ณรงค์ VS โสภณ บริหารอย่างลงตัว
ณรงค์ อิงค์ธเนศ พบโสภณ บุญยรัตพันธุ์ โดยบังเอิญในแวดวงธุรกิจ เขาทั้งสองมีประสบการณ์ที่แตกต่าง ณรงค์เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานกว่า 20 ปี ส่วนโสภณถนัดงานการเงินมาตลอดช่วงชีวิตการทำงานของเขา เมื่อทั้งสองมาร่วมงานกัน ก็เหมือนมาเจอกัน ถูกที่ ถูกเวลา
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
เคล็ดลับเปิดทางกองทุนร่วมทุนในเอสเอ็มอี
สัญญาณหลักที่ธุรกิจเอสเอ็มอีพึงระวังหากต้องการให้กองทุนร่วมทุน หรือเวนเจอร์ แคปปิตอล สนใจร่วมทุนคือ ไม่มี 2 บัญชีในบริษัทเดียวกัน นโยบายต้องไม่เปลี่ยนไปมา คู่แข่งไม่มาก และผู้บริหารไม่ถือหุ้นหลากหลาย หากผิดเงื่อนไข โอกาสเลือกลงทุนในเอสเอ็มอี แทบเหลือศูนย์เปอร์เซ็นต์
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
บีทูบี แบบแวลลูซิสเตมส์
เดอะแวลลูซิสเตมส์ เป็นอีกธุรกิจอีกรายที่มองเห็นความสำเร็จของการนำระบบบิสซิเนส ทู
บิสซิเนสมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคต
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2542)
Good Management กลยุทธ์สิงคโปร์ยึดธุรกิจไอที
แม้จะไม่หวือหวาเท่ากับธุรกิจธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ หรือสื่อสารโทรคมนาคม แต่สำหรับธุรกิจไอที ก็ไม่พลาดที่จะมีกลุ่มทุนจากสิงคโปร์เข้าร่วมวงไพบูลย์
(Positioning Magazine เมษายน 2549)
ณรงค์ อิงค์ธเนศ สาวกหูขาว
ได้ชื่อว่า เป็นบริษัทค้าส่งเก่าแก่ของไทย แต่กลับมาขายสินค้าที่ทันสมัยที่สุด ความนิยมในหมู่เด็กแนว อย่าง iPod งานนี้แม้ว่าจะสร้างความหนักใจให้กับผู้บริหารรุ่นใหญ่อย่าง “ณรงค์ อิงค์ธเนศ”แห่ง เดอะแวลลูซิสเต็มส์ แต่ก็เป็นแค่ในช่วงแรกเท่านั้น
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2548)
IT Experience สร้างแบรนด์ผ่านคนดัง!!
เกือบทุกฝีก้าวของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม หรือกลุ่มคนชั้นสูงที่ถูกเรียกขานให้ฐานะ “ไฮโซ!!” มักจะได้รับความสนใจ และถูกจับตามองจากคนหมู่มากตลอดเวลา ส่งผลให้ “ผู้ค้าไอที” หลายค่ายเห็นโอกาสที่จะสร้างแบรนด์สินค้าผ่านบุคคลเหล่านี้ ด้วยการนำสินค้าไปให้กลุ่มไฮโซทดลองใช้ เพื่อเป็นผู้สร้าง Trend Setter ให้เกิดกระแสความนิยมในสังคมมากขึ้น
(Positioning Magazine มิถุนายน 2548)