สงครามเบอร์เกอร์ไก่เคเอฟซี ท้าชน บิ๊กแมค
ภาพผู้พันแซนเดอร์ ใช้ไม้เท้าเขี่ยเบอร์เกอร์ (ซึ่งเข้าใจว่าเป็นแมคโดนัลด์) ทิ้งไปอย่างไม่ไยดี ก่อนที่หนุ่มน้อยจะโผเข้ากอดเขาอย่างซาบซึ้ง และตกลงใจเป็นสาวกของเคเอฟซี เบอร์เกอร์ ในหนังโฆษณาชุดใหม่ของเคเอฟซี อดนึกถึงโฆษณาของศึกน้ำดำ ระหว่างโค้กและเป๊ปซี่ ที่ออกมาถล่มกันกับแบบจะจะ
(Positioning Magazine มีนาคม 2552)
ต้องขายแบบนี้สิถึงอยู่ได้
ศรันย์ สมุทรโคจร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยัมเรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของแบรนด์ KFC ยอมรับว่านี่เป็นครั้งแรกของ KFC ที่จะมีสินค้าอื่นขายในร้านนอกเหนือไปจากเมนู ไก่ เบอร์เกอร์ และของกินอีกหลากหลายอย่างในร้าน หลังจากที่ตัดสินใจจับมือกับค่ายดีแทคเพื่อวางขายซิมการ์ด “ซิมแฮปปี้ปล่อยไก่ By KFC” อย่างเป็นทางการ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
เดอะ พิซซ่า คอมปะนี vs พิซซ่า ฮัท ชัยชนะเหนือเบอร์ 1 โลก
จุดเปลี่ยนของตลาดพิซซ่าเมืองไทยเกิดขึ้นในปี 2544 เนื่องจากสงครามแตกหักทางธุรกิจ “เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด” ระหว่างวิลเลียม อี.ไฮเนคกี้ และไทรคอน โกลบอล เรสเทอรองตส์ (ชื่อในขณะนั้นของยัม แบรนด์ อิงค์) เพราะไทรคอนฯ ต้องการดึง “พิซซ่า ฮัท” กลับมาทำเอง จึงเกิดการฟ้องร้อง สุดท้ายทำให้ไฮเนคกี้จำใจสะบั้นสัมพันธ์ หันมาสร้างแบรนด์ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” ของตัวเอง และสร้างปรากฏการณ์ฮือฮาปลดป้ายเก่า ขึ้นป้ายใหม่ 80 สาขาเพียงชั่วข้ามคืน เพราะสาขาที่มีอยู่ถือเป็นทรัพย์สินของเดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
ยัมฯสวนวิกฤตผุด120สาขาปี52ทุ่มงบ1.7พันล.สูงสุดในรอบ30ปี
ยัมฯ เปิดเกมรุกกระหน่ำตลาดฟาสต์ฟู้ดไทย สวนกระแสวิกฤติเศรษฐกิจ ปีหน้าทุ่มงบ 1,700 ล้านบาทสูงเป็นประวัติการณ์รอบ 30 ปี ปูพรม เคเอฟซี 100 สาขา ลงรากลึกระดับอำเภอ พิซซ่าฮัท 20 สาขา รวมกว่า 120 สาขา
(ผู้จัดการรายวัน 29 ตุลาคม 2551)
ล็อกซเลย์แตกไลน์ธุรกิจร้านอาหารเท100ล.ลุย-ดึงลูกหม้อยัมส์บริหาร
ล็อกซเล่ย์ลุยคอนซูเมอร์แบรนด์ของตัวเอง ดึง “ศรัณย์ สมุทรโคจร” ร่วมคุมบังเหียน ประเดิมด้วยธุรกิจร้านอาหาร จับมือกับโดทงโบริ ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น ทุ่ม 100 ล้านบาทในปีแรก ผุด 2 ร้านอาหาร ในรูปแบบมัลติคอนเซ็ปท์ใน 2 โครงการ เชื่อธุรกิจร้านอาหารมีโอการสูงที่ผู้เล่นหน้าใหม่จะเข้ามาตีตลาดได้
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2553)