คู่แข่งของเงินสด
เป้าหมายที่จะก้าวขึ้นเป็นตัวเลือกแรกในการชำระเงินแทนที่เงินสด ทำให้ Visa วางกลยุทธ์รุกในผลิตภัณฑ์บัตรชำระเงินเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากตลาดบัตรเครดิตที่เริ่มอิ่มตัว
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549)
Visa Another Big Player
ในธุรกิจบัตรชำระเงินทดแทนเงินสด Visa เป็น International Brand อีกรายที่เข้ามาเจาะตลาดประเทศไทย ในเวลาไล่เลี่ยกับ American Express และปีนี้เป็นปีที่ Visa ประกาศตัวบุกหนัก โดยนำเสนอความหลากหลายของบัตร ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้
ในทุก Segment
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2547)
บัตรใบที่ 3 ในกระเป๋า
เป้าหมายของ Visa ในประเทศไทย มิใช่เพียงแค่การขยายฐานลูกค้าผู้ถือบัตร
แต่แท้จริงแล้วคือความพยายามในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยการใช้เงินสดให้น้อยที่สุด
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2546)
บัตรเดียวก็เกินพอ
บัตรใบเดียวในกระเป๋า เป็นทั้งบัตรใช้รูดซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า หรือซื้อของที่ร้านเซเว่นฯหน้าปากซอย เป็นบัตรที่เงินเดือนเติมเข้ามาให้ทุกเดือน เป็นบัตรใช้ไปกดตู้เอทีเอ็มเบิกเงินสดมาใช้จ่าย เป็นบัตรจ่ายค่าน้ำค่าไฟ เป็นบัตรใช้ขึ้นรถไฟฟ้า ทั้งลอยฟ้า และมุดดินก็ยังได้ หรือแม้กระทั่งเป็นบัตรใช้ซื้อกาแฟในร้านโปรดได้
(Positioning Magazine มีนาคม 2549)
วีซ่าติด “ชิป”
เป็นเพราะบัตรเครดิตแบบติดชิป หรือสมาร์ทการ์ดในไทยยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ทำให้ “วีซ่า” ต้องออกมาเร่งมือผลักดันอย่างเต็มที่ งานนี้ มร.ปีเตอร์ แมนเนอร์ส หัวหน้าฝ่ายชิป ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ของ วีซ่า เอเชีย แปซิฟิก บินตรงมาที่ประเทศไทย
(Positioning Magazine กันยายน 2548)
'วีซ่า'รับปัจจัยเสี่ยงกระทบธุรกิจเล็งปรับเป้า-เร่งสร้างความมั่นใจ
วีซ่า เผยเตรียมทบทวนตัวเลขการเติบโตธุรกิจปี 50 ใหม่หลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงมากมาย พร้อมรุกปรับกลยุทธ์สร้างแบรนด์เพิ่มสีสีน-ระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ หวังสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าผู้ประกอบการเชื่อมั่นในการใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้น เล็งไตรมาส4 ออกผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตคอนแทคเลส เพิ่มความรวดเร็วในการชำระเงินคาดสิ้นปีมียอดบัตร 30,000-40,000 บัตร ด้านสภาพัฒน์ยังคงเป้าการเติบโตของจีดีพีที่ 4-5%
(ผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2550)
