ฝรั่งขายหุ้นโยกถือบอนด์-ลุ้นทีมศก.ดึงเม็ดเงินใหม่
นักลงทุนต่างชาติโยกถือหุ้นเปลี่ยนไปถือพันธบัตรความเสี่ยงต่ำในสถานการณ์ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกยังผันผวน ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้ ระบุแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้เอกชนหันมาออกตราสารหนี้เพื่อระดมทุนมากขึ้น เผยต้นทุนต่ำกว่าการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน แนะแบงก์ชาติจับตาการเคลื่อนไหวเงินทุนพร้อมเตรียมแผนรับมือให้รอบคอบ เชื่อไม่รุนแรงเหมือนมาตรการกัน 30% โบรกเกอร์ คาดตลาดหุ้นไทยมีเสน่ห์พอที่จะดึงดูดเงินนอก ระบุทีมเศรษฐกิจรัฐบาลใหม่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุน ด้านภาคเอกชน จี้รัฐบาลใหม่เร่งฟื้นความเชื่อมั่นกระตุ้นภาคการลงทุน
(ผู้จัดการรายวัน 28 มกราคม 2551)
ตราสารหนี้แพะรับบาปกฎ30%
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนอย่างมีเสถียรภาพ 2 กำลังในการขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ "ตลาดเงิน" ซึ่งมีผู้กำกับดูแลคือธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน ขณะที่อีกฟาก "ตลาดทุน" ซึ่งประกอบไปด้วย 4 หน่วยงาน คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตลาดอนุพันธ์ (TFEX) ตลาดตราสารหนี้ (BEX) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET)
(ผู้จัดการรายวัน 13 มีนาคม 2550)
บิ๊กBEXตอกย้ำเกณฑ์ธปท.พลาดฉุดมูลค่าตราสารหนี้วูบ3.2หมื่นล.
ผู้จัดการตลาดตลาดตราสารหนี้ โต้มาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินแบงก์ชาติ กระทบตลาดตราสารหนี้ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เตรียมรวบรวมข้อมูลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตัดสินใจว่าจะต้องเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อธปท.หรือไม่ภายในสัปดาห์นี้ ระบุยากที่หาคนรับผิดชอบ หวังเพียงการออกมาตรการจากภาครัฐให้ความสำคัญกับทุกฝ่ายร่วมเสนอข้อมูล ด้าน ThaiBMA เผยมาตรการแก้ปัญหาไม่ถูกที่ ฉุดมูลค่าตราสารหนี้ ณ 19 ธ.ค.วูบ 3.2 หมื่นล้าน ขณะที่ผู้บริหาร "ตลาดอนุพันธ์" มั่นใจนักลงทุนต่างชาติไม่โยกเงินหนี หลังธปท.ผ่อนกฏเหล็ก
(ผู้จัดการรายวัน 21 ธันวาคม 2549)
เปิดเมนูสั่งจองตราสารหนี้ร้อนๆ รอดอกเบี้ยไต่ขึ้นอาจ"ตกขบวน"
ทรัพย์สินที่เคยได้ชื่อว่า "จับต้องยาก" อย่าง "ตราสารหนี้" โดยเฉพาะพันธบัตรภาครัฐ ไม่ว่าจะออกโดยแบงก์ชาติ กระทรวงการคลัง รัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรออมทรัพย์ ถึงวันนี้กำลังอยู่ในความสนใจของเจ้าของเงินออมทั่วไป แต่ภายใต้สถานการณ์ดอกเบี้ยเบนทิศขาขึ้น ถ้ายังรีรอหวังจะซื้อล็อตใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่เป็นอยู่ อาจตกขบวนสำคัญ เพราะ "ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้" แนะว่า ภายใน 1 ปีดอกเบี้ยจะปรับขึ้นไม่มาก ขณะเดียวกันสินค้าที่ออกมาแต่ละล็อตก็จะค่อยๆน้อยลง จนคนตั้งหน้าตั้งตารออาจพลาดไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กันยายน 2548)