PR บริหารแห่งบอร์ด Finansa
หลัง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เพิ่งจะนั่งแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ถึงการเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัทและที่ปรึกษาประธานกรรมการบริหาร กลุ่มวังขนาย มาได้เพียงแค่ 4 เดือนเศษ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ก็เป็นอีกวาระหนึ่งที่ต้องแถลงข่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้งในตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน)
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548)
ตลท.แนะผู้ถือหุ้นให้จี้ฟินันซ่า ระบุดีลเพิ่มทุนปิคนิคส่อแววล่ม
ตลาดหลักทรัพย์แจงไม่ขอข้อมูลจากฟินันซ่าเพิ่มเรื่องขายหุ้นกู้บล.บีฟิท 298 ล้านบาทขึ้นอยู่กับบริษัทจะชี้แจงหรือไม่ แต่หวังให้ผู้ถือหุ้นจี้แทน เหตุเป็นเรื่องนโยบายการลงทุน "สุทธิชัย"เผย มีความเป็นไปได้ที่การเพิ่มทุนปิคนิค 1.4 พันล้านบาทส่อแววล่ม เหตุราคาใช้สิทธิแพงกว่าราคาซื้อขายในกระดาน หากล้มจริงขึ้นอยู่เจ้าหนี้ยอมแปลงหนี้เป็นทุนหรือไม่ พบนักลงทุนรายใหญ่เข้าไล่ราคาวอร์แรนต์ฟินันซ่า ระบุเป็นกลุ่มเดียวกับที่เข้าไล่ราคาวอร์แรนต์บง.สินอุตสาหกรรม ทำให้ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน
(ผู้จัดการรายวัน 10 มีนาคม 2549)
ฟินันซ่าบุกต่างประเทศ ลงทุน 50% ผ่านบริษัทลูกในสิงคโปร์
ฟินันซ่าประกาศบุกต่างประเทศ ตั้งเป้าภายใน 3 ปี เพิ่มสัดส่วนการลงทุนเป็น 50% จากช่วงก่อนหน้าลงทุนเพียง 15% เผยใช้บริษัทฟินันซ่าที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ ตั้งกองทุนร่วมลงทุนประเทศเกิดใหม่ เผยปัจจุบันบริหารพอร์ตกองทุนต่างประเทศ 4 กองทุน เม็ดเงินบริหารเฉียด 1 หมื่นล้านบาท พร้อมดึง "ดร.โกร่ง"นั่งประธานกรรมการ หวังกู้ภาพลักษณ์
(ผู้จัดการรายวัน 17 พฤศจิกายน 2548)
ดร.โกร่ง นั่งประธานกรรมการ “ฟินันซ่า”
ดร.วีรพงษ์ รามางมูร ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวในฐานะ ประธานกรรมการ บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) คนใหม่ พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ถึง “นวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่” ภายใต้การบริหารงานของ “กลุ่มคนหนุ่มไฟแรง” โดยมี นายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน)
(คิธ แอนด์ คิน คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ คอนซัลแตนท์ 21 พฤศจิกายน 2548)
กองทุนสยาม อินเวสท์เมนท์ ฟันด์ สาม ประสบความสำเร็จในการระดมทุนงวดแรก
ก่อตั้งกองทุนสยาม อินเวสท์เมนท์ ฟันด์ สาม แถลงความสำเร็จที่กองทุนสามารถระดมทุนในงวดแรกด้วยมูลค่า 24 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกำหนดขนาดกองทุนไว้ที่ 75 - 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เน้นการลงทุนไปที่การขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงในประเทศไทย อีกทั้งได้ตั้งเป้าผลตอบแทนจากการลงทุนไว้ที่ร้อยละ 25 ต่อปี
(เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย) 9 พฤศจิกายน 2548)