แบงก์พาณิชย์รุกตลาดสินเชื่อบุคคลสแตนดาร์ดฯชิงออก"สมาร์ทแคช"
ธนาคารพาณิชย์ เร่งขยายฐานลูกค้าสินเชื่อบุคคล "สแตนดาร์ดฯ" เปิดตัว
"สมาร์ทแคช" สินเชื่อทู-อิน-วัน ที่ขอสินเชื่อครั้งเดียวกันทั้งเงินสดและวงเงินโอดี
วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท ขณะที่แบงก์ กรุงเทพ เล็งเจาะลูกค้านิสิต นักศึกษา ด้วยการจับมือกับอีจีวี
ออกบัตร "บีเฟิสต์ อีจีวี"
(ผู้จัดการรายวัน 11 มิถุนายน 2546)
วีซ่ายอดโตลดเหลือ20% หลังธปท.คุมเข้ม
นายสมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศไทยและอินโดจีน
เปิดเผยว่า จากมาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เพิ่มคุณสมบัติของผู้ที่ทำบัตรเครดิตต้องมีรายได้เดือนละ
15,000 บาทขึ้นไปนั้น วีซ่า คาดว่าจะทำให้ยอดอัตราการขยายตัวของบัตรเครดิตในปี
2546 ลดลง
(ผู้จัดการรายวัน 17 มกราคม 2546)
7ปีที่ล้มเหลวของ"บัตรเดบิต""แบงก์"ลืมโปรโมท-ผู้คนยังไม่คุ้นเคย
แทบไม่เชื่อสายตา ถ้าจะบอกว่าข้อมูลการใช้จ่ายผ่าน "บัตรเดบิต" ที่หักยอดจากบัญชีเงินฝากตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จะยังคงเส้นคงวา อยู่ในอาการน่าเป็นห่วงเช่นเดิม ในขณะที่แบงก์ต่างๆพยายามยัดเยียดให้เจ้าของบัญชีเงินฝากถือบัตรนี้ จนปริมาณบัตรวิ่งแซงหน้าบัตรเครดิตไปหลายก้าว... "วีซ่า" ยอมรับ "โจทย์หลัก" คือคนไม่คุ้นเคย แบงก์ส่วนใหญ่อ่อนการโปรโมท กิจกรรมการตลาดขาดๆหายๆ ขณะเดียวกันก็พุ่งความสนใจไปที่บัตรเครดิตจนลืมเลือน ทำให้ 7 ปีที่ปล่อยออกสู่ตลาด มียอดใช้จ่ายแค่ 5% แต่ในขณะที่ "บัตรเครดิต" ถูกล้อมรั้วแน่นหนาจากทางการ "บัตรเดบิต"ก็กำลังกลายมาเป็น"ตัวเลือก" ที่แบงก์ทุกแห่งมองข้ามไปไม่ได้...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 กรกฎาคม 2549)
"เงินอิเลคทรอนิกส์"ไม่มีวันจนมุม วีซ่าเจาะช่องรัฐคลุมไม่ถึงชดเชยเครดิตการ์ดนิ่ง
ธนาคารพาณิชย์กว่า 21 แห่ง ซึ่งเป็นสมาชิกบัตรชำระเงินของ "วีซ่า"อาจเป็นคู่แข่งขันกันในสนามรบ โดยเฉพาะการวิ่งไล่ล่าลูกค้าบัตรเครดิต ที่ทางการจำกัดบริเวณไม่ให้ขยายใหญ่ไปกว่านี้ เพื่อชะลอหนี้ภาคครัวเรือนไม่ให้ขยายตัวจนเข้าขั้นรุนแรง แต่ในฐานะแบรนด์ชำระเงินอิเลคทรอนิคส์คู่อริที่แท้จริงของวีซ่ากลับหมายถึง "เงินสด"การแช่แข็งธุรกิจบัตรเครดิต จึงหมายถึง การปิดโอกาสการเติบโตอย่างรวดเร็วของ "วีซ่า" ดังนั้นการบุกเบิกช่องทางใหม่ๆ ในกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็น บัตรพรีเพด บัตรองค์กร บัตรเดบิตหรือชนชั้นระดับสูงขึ้นไปอีก ซึ่งเกณฑ์ภาครัฐคลุมไม่ทั่วถึง จึงบอกได้ถึง โอกาสที่ "เงินพลาสติก"จะถูกต้อนเข้ามุมอับนั้น แทบจะใช้ไม่ได้กับ "วีซ่า" แบรนด์ระดับโลกแม้แต่น้อย...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 มีนาคม 2549)