ชฎาทิพ จูตระกูล ดอกไม้เหล็กแห่งค้าปลีก
พูดกันว่า “สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ” ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วก็คงเป็นปัจจัยสร้าง “วีรสตรี” หน้าใหม่ให้เข้ามาติดทำเนียบ TOP 10 Role Model ในปีนี้ ทั้งที่จริงแล้ว “ชฎาทิพ จูตระกูล” เป็นแม่ทัพฝีมือดีในธุรกิจค้าปลีกมานานแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2554)
Siam Paragon เกมนี้เพิ่งเริ่มต้น
และแล้วการวางแผน "คิดการใหญ่" ของผู้หญิง 2 คนจาก 2 ตระกูล ก็สำเร็จลุล่วง แต่ท่ามกลางรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจนั้น ลึกๆ ลงไป
ทั้งชฎาทิพ จูตระกูล และศุภลักษณ์ อัมพุช รู้ดีว่า "เกมนี้เพิ่งเริ่มต้น"
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2549)
Trend Setter กับสยามเซ็นเตอร์อีกครั้ง
ในที่สุดสยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าขวัญใจวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัย ยาวนานถึง 32 ปีของเมืองไทย ก็ได้ฤกษ์เปิดโฉมใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Glass Magical Box อาคารใหม่ที่มีภาพลักษณ์ล้ำยุค สุดเปรี้ยว ด้วยภาพ Graphic และแสงสีที่เปลี่ยนไปและเคลื่อนไหวได้ โดยฝีมือของบริษัทสถาปนิกดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548)
ห้างหรูนอกเมือง
นอกจากจะเป็นบิ๊กโปรเจกต์หลังจากว่างเว้นการลงทุนใหม่ๆ มาถึง 5 ปีเต็ม ยังเป็นการแตกทำเลครั้งแรกของสยามพิวรรธน์ที่เคยยึดพื้นที่สี่แยกปทุมวัน มีทั้งสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน และถือหุ้นในห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
Loft ใหม่ ต้องใหญ่กว่าเก่า
หลังจาก Habitat ยุติกิจการในไทย ทำให้พื้นที่เดิมของ Habitat บนชั้น 4 และชั้น 5 ของสยามดิสคัฟเวอรี่ที่ว่างลงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Loft ที่ต้องการขยายอาณาจักรให้ใกล้เคียงกับต้นแบบที่ญี่ปุ่น โดยมีขนาดใหญ่กว่าเดิม 3 เท่า จาก 1,200 ตร.ม. เป็น 3,000 ตร.ม. ด้วยงบลงทุนเพิ่มเติมกว่า 80 ล้านบาท และนั่นทำให้ Loft กลายเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดเล็กซึ่งนำเสนอสินค้าได้หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิมด้วย หวังลบภาพลักษณ์ร้านกิฟต์ช็อปที่มีมานานกว่า 12 ปีในไทย
(Positioning Magazine มีนาคม 2552)
ชฏาทิพ จูตระกูล “สี่แยกปทุมวันทรงพลังที่สุด”
ชฏาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ให้สัมภาษณ์ POSITIONING ในฐานะผู้ทำธุรกิจศูนย์การค้าและมีความผูกพันทั้งในฐานะลูกค้าและเพื่อนบ้านของสยามสแควร์มากว่าครึ่งชีวิตด้วยมุมมองที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
ค้าปลีกชงรัฐแวตฟรีโซน สยามฯอัด300ล.กู้ชีพผู้เช่า
“สยามพิวรรธน์” ประชุมลูกห้อง “สยามเซ็นเตอร์และสยามดิสคัฟเวอรี่ฯ” เรียบร้อย พร้อมรอนำมาตรการยื่นรัฐขอความช่วยเหลือด่วน เล็งเสนอพื้นที่ราชประสงค์และแยกปทุมวันเป็น “แวตฟรีโซน” อ้อนรัฐอัดงบตลาดปลุกธุรกิจท่องเที่ยว-ชอปปิ้ง พร้อมทุ่มงบตลาดเพิ่มอีก 25% เป็น 300 ล้านบาท โหมฮาร์ดเซล กู้ชีพผู้เช่า
(ASTVผู้จัดการรายวัน 12 พฤษภาคม 2553)
สยามพิวรรธน์เทงบ6,000ล.ปีหน้าลุ้นเซ็นเตอร์พ้อยท์ปั้นปทุมวันบูม
สยามพิวรรธน์ซุ่มปั้นย่านสี่แยกปทุมวันเป็นแหล่งชอปปิ้งสมบูรณ์แบบ ลุ้นพื้นที่เซ็นเตอร์พ้อยท์เดิม คาดกันยายนนี้รู้ผลใครมาวิน พร้อมวางบประมาณ 6,000 ล้านบาท ในการลุย 2 โครงการใหญ่ปีหน้า แผนสยายปีกรับเป็นคอนซัลต์คืบรับมาแล้ว 4 โครงการ คาดปลายปีนี้เปิดบริการได้ ยันไม่ร่วมลงทุนกับโครงการของลูกค้าแน่ เตรียมฉลองสยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ครั้งใหญ่ครบรอบ 10 ปี
(ผู้จัดการรายวัน 30 สิงหาคม 2550)
สยามฯ ชูสเปเชียลิตี้ สโตร์ เทรนด์แรงแซงดีพาร์ตเมนต์ฯ
สมรภูมิค้าปลีกในบ้านเราไม่ได้มีเพียงแค่ค่ายเซ็นทรัลและเด อะมอลล์ที่สร้างความยิ่งใหญ่ หากแต่ยังมีค่ายสยามพิวรรธน์ ทว่าที่ผ่านมา สยามพิวรรธน์ไม่ได้มีการขยายสาขามากมายนัก มีเพียงศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์, สยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามพารากอน ที่ร่วมกับค่ายเดอะมอลล์ แม้จะมีสาขาไม่มากนัก แต่ก็ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคที่เดินทางเข้ามาใช้ชีวิตกลางกรุง ล่าสุดกลุ่มสยามพิวรรธน์เตรียมเปิดตัว พาราไดซ์พาร์ค ซึ่งทางกลุ่มเอ็มบีเค ผู้ถือหุ้นในสยามพิวรรธน์ได้เข้าไปซื้อกิจการของห้างเสรีเซ็นเตอร์ จากนั้นให้กลุ่มสยามพิวรรธน์เข้ามาบริหาร โดยมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบของสเปเชียลิตี้ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ภายใต้ ชื่อใหม่คือ พาราไดซ์พาร์ค
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 มีนาคม 2553)