กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
Why? เป็นหนังสือที่อ่านตั้งแต่เด็ก คุณแม่แนะนำให้อ่าน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความฝันในวัยเยาว์และ Innovation ให้มุมมองและแนวคิดที่แตกต่างกัน ช่วยให้คนคิดนอกกรอบและสามารถนำหลักการ แนวคิด และทฤษฎีไปพัฒนาคนภายในองค์กรได้ อย่างที่โตชิบาทำ เช่นกิจกรรม Morning Talk ทุกเช้าวันจันทร์ ให้พนักงานทุกแผนกได้เสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นทั้งนิทานสำหรับเด็กแต่มีหลักทฤษฎีที่ไม่เคยตกยุคสอนผู้ใหญ่ได้เช่นกัน
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
จุดร่วมเดียวกัน
“บลายธ์” ตุ๊กตาที่ฮิตติดใจนักสะสม ได้กลายเป็นกรณีศึกษาของการแปลงวิกฤตให้เป็นโอกาสที่โดนใจ “กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร” ประธานกรรมการ บริษัทโตชิบา ประเทศไทย เข้าอย่างจัง
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
นักก่ออิฐแห่งโตชิบา : กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
"ทุกๆ คนต่างคืออิฐคนละก้อนที่มีขนาดเท่าๆ กัน" เป็นการเปรียบเทียบที่ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ประเทศไทย บอกเล่ากับสื่อและผู้คนในสังคมอยู่เสมอ และเธอก็ทำงานที่อาคารสีแดงอิฐริมถนนวิภาวดี-รังสิต ที่ทำการบริษัท โตชิบา ประเทศไทย นี้มายาวนานกว่า 20 ปีแล้ว โดยยึดมั่นสไตล์การทำงานที่เปิดกว้างรับฟังทุกคนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
คิดนอกกรอบ 'โตชิบา' สไตล์ ยิ่งพลาดยิ่งนำไปสู่การเรียนรู้
"สิ่งที่ทำให้โตชิบายืนหยัดอยู่ได้คือ เราเน้นเรื่องการสร้างคน การเห็นคุณค่าของคน เราจะพูดอยู่ตลอดเวลาเรื่องคอนเซ็ปต์อิฐสีแดงซึ่งหมายถึงพนักงานของเรา ไม่ว่าตำแหน่งไหนก็ตาม ทุกคนมีคุณค่าเท่ากับอิฐแดงแต่ละก้อน ไม่ได้มีตำแหน่งไหน หรือใครที่มีคุณค่าน้อยกว่าหรือมากกว่า แต่ว่าจะแตกต่างกันที่ตำแหน่งหน้าที่ ในฐานะของผู้บริหารเรามีหน้าที่ที่ต้องวางแผนวางคนว่า อิฐแต่ละก้อนควรอยู่ตรงไหน? ควรทำอะไร?
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2548)