พัณณิน กิติพราภรณ์ Very Thai กับสยามนิรมิต
เดิมพื้นที่โล่งตรงถนนเทียมร่วมมิตร ตรงข้ามศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เคยเป็นลานจอดรถกว้าง 24 ไร่ แต่ปัจจุบันพื้นที่นี้ได้กลายเป็นโรงละคร "รัชดาแกรนด์เธียเตอร์" ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ของตระกูลกิติพราภรณ์ เปิดแสดงตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม และกำลังโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์การแสดงชุดอลังการงานสร้างชุดแรกชื่อ "สยามนิรมิต"
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2548)
“สยามนิรมิต”อิงทิก้า-สสปน. เพิ่มกลุ่มไมซ์-ปรับรับอีเวนต์
สยามนิรมิต ขอฝากตัว ทิก้าและสสปน. ขยายฐานตลาดไมซ์ ปีหน้า ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้โตจากปีก่อนเท่าตัวเป็น 20% ของรายได้รวม ชูคอนเซปต์การแสดงตระการตาในราคาคุ้มค่า พร้อมปรับพื้นที่เอาท์ดอร์ รองรับตลาดจัดอีเว้นต์ในหน้าฝน ส่วนสถานการณ์ปลายปีนี้ ลูกค้าใช้บริการ 600 คนต่อวัน ลดจากปีก่อน 30% ระบุปีหน้าตลาดยังแข่งดุ
(Positioning Magazine 20 ธันวาคม 2552)
เมื่อช้างขอเริงระบำ
หากจะมีกิจกรรมทางการตลาดใดที่เบียร์ช้างทำแล้ว เกิดผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ โดยเฉพาะมีกลิ่นอายเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมไทย เห็นที เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี ต้องยอมทุ่มไม่อั้น เพราะยังไงแล้วเป้าหมายของเบียร์ช้างก็ยังอยากสื่อสารให้ผู้บริโภคจดจำว่าเป็นแบรนด์ของ “คนไทยหัวใจช้าง” อะไรทำนองนั้น
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
สยามนิรมิต ดรีมเวิลด์ภาค 2
“เราอยากเห็นผู้ชมทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศได้ตื่นเต้นและตื่นตากับศิลปวัฒนธรรมไทย” แรงบันดาลใจของ พัณณิน กิติพราภรณ์ กรรมการผู้จัดการแห่งสวนสนุกดรีมเวิลด์ ที่ผลักดันให้เธอผันตัวเองมาบุกเบิกโครงการ “สยามนิรมิต” การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงตามแบบลาสเวกัส และทุ่มทุนกว่า 1,500 ล้านบาท สร้างโรงละครรัชดา แกรนด์เธียเตอร์ โรงละครขนาดใหญ่ระดับโลกแห่งแรกในกรุงเทพฯ
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2548)
สยามนิรมิตตั้งทีมบุกอีเว้นต์
สยามนิรมิต ขยับจับลูกค้าตลาดไมซ์ เข็นพื้นที่เปิดรับงานประชุมและอีเว้นต์ทุกรูปแบบ ตั้งทีมเฉพาะลุย ชูโลเกชั่นใจกลางเมืองในอารมณ์ไพรเวทโซน สร้างความแตกต่างจากโรงแรมและศูนย์การประชุม คาดช่วยดึงลูกค้าเข้าใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 15% ล่าสุดเชิญกว่า 300 บริษัทออร์แกไนเซอร์ หารือพร้อมดูพื้นที่ หวังใช้เป็นช่องทางขาย
(ผู้จัดการรายวัน 30 มีนาคม 2550)