ไอทีวี : จุดเริ่มต้น-เปลี่ยนแปลง ที่มักมาหลังวิกฤต
เจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวี มีที่มาจากวิกฤติการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ในปี 2535 ซึ่งผู้คนในสังคมถูกปิดหูปิดตาจากสื่อของรัฐ ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ ทำให้ไม่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ที่แท้จริงบนถนนราชดำเนินที่รุนแรงถึงขั้นมีผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2549)
เจ้าหนี้ทำ Hair cut 45% ไทยออยล์ต้องจ่ายไปด้วยราคาสูง
แม้จะโชคร้ายเจออุบัติเหตุถังน้ำมันระเบิด มีค่าเสียหายสูงมากสำหรับไทยออยล์ แต่ก็ยังได้รับความเห็นใจจากเจ้าหนี้อยู่บ้าง การเจรจาซื้อลดหนี้จึงสามารถผ่านไปได้อย่างเรียบร้อย ทำให้ไทยออยล์ลดมูลหนี้ลงได้มาก
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
จุลจิตต์ บุณยเกตุ "ภาระกิจผมจบแล้ว"
"ภารกิจผมจบแล้ว"หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม
2542 ได้อนุมัติแผนการปรับโครงสร้างหนี้บริษัทไทยออยล์แล้วนั้น จุลจิตต์
บุณยเกตุ ก็ถือว่าภาระหน้าที่หลักของเขาในการแก้ไขปัญหาหนี้ของไทยออยล์ และปรับโครงสร้างการบริหารงานเพื่อ
กอบกู้กิจการโรงกลั่นน้ำมันที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ยุติลงแล้ว
อย่างไรก็ดี ในส่วนของไทยออยล์นั้นยังมีเรื่องใหญ่ๆ รออยู่เบื้องหน้าคือการควบรวมกิจการเข้ากับหน่วยการตลาดของ
ปตท. ซึ่งจุลจิตต์ก็ค่อยๆ ปรับองค์กรเพื่อรองรับแผนการควบรวมฯ ด้วยแล้ว ในเบื้องต้นอาจจะมีการทำงานร่วมกันในแบบ
alliance ก่อน เพื่อรอให้ผ่านแผนการปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะรู้ผลได้ภายใน
15 ตุลาคม อันเป็นวันที่เจ้าหนี้ต้องลงมติ ว่าจะรับหรือไม่รับแผนฯ ฉบับนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542)