กาแฟไทยในอินโดนีเซีย
ด้วยประสบการณ์ที่เปิดร้านขายกาแฟมา 10 ปี ประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ
บริษัทแบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) ภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่มีนักลงทุนจากประเทศอินโดนีเซียแสดง
ความสนใจขอซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟ "แบล็คแคนยอนคอฟฟี่" จากเขาเพื่อนำไปเปิดเป็นสาขาในประเทศดังกล่าว
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2546)
"แบล็คแคนยอน" ไลฟ์สไตล์ใหม่ของ ประวิทย์ จิตนราพงศ์
หลาย ๆ คนอาจจะคิดเหมือนประวิทย์ คือต้องการเป็นเจ้าของร้านกาแฟเล็ก ๆ สักร้านหนึ่งเพื่อเอาไว้เฮฮาปาร์ตี้กับเพื่อนฝูง แต่เอเริ่มต้นร้านแรกแล้ว ประวิทย์กลับหยุดไม่ได้ และหลงใหลในธุรกิจนี้ที่เขาเรียกมันว่า "ปีศาจดำ" ขึ้นทุกที ๆ
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543)
"ประวิทย์ จิตนราพงศ์ ควบ 2 ความต่าง "ไอที & ร้านอาหาร" ด้วยบริการ"
"กาแฟเย็น แบล็คแคนยอน เป็นกาแฟที่นำเข้าจากต่างประเทศ 100% แต่ถ้าเป็นกาแฟร้อน
จะเป็นกาแฟผสมระหว่างกาแฟไทยกับกาแฟนำเข้า เพราะกาแฟที่ปลูกในไทยก็ถือเป็นกาแฟที่ส่งออกรายใหญ่รายหนึ่งของโลก
ส่งจากโครงการต่างๆ ทั้งเหนือและใต้ผสมกัน กาแฟหลักที่ใช้เป็นตัวผสมคือโรกัสตา
เพราะมีเมล็ดใหญ่ คั่วแล้วหอม และรสชาติเข้มข้น สูตรพวกนี้เองมาจากต่างประเทศ
จากอเมริกาเป็นหลัก เพราะเป็นสไตล์อเมริกันคันทรี่ ยกเว้นกาแฟเวียงพิงค์
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
ถ้วยกาแฟในพิพิธภัณฑ์
การเปิดร้านอาหารในพิพิธภัณฑ์สำหรับเมืองไทย ไม่ว่าแบรนด์ไหนคงไม่สามารถหวังยอดขายถล่มทลายได้ เพราะคนเที่ยวพิพิธภัณฑ์บ้านเราน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย ถ้าเป็นจังหวะที่เห็นคนกลุ่มใหญ่ออกันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ถ้าไม่ใช่กลุ่มเด็กที่โรงเรียนจัดมาทัศนศึกษานอกสถานที่ ก็หนีไม่พ้นกลุ่มทัวร์ ซึ่งทั้งสองกลุ่มก็ไม่ใช่เป้าหมายที่ดีนักสำหรับร้านอาหารในพิพิธภัณฑ์
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
ขอเป็น...คาวบอยหนุ่ม
“ถ้าเราไม่ปรับเราก็อยู่ไม่ได้ “ คำพูดที่ย้ำแล้วย้ำเล่าของ กรรณิการ์ ชินประสิทธิ์ชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด กำลังบอกถึงการสร้างแบรนด์แบล็คแคนยอนในยุคที่การแข่งขันรุนแรง
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2549)
แบล็คแคนยอนขยายกลุ่มเด็กงัดโมเดลครีเอทีฟอีโคโนมีรุก
แบล็คแคนยอนชูครีเอทีฟอีโคโนมีรุกธุรกิจ พร้อมชูไทน์อินสาขาปายหนาวกับหนังปายอินเลิฟ หวังขยายกลุ่มเด็ก17-18 ปี เร่งเครื่องดันยอดขายโตตามเป้าหมาย หลัง 9 เดือนแรกยังต่ำเป้า เตรียมเผยโฉมสาขาโมเดลใหม่ที่โคราชกลางธ.ค.นี้
(ASTVผู้จัดการรายวัน 4 พฤศจิกายน 2552)
แบล็คแคนยอนหวั่นครึ่งหลังคว้าสิทธิ์ผุดสาขาในมิวเซียม
แบล็คแคนยอนหวั่น ครึ่งปีหลังทำธุรกิจลำบาก เหตุปัจจัยลบด้านการเมือง และน้ำมันแพง แต่ยังเดินหน้าผุดสาขาไม่หยุด ล่าสุดคว้าสิทธิ์เปิด 2 สาขาในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ถนนสนามไชย
(ผู้จัดการรายวัน 19 มิถุนายน 2551)
ภาพลักษณ์ใหม่ “แบล็คแคนยอน” ทันสมัย-สดใสขึ้น
ห้ “แบล็คแคนยอน” ตัดสินใจปรับทิศทางการทำตลาดใหม่ ด้วยการปรับภาพลักษณ์ใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ทั้งโลโก้ บรรยากาศและเมนูอาหารใหม่กว่า 30 รายการ หวังเอาใจผู้บริโภครุ่นใหม่ยิ่งขึ้น
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 สิงหาคม 2554)
'พิซซ่า คอมฯ-แบล็คแคนยอน' ไขความสำเร็จแฟรนไชส์ไทย
ธุรกิจที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยและสามารถขยายเติบโตในต่างประเทศ ของกลุ่มไมเนอร์ ฟู๊ดส์ กรุ๊ป อย่างแบรนด์เดอะ พิซซ่า คอมปะนี หรือธุรกิจร้านอาหาร กาแฟ อย่างแบล็คอคอนยอน ย่อมดึงดูดความสนของทำธุรกิจหรือเตรียมที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ และด้วยภาวะเศรษฐกิจที่หลายธุรกิจต่างได้รับผลกระทบอย่างถ้วนหน้าแต่ธุรกิจอาหารโดยเฉพาะ 2 แบรนด์ที่กล่าวมาโตต่อเนื่อง
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 กรกฎาคม 2553)
3 บิ๊กแฟรนไชส์ส่อง ศก.-การเมืองฟันธง! ไตรมาสแรกยังฉลุย
กับสถานการณ์การเมืองที่ดูจะไม่จบลงง่ายๆ และภาวะเศรษฐกิจราคาน้ำมันและดอกเบี้ย ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อต้นทุนธุรกิจ
นับเป็นสถานการณ์ที่อึมครึมมาตลอดระยะ 3 เดือนหรือไตรมาสแรกของปี 2549 ซึ่งเกิดคำถามในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ถึงผลกระทบที่จะตามมา ทั้งการคาดการณ์อัตราการเติบโตของแฟรนไชซี แฟรนไชซอร์ ในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาหรือไม่
ประกอบกับนโยบายกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ชูปี 2549 เร่งผลักดันการส่งออกธุรกิจแฟรนไชส์ไทยไปยังต่างประเทศ หวังดึงเงินตราเข้าประเทศและเป็นประตูในการส่งออกสินค้า วัตถุดิบรวมถึงการท่องเที่ยวที่จะตามมา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 มีนาคม 2549)