อุตสาหกรรมรถยนต์ไทย พัฒนาไปถึงไหนแล้ว?
หลังจากที่มีการประกาศสร้างฐานการผลิตของบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ค่ายต่าง
ๆ ในประเทศไทย รวมทั้งการขยับขยายของบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อต่าง
ๆ ทำให้เกิดความคึกคักขึ้นมากในตลาดนี้ แม้ว่ายอดขายรถยนต์ในปีนี้จะลดต่ำลงด้วยเหตุผลหลักด้านภาวะเศรษฐกิจ
แต่ในระยะยาวนั้น คาดว่าประเทศไทยจะมีอัตราการผลิตรถยนต์สารพัดยี่ห้อเพื่อการส่งออกในอัตราสูงติดอันดับโลก
เรื่องโดย กองบรรณานิการ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2540)
โค้งสุดท้ายศึกชิง “แชมป์” รถกระบะ
หลังจากนี้ไปจนถึงสิ้นปี คือเวลาของการช่วงชิงโอกาสของผู้ผลิตรถกระบะทุกราย เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศเปิดตัวรถกระบะรุ่นใหม่อย่างน้อย 2 รายในช่วงปลายปี ตลาดรถกระบะของบ้านเรามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมียอดขายปีละเกือบ 800,000 คัน และไม่มีผู้ผลิตรถรายไหนที่จะยอมถอยออกไป
(Positioning Magazine 10 สิงหาคม 2554)
รถไฟฟ้า กำลังจะมานะ...เธอ
ท่ามกลางกระแสของรถอีโค่คาร์ที่เน้นประหยัด ใช้พลังงานที่คุ้มค่า กับรถกระบะที่จับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ใส่เข้ามาให้ความแรง ความประหยัดกับความแรงกำลังต่อสู้กันในเวทีการจัดงานของมอเตอร์โชว์ครั้งล่าสุด
(Positioning Magazine 8 เมษายน 2554)
มิตซูบิชิ โกลบอล สมอล มีเวลา 1 ปี หาช่องแทรกตลาด
ค่ายมิตซูบิชิ นับเป็นรายที่ 3 ที่ประกาศเปิดตัวรถอีโค่คาร์อย่างจริงจังล่วงหน้า 1 ปี เช่นเดียวกับนิสสัน มาร์ช และฮอนด้า บริโอ้ เพื่อบอกให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่า รถอีโค่คาร์ของมิตซูบิชิกำลังเตรียมการและพร้อมที่จะออกมาขายแล้ว แต่ตอนนี้ให้ดูแค่รถต้นแบบไปก่อน ว่ารูปลักษณ์จะออกมาอย่างไร
(Positioning Magazine 8 เมษายน 2554)
มิตซูบิชิเฆี่ยนเสือโต50% ทุ่ม5พันล้านสู้อีโคคาร์
ค่าย “มิตซูบิชิ” สวมหัวใจเสือ ฟุ้งขอโตกว่า 50% แม้จะไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด มั่นใจรถยนต์หลายรุ่นที่ทยอยเปิดตัวในปีที่ผ่านมา บวกกับกลยุทธ์ส่งเสริมการขาย จะช่วยผลักดันยอดขายทะลุ 30,000 คันในปีนี้ แถมยิ้มรับเศรษฐกิจฟื้นตัว และเปิดเสรีรถยนต์ในอาเซียน ยอดคำสั่งซื้อจากอินโดนีเซีย,ฟิลิปปินส์ และหลายประเทศทั่วโลกเพิ่มเพียบ ส่วนโครงการ “อีโคคาร์” ที่ส่ออาการลังเลมาตลอด แม้จะขอรับส่งเสริมการลงทุนไปแล้ว ล่าสุดประกาศท่าทีชัดขอเดินหน้าลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท ภายในระเวลา 2 ปี ขึ้นไลน์ผลิตในไทย พร้อมเตรียมวางพื้นฐานให้เข็งแกร่ง รองรับการเปิดตัวสู่ตลาดในปี 2555
(ASTVผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2553)
มิตซูบิชิ เสนอลดภาษีเก๋ง
“มิตซูบิชิ” เสนอรัฐบาลปรับลดภาษีรถเก๋ง ชี้ภาษีสรรพสามิตไทยสูงกว่าต่างประเทศ ที่สำคัญประโยชน์ตกกับผู้บริโภคไม่ใช่บริษัทรถ แนะควรเริ่มจากโครงการอีโคคาร์ก่อน เหตุอัตราภาษี 17% ยังไม่จูงใจให้เกิดความต้องการพอ เผยปีนี้มั่นใจยอดขายเติบโตสวนตลาด ขณะที่ “วัลลภ” ผอ.สถาบันยานยนต์ ค้านค่ายรถที่เจรจาบีโอไอปรับลดเงื่อนไขอีโคคาร์ เหตุเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายได้พิจารณาถึงจุดดีต่างๆ และตกลงรับกันไว้แต่ต้นแล้ว
