6 ปีที่ผ่านไป
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เป็นสองลูกหนี้ที่ดำรงบทบาทอย่างมีสีสันมาก
ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546)
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
เขาถือเป็นรัฐมนตรีคนใหม่ ของสังคมไทยอย่างแท้จริง ในประวัติศาสตร์กระทรวงการคลัง
ซึ่งถือเป็นกระทรวงสำคัญนั้น มีรัฐมนตรีมานับสิบๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนแครต
นักการเมือง และคนนอก ของพรรคการเมืองนั้น ล้วนมีภูมิหลังและบุคลิก แตกต่างจากรัฐมนตรีใหม่คนนี้
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544)
"IMF-วาระแห่งชาติ" = ความหวังของคนไทย"
5 สิงหาคม 2540 "วันกู้ชาติ" ด้วยการยอมรับเงื่อนไขของ IMF และการประกาศ
วาระแห่งชาติของรัฐบาล เพื่อเยียวยาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แต่กว่าจะถึงวันที่เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาดีดังเดิมนั้น
ทั้งผู้ที่อยู่ในวงการสถาบันการเงิน ผู้ที่ประกอบการรวมทั้งประชาชนจะต้องแบกรับผลกระทบที่เกิดจากเงื่อนไขดังกล่าวในระยะสั้น
แม้จะเป็นผลดีในระยะยาวก็ตาม
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2540)
“ทนง พิทยะ” ลดค่าเงินบาท ชื่อนี้ไม่มีพลาด
“หมดเวลาฮันนีมูน ถึงเวลามาช่วยกันทำงานได้แล้วนะ” ประโยคจากปากของ ”พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ระหว่างการสนทนาครั้งหนึ่งกับ ”ทนง พิทยะ” ขณะที่ ”ทักษิณ” กำลังเตรียมจัดตั้งรัฐบาลชุดทักษิณ 2 ต่อจากทักษิณ 1 หลังดำรงตำแหน่งมาครบวาระ 4 ปี จนเป็นที่มาทำให้ ”ทนง” กลับมาในตำแหน่งทางการเมืองอีกครั้ง
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2549)
ชง ปปช.-สตง.เชือดคดี TPI
คณะปฏิรูปการปกครองในระบบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค) ได้ประกาศชัดหลังเข้ายึดอำนาจจากระบอบทักษิณว่า “จะคืนความชอบธรรมให้กับประเทศไทย” ในทุกมิติปัญหาของสังคม โดยเห็นได้จากการประกาศให้ระบบกลไกขององค์กรอิสระในระบอบประชาธิปไตยหลายองค์กรเริ่มเดินเครื่องทำงานกันแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 27 กันยายน 2549)
ล้างระบอบ ทักษิณ-ล้างมลทิน “ทีพีไอ”
หลังจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกาศ “ยึดอำนาจ” รัฐบาลภายใต้การนำของ “ทักษิณ ชินวัตร” ได้ส่งผลกระทบให้ระบอบ “ทักษิณ” ล้มครืนเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะการเข้าไป “ล้างบาง” ความไม่ชอบมาพากลในการบริหารบ้านเมืองและปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่ถูกซุกไว้ใต้พรมตลอดระยะเวลา 5 ปีเศษ ที่รัฐบาลชุดดังกล่าวบริหารประเทศ!
(ผู้จัดการรายวัน 25 กันยายน 2549)
"ทนง" ปัดดึงต่างชาติเพิ่มทุน BT ไฟเขียวแบงก์ชาติกำกับธนาคาร
“ทนง พิทยะ” ปัดแบงก์ชาติเป็นผู้ดูแลกรณีไทยธนาคารดึง TPG Newbridge ร่วมทุน ระบุธปท.รู้ดีที่สุดว่าอะไรควรทำ คลังมีหน้าที่อนุมัติตามที่แบงก์ชาติเสนอมาเท่านั้น ขณะที่การลาออกของเอ็มดีแบงก์นครหลวงไทยไม่ขอยุ่งด้วยเพราะกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ใช่คลัง
(ผู้จัดการรายวัน 31 สิงหาคม 2549)
คลังหว่านเสน่ห์ดึงทุนข้ามชาติ เตรียมลดภาษีเงินได้นิติบุคคล
เสน่ห์เอเชียหอมหวนทั่วโลก ดึงดูดนักลงทุนข้ามทวีปขนขุมทรัพย์ เข้าลงทุน สร้างอุณหภูมิสนามรบในเอเชียให้ร้อนระอุยิ่งขึ้น เพราะเกือบทุกประเทศในเอเชียต่างหวังขุมทรัพย์กองสมบัติดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพประเทศ ด้วยการใช้มาตรการภาษีเป็นเครื่องมือบริหารเสน่ห์สร้างความเย้ายวนชวนต่างชาติใส่เงินลงทุน แถมบางประเทศเพิ่มโปรโมชั่นประเคนเงินถึงมือหวังรับวิทยาการสมัยใหม่และเพิ่มขีดความสามารถทางทรัพยากรมนุษย์ ด้านไทยตื่นตัวไม่น้อย ตอบรับกระแสดังกล่าวด้วยการเตรียมศึกษาแนวทางที่ทำให้ประเทศเป็นตัวเลือกน่าสนใจในระดับต้น ๆ ของเอเชีย ภายใต้กรอบประเทศไทยได้รับผลประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กันยายน 2549)
กำแพง“การเมือง”ทะลายแต่เหลือซากให้กังวลฉุดเศรษฐกิจต่อเนื่องนักลงทุนเชื่อมั่นไม่เต็มร้อย
ตั้งแต่เกิดปัญหาการเมืองขึ้นมา เศรษฐกิจในประเทศเป็นอันต้องหยุดชะงักและชะลอตัวลงทันที เพราะนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยปัญหาดังกล่าวไม่มีความแน่ชัดว่าจะเดินไปในทิศใด หากแต่วันนี้ปัญหาการเมืองได้คลี่คลายลง ความแน่ชัดเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว การเมืองยังมีปัญหาคาราคาซัง ละยังคงไว้ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อเศรษฐกิจเช่นเดิม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)
ไฟ "การเมือง" เรื้อรังเติมเชื้อความกังวล ฉุดเศรษฐกิจเหือดแห้ง นักลงทุนเชื่อมั่นไม่เต็มร้อย
ตั้งแต่เกิดปัญหาการเมืองขึ้นมา เศรษฐกิจในประเทศเป็นอันต้องหยุดชะงักและชะลอตัวลงทันที เพราะนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยปัญหาดังกล่าวไม่มีความแน่ชัดว่าจะเดินไปในทิศใด หากแต่วันนี้ปัญหาการเมืองได้คลี่คลายลง ความแน่ชัดเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้ว การเมืองยังมีปัญหาคาราคาซัง ละยังคงไว้ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อเศรษฐกิจเช่นเดิม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)