แนวโน้มบริโภคน้ำมันโลก เพิ่มไม่ดุเดือด
โอเปกและไออีเอทำนายตรงกันว่า อุปสงค์น้ำมันโลกในครึ่งปีหลังนี้ จรดจนปีหน้าและปีถัดไป จะขยายตัวไม่ร้อนแรงเท่ากับเมื่อก่อนหน้านี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแววว่าจะชะลอตัวในหลายภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน ส่งผลให้ยอดการบริโภคน้ำมันในช่วงนี้เริ่มลดลง อาทิ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยอดการบริโภคน้ำมันโลกลดลงวันละ 155,000 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ระดับเพียง 84.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 กรกฎาคม 2548)
ราคาน้ำมันยังวิ่งลิ่วแม้โอเปกเพิ่มเพดานผลิต เศรษฐกิจโลกชักสะเทือนผวาซัปพลายตึงตัว
ราคาน้ำมันยังคงวิ่งฉิวสู่ระดับบาร์เรลละ 60 ดอลลาร์ เหมือนเป็นการยืนยันว่า การประกาศเพิ่มเพดานโควตาการผลิตของกลุ่มโอเปกเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ไม่ค่อยมีความหมายจริงจังอะไร ในภาวะที่ซัปพลายตึงตัว แต่ความสามารถในการผลิตและในการกลั่นน้ำมันยังไม่ใช่จะเพิ่มขึ้นได้ง่ายๆ บวกกับการเก็งกำไรอย่างหน้าด้าน ราคาจึงน่าจะยังสูงลิวอย่างน้อยก็ในระยะสั้น เท่าที่ผ่านมา น้ำมันแพงอาจจะไม่ทำให้เศรษฐกิจโลกย่ำแย่ดังที่คาดหมายกัน แต่เมื่อมันยังไม่ลงมาเสียที ก็ทำให้หลายๆ ฝ่ายชักใจไม่ค่อยดี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 มิถุนายน 2548)
ราคาน้ำมันโลกทะยานพรวดอีกระลอก นักวิเคราะห์เชื่อปีนี้จะแพงกว่าปีที่แล้ว
เมื่อน้ำมันดิบในตลาดโลกกลับทะยานขึ้นใกล้ทำระดับนิวไฮกันอีกครั้งตอนต้นเดือนนี้ นักวิเคราะห์ในแวดวงหลายรายบอกว่า ราคาในปีนี้อาจจะไต่ขึ้นเกินระดับ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่าปีที่แล้วเสียอีก บางรายกระทั่งเริ่มพูดกันถึงความเป็นไปได้ที่ราคาจะไปถึง 75 หรือ 80 ดอลลาร์ด้วยซ้ำ ทั้งนี้หากเกิดเหตุการณ์ซึ่งทำให้การนำน้ำมันจำนวนมากออกสู่ตลาดต้องมีอันหยุดชะงักยืดเยื้อ โดยที่ความต้องการใช้ทองคำสีดำในเอเชียและสหรัฐฯก็ยังไม่ได้คลี่คลายเย็นตัวลงมา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 มีนาคม 2548)