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 21 กรกฎาคม 2552)
มิตซูฯเร่งปรับกลยุทธ์หวังขยับขึ้นเบอร์3
ค่าย "มิตซูบิชิ" ไม่ยอมตกขบวน "อีโคคาร์" ประกาศยื่นลงทุนภายในเดือนพฤศจิกายนปีนี้แน่นอน แต่มีติงเงื่อนไขเงินลงทุน และจำนวนการผลิต อ้างปิกอัพไม่กำหนดยังเป็นฐานผลิต และส่งออกทั่วโลกได้ ขณะที่สถานการณ์ตลาดในประเทศ นายใหม่ "มิจิโร่ อิมาอิ" เร่งแก้ความสัมพันธ์ลูกค้า และตัวโปรดักซ์ หวังขยับขึ้นเป็นเบอร์ 3 ตลาดรถไทย
(ผู้จัดการรายวัน 6 สิงหาคม 2550)
กระแสพรีเซนเตอร์แรง ค่ายรถชิงดาราประกบผลิตภัณฑ์
ค่ายรถยนต์ประชันโฉมพรีเซนเตอร์ เฉพาะตลาดรถยนต์นั่ง มาสด้า-มิตซูบิชิ ดึงดาราคนดังสร้างภาพลักษณ์สะท้อนบุคลิกรถยนต์ หวังเจาะถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะมาสด้าได้ทีเซกเมนต์รถยนต์นั่งซับคอมแพกต์ติดลมบนฉิว เปิดเกมฉีกตลาดซีดาน และแฮตช์แบ็ก ส่ง “ณเดชน์” ควง “เป้ อารักษ์” เป็นพรีเซนเตอร์มาสด้า ด้านมิตซูบิชิ ดึง “อนันดา” เป็นพรีเซนเตอร์คนแรกของแลนเซอร์ อีเอ็กซ์ ในเมืองไทย ช่วยสะท้อนตัวตนที่แท้จริงของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มีนาคม 2554)
มิตซูบิชิพลิกโฉม บุกอีโคคาร์-ส่งไอมีฟเสริมภาพ
มิตซูบิชิ สตาร์ทกลยุทธ์บุกตลาดยานยนต์ไทย เริ่มต้นโครงการอีโคคาร์หวังผงาดในตลาดรถยนต์นั่งขนาดซิตี้คาร์ พร้อมเดินแผนเสริมภาพลักษณ์แบรนด์และผลิตภัณฑ์ด้วยการนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเข้ามาทดสอบการใช้งาน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 ธันวาคม 2553)
เปิดศักชิงดีลเลอร์ มิตซูบิชิ-มาสด้าส่งสัญญาณบุก
มาสด้า-มิตซูบิชิ ควงแขนสยายปีกเครือข่ายโชว์รูมและศูนย์บริการ มิตซูบิชิเห็นแววเติบโตด้านยอดขาย และตัวผลิตภัณฑ์เล็งเพื่อโชว์รูมเป็น 160 แห่ง ด้านมาสด้า 2 ยอดขายถพุ่งลิ่ว ทำให้มียอดมาสด้าทั้งปีโต 18.5% ด้วยอด13,243 คัน สวนกระแสตลาด จึงเตรียมขยายเครือข่ายรองรับเป็น 130 แห่งจากที่มีอยู่ 106 แห่ง แม้จะยังห่างไกลเครือข่ายโชว์รูมของรายใหญ่ ทั้งโตโยต้า อีซูซุ และฮอนด้า แต่นับเป็นสัญญาณบอกของตลาดรถยนต์ปี 2553 ที่น่าจะกลั บมาเติบโต และแข่งขันกันรุนแรง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มกราคม 2553)
ฟิทช์เพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ค้ำประกันของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ค้ำประกันมูลค่า 5 พันล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2551 และหุ้นกู้ค้ำประกันมูลค่า 2 พันล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2552 ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด (MMTh) เป็น ‘AAA(tha)’ จาก ‘AA+(tha)’
(ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย), บจก. 4 กันยายน 2549)
มิตซูบิชิวางใจทำสัญญา 8 ปี กับทีเอ็นที
มิตซูบิชิ ทำสัญญาเป็นระยะเวลาถึง 8 ปี กับทีเอ็นที ลอจีสติกส์ เพื่อรองรับการการปฏิบัติการของบริษัทฯ ในประเทศไทย โดยทีเอ็นทีเตรียมจ้างพนักงานใหม่กว่า 50 คน เพื่อดูแลกระบวนการประกอบล้อรถสำหรับพาหนะทั้งหมดของบริษัทบนพื้นที่กว่า 2, 500 ตารางเมตร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณอีสเทิร์น ซีบอร์ด
(สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ 5 เมษายน 2549)