฐบาลชุดใหม่ไม่ควรชะลอโครงการเมกะโปรเจกต์
(ผู้จัดการรายวัน 6 เมษายน 2549)
ขายสลากกระตุ้นออมเงินยาว
ออมสิน กลายเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการสร้างวินัยการออม หลังจากที่ประชาชนมีพฤติกรรมบริโภคนิยมมากขึ้นแต่เก็บออมน้อยลง และในยามที่ประเทศต้องลงทุนเพื่อการพัฒนาเม็ดเงินออมจึงมีความสำคัญอย่างมาก และออมสินในฐานะของธนาคารรัฐจึงต้องมีบทบาทในการส่งเสริมการออม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)