เงินที่ซื้อไม่ได้
ภาพเหล่าสล่าล้านนานุ่งโจงกระเบนสักลายทั่วตัวอันเป็นเอกลักษณ์ของชายที่เชื่อในความคงกระพันกำลังสาละวนในกองพระคลัง ตีทุบทั่ง ขึ้นรูปเงินเจียง ตลอดจนแบกหีบเงินที่ผลิตได้รอการนำออกใช้จ่ายเป็นภาพสะท้อนถึงวิถีชีวิตและเศรษฐกิจในชุมชนทางภาคเหนือ ซึ่งถูกติดตั้งไว้กลางโถงพิพิธภัณฑ์ของสำนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552)
3 เดือนแห่งความคลุมเครือ
26 ก.ค.2547 คณะกรรมการ KTB มีมติรับวิโรจน์ให้กลับมารับ ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ต่ออีก 1 สมัย ในขณะที่กระแสข่าวเรื่อง NPLs ของธนาคารที่เพิ่มขึ้น 4.6 หมื่นล้านบาทจากลูกหนี้ 14 ราย กำลังกดดันราคาหุ้น KTB ในตลาด
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547)
สัญญาณร้าย ส่งออกวูบ
“ค่าบาทแข็ง” กระหน่ำซัดภาคการส่งออกต้องตกที่นั่งลำบาก เมื่อเงินดอลลาร์ที่ได้มาเมื่อแลกกลับมาเป็นบาทแล้วลดลง แม้ปริมาณส่งออกจะเท่าเดิม ชะตากรรมของสินค้าส่งออกไทยบางประเภทถูกซ้ำเติม เมื่อเจอคู่แข่งแย่งชิงตลาดด้วยต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่าไทยถึง 3 เท่า อะไรคือจุดอ่อน และจุดแข็งของส่งออกไทยที่ต้องแก้ไข
(Positioning Magazine กันยายน 2550)
ค่าเงินบาท จุดตายเศรษฐกิจไทย
สถิติมีไว้ให้ทำลาย แต่บางสถิติสำหรับบางอย่างหากถูกทำลายบ่อย ๆ อาจเกิดหายนะขึ้นมาได้ เหมือนอย่างที่เกิดกับภาวะเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็น “จุดตาย” ที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยอาจต้องล่มสลายลง
(Positioning Magazine เมษายน 2550)
“ธาริษา วัฒนเกส”หญิงเดี่ยวมือหนึ่งแบงค์ชาติ
ย้อนหลังไป 32 ปีที่แล้ว สาวน้อยวัยใส พกพาดีกรีปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ จากญี่ปุ่น อาจไม่อยู่ในสายตาของคนในแบงก์ชาติเท่าไรนัก เพราะแบงก์ชาติเป็นหน่วยงานระดับประเทศ ถือเป็นแหล่งรวมของสุดยอดผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินทั้งหญิงและชาย แต่ ณ ปัจจุบันโฟกัสสายตาทุกคู่ต่างมองไปที่เธอ “ธาริษา วัฒนเกส” ที่เปลี่ยนสถานะจากสาวน้อย เจ้าหน้าที่ทั่วไปของแบงก์ชาติ กลายมาเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นเบอร์ 1 นั่งเก้าอี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจธนาคารที่มีมูลค่ารายได้ปีหนึ่งหลายแสนล้านบาท จากตลอดเวลากว่า 65 ปีที่ผ่านมา ผู้ว่าแบงก์ชาติ 20 คนเป็นชายทั้งหมด
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
'ธาริษา'ห่วงสินค้าแพง
ผู้ว่าแบงก์ชาติห่วงขึ้นเงินเดือนข้าราชการมีผลแง่จิตวิทยาให้สินค้าขึ้นราคาและอัตราค่าจ้าง แต่เชื่อกระทบไม่มาก มั่นใจปีนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังไม่หลุดกรอบ 0.5-3% พร้อมส่งสัญญาณดอกเบี้ยไทยเข้าสู่ขาขึ้น
(ASTVผู้จัดการรายวัน 25 มิถุนายน 2553)
ธปท.เซ็งการเมืองทุบศก. หวั่น2เดือนกระทบหนัก
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโดยรวมในเดือน เม.ย.แผ่วลง นอกเหนือในเดือนนี้มีวันหยุดทำการมากเป็นพิเศษแล้วจนมีผลให้ธุรกรรมต่างๆ ชะลอลง ยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองเป็นสำคัญด้วย โดยยอมรับว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้และคาดว่าผลกระทบจากปัญหาการเมืองจะมีผลต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นใน เดือน พ.ค.และมิ.ย.นี้ ซึ่งคาดว่าจะกระทบในบางภาคธุรกิจ ท้ายที่สุดเศรษฐกิจไทยยังเดินหน้าต่อไปได้อยู่
