เสืออินเตอร์ลุยสิงห์เจ้าถิ่น
Tiger ถือเป็น Flagship brand ของเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด (สิงคโปร์) หรือ APB ผู้ถือหุ้นในไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ (TAPB) 35% จากความสำเร็จในระดับโลกของ Tiger ที่ไปพาดลายไว้กว่า 60 ประเทศ ณ บัดนี้ถึงเวลาย่ำถิ่นสิงห์ในไทยแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547)
ถึงเวลาที่ต้องขยาย
1 ปี กับเม็ดเงิน 2,900 ล้านบาท คือ การลงทุนขยายโรงงานผลิตเบียร์ ที่
จ.นนทบุรี ของบริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด (Thai Asia Pacific
Brewry : TAPB) นับเป็นการขยายครั้งที่สองในรอบสามปีของ TAPB โดยเพิ่มกำลังการผลิตจาก
100 ล้านลิตร เป็น 200 ล้านลิตร
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2547)
เล็กแต่เก็บไว้ได้นานกว่า
สำหรับคอเบียร์ Heineken แล้ว หน้าหนาวนี้คงได้มีโอกาสเห็นความแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นกับ
Heineken เมื่อสามารถสั่งเบียร์สด (Draught Beer) ได้ในร้านอาหารระดับหรูแต่มีพื้นที่ไม่กว้างขวางนัก
ซึ่งแต่เดิมในร้านประเภทนี้ไม่เคยมีเบียร์สดขายมาก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2547)
เปิดตำรา Football Marketing กับ Heineken Star Final
เมื่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดนคุมเข้มจากกฎหมาย การสื่อสารใดๆ ดูจะยากลำบากเข้าไปทุกที “ไฮเนเก้น” ใช้อีเวนต์ระดับโลก “Heineken Star Final” เป็นทางออก ด้วยการอาศัยแบรนด์ที่แข็งแกร่งผนวกกับรายการกีฬาที่ยิ่งใหญ่อย่างยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก 2009 ดึงคอบอลจากทั่วโลกกว่า 300 คน จาก 40 ประเทศ บินลัดฟ้ามาร่วมปาร์ตี้ที่เมืองไทย ร่วมกับผู้โชคดีคนไทยอีก 8 คน
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2552)
ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของ “เชียร์” ?
เบียร์เชียร์เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อตุลาคม 2548 และใช้ IMC แบบครบวงจร ด้วยเม็ดเงินกว่า 400 ล้านบาท แต่นั่นก็มิได้นำพาให้เบียร์เชียร์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ว่าภายใน 3 ปี จะมีส่วนแบ่งการตลาด 5% ในตลาดเบียร์อีโคโนมี จนต้องรีลอนช์ในระยะเวลาอันสั้น เพราะปัญหาใหญ่เนื่องจาก “รสชาติ” ไม่ถูกปากกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
“ไฮเนเก้น”ปรับทิศเบียร์เชียร์ ปั้นเอ็กซ์ตร้าชูไซซ์ซิ่งลุยภูธร
ไฮเนเก้น แก้เกมบุกตลาดเบียร์อีโคโนมี ปั้น “เชียร์ เอ็กซ์ตร้า” เบียร์ดีกรีหนักทะลวงนักดื่มคอแข็งชนเบียร์ช้าง อาชา พร้อมหวังสร้างภาพลักษณ์ใหม่เจาะตลาดภูธร ชูกลยุทธ์ไซซ์ซิ่งส่งกระป๋องขนาด 500 มล. ราคา 38 บาท ล่าสุดลุยกระจายสินค้ากรุงเทพฯ หลังเดินแผนซุ่มปูพรมจำหน่ายต่างจังหวัดนานร่วม 5 เดือน ส่วนเบียร์เชียร์หวังตอดแชร์ลีโอ
(ASTVผู้จัดการรายวัน 4 สิงหาคม 2552)
เบียร์ปาร์คยอมควักเนื้อชูอิมเมจยอดขายไม่โต
“ไฮเนเก้น” กัดฟันทุ่ม 40 ล้านบาท สูงสุดรอบ 10 ปี จัดเบียร์ปาร์คภายใต้แนวคิด “The Phenomenon” ดึงศิลปิน 2 แนว-ลานเบียร์คล้ายผับล่อลูกค้า หวังสร้างภาพลักษณ์เบียร์ระดับพรีเมี่ยมส่วนยอดขายปีนี้คาดว่าไม่โต ส่วน "บุญรอด" ขนขบวนสินค้าในเครือ สิงห์-ลีโอ จัดลานเบียร์พื้นที่เดียวกันครั้งแรก หวังนำสินค้าในพอร์ตกินทุกกลุ่มเป้าหมาย
(ผู้จัดการรายวัน 18 พฤศจิกายน 2548)
"เบียร์-เหล้าขาว"เฮโลรายได้พุ่ง
"ไทยเบฟเวอเรจฯ" ยิ้มรับอานิสงส์ยอดขายเหล้าขาว-เบียร์ พุ่งช่วงหนึ่งเดือนเศษ คอเหล้าสีต่างจังหวัดหันซดเหล้าขาวแทน ส่วน แสงโสมหลังปรับราคาขึ้นยอดขายทรงตัว ขณะที่มังกรทองยอดขายกระเตื้องขึ้นมาก ด้าน "ไทยเอเชียฯ-อาซาฮี" ชี้เบียร์ ดูดฐานคอน้ำเมาเมือง กรุงจากซดเหล้า อีโคโนมี-เซกันดารีตบเท้าซดเบียร์แทน
(ผู้จัดการรายวัน 14 พฤศจิกายน 2548)
ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ วางกลยุทธ์มัลติแบรนด์ เปิดศึกสงครามฟองเบียร์ 3 เซกเมนต์
ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด (TAPB) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น เบียร์ไทเกอร์ ในเซกเมนต์พรีเมี่ยม และสแตนดาร์ด เปิดศึกใหม่ขยายฐานเบียร์สู่เซกเมนต์อีโคโนมี่ ปั้นเบียร์เชียร์ น้องใหม่แบบถอดด้าม เข้ามาทำตลาดเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา หลังจากใช้เวลาเกือบ 10 ปี ในการปั้นพี่ใหญ่ไฮนาเก้นให้ติดตลาด ล่าสุดเดินหน้ากลยุทธ์เน้นการสร้างภาพลักษณ์สินค้า และการรับรู้แบรนด์ เพื่อสร้างความท้าทาย จูงใจให้นักดื่มที่มี Lifestyle เป็นกลุ่มอีโคโนมี่ คนเมือง Switching Brand และเกิดการทดลองดื่ม พร้อมเป้าหมายผลักดันให้บริษัทก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้ผลิตเบียร์ที่มีพอร์ตโฟลิโอทำตลาดครบทุกเซกเมนต์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 ตุลาคม 2548)