(ASTVผู้จัดการรายวัน 1 มิถุนายน 2553)
พิษการเมืองถล่มธุรกิจรายใหญ่ ธปท.คาด2.3หมื่นล.ไม่หวั่นNPL
ธปท.คาดเบื้องต้นลูกค้าแบงก์ในธุรกิจขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบประมาณ 2.3 หมื่นล้าน คิดเป็น 0.3%ของสินเชื่อทั้งระบบ ชี้หากเป็นเอ็นพีแอลทั้งก้อนมีผลต่อให้เงินกองทุนแบงก์ทั้งระบบหดแค่ 0.1% ถือว่าไม่มาก นัดถกนายแบงก์หารือร่วมกัน เพื่อประเมินความเสียหายและหาข้อมูลเพิ่มเติม
(ASTVผู้จัดการรายวัน 26 พฤษภาคม 2553)
ค่าบาทแข็งซ้ำเติมรอยช้ำภาคส่งออก"ธาริษา"ย้ำคุมเกมไม่ให้ผันผวนมาก
"ธาริษา" ย้ำจุดยืน"แบงก์ชาติ"ชัดเจน ด้วยการคุมเกมค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากจนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการภาคส่งออก ส่วนค่าเงินที่แข็งขึ้นในช่วงนี้เพราะมีปัจจัยหลายด้านหนุนตั้งแต่การเทขายดอลลาร์ทำกำไร ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกถึงตกลงจุดต่ำสุด แถมการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นตัวหนุน แต่จะเฝ้าระวังไม่ให้แข็งมากเกินคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันการเคลื่อนไหวของค่าบาทยังเกาะกลุ่มภูมิภาคไม่ทะยานไปไกล
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 พฤษภาคม 2552)
แบงก์กดดบ.ฝากติดดิน หุ้นกู้เริ่มเสี่ยง-พันธบัตรรับโชคจ่อคิวขาย
ตลาดเงินส่อเค้าติดหล่ม หลังแบงก์พร้อมใจกดดอกเบี้ยฝากตามนโยบายรัฐ ผลักผู้มีเงินฝากหาแหล่งเงินออมใหม่ แม้หุ้นกู้เอกชนดอกเบี้ยสูง แต่สัญญาณเริ่มไม่ดีจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ทางกว้างเปิดสู่พันธบัตรรัฐที่จ่อคิวขาย นักการเงินเตือนอย่าปล่อยให้เอกชนไร้ทางออกจะซ้ำเติมคนตกงานมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 ธันวาคม 2551)
แบงก์ชาติปฎิวัติเงียบสกัดการเมืองเปลี่ยนวิธีคุมเงินเฟ้อคานอำนาจ
แบงก์ชาติเดินเกมลดทอนอำนาจนักการเมืองที่เข้ามากุมอำนาจ เริ่มตั้งแต่ออกประกาศคุมนักการเงินหวังสะท้อนคนจากภาคการเมืองสำนึก รวมถึงการเปลี่ยนวิธีคุมเงินเฟ้อที่ทันการณ์มากขึ้น อีกทั้งบอร์ด กนง.ใหม่ที่ยังตั้งไม่ได้อาจใช้ชุดเก่าทำหน้าที่แทน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 กันยายน 2551)
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ต้อนรับ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยและคณ เยี่ยมชมเพื่อศึกษางานรับฝากหลักทรัพย์และตราสารหนี้ พร้อมทั้งเยี่ยมชมศูนย์บริการลูกค้า One Stop Service Counter ของ TSD ที่บริเวณชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ
(ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1 ธันวาคม 2551)
ธนาคารแห่งประเทศไทย บ่งชี้เศรษฐกิจไทยอาจชะลอลงแรงกว่าคาดในไตรมาส 4/2551
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผลกระทบจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศที่มีต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะชัดเจนมากยิ่งขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งด้านการลงทุนและการบริโภคอาจยังคงซบเซาต่อเนื่องท่ามกลางปัญหาการเมืองในประเทศและความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มมาก
(ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1 ธันวาคม 2551)