เรื่องของนวลพรรณกับบิ๊กอินโดฯ
หลังจากเป็นข่าวมานานว่าวรรณมานี กรุ๊ป ของนวลพรรณ ล่ำซำ ตระเวณขายทอดกิจการธุรกิจที่ดำเนินการมาเพียง 6 ปีเศษ นวลพรรณยืนยันว่าไม่ใช่เพราะผลประกอบการย่ำแย่ เพราะมีรายได้ปีละกว่า 400 ล้านบาท แต่เป็นเพราะเธอต้องโฟกัสในธุรกิจ “เมืองไทยประกันชีวิต” ซึ่งกำลังเติบโตสูง แต่ยังคงดูแล Hermes แบรนด์รักสุดหวงที่นำเข้าในนามส่วนตัวต่อไป
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
นวลพรรณ ล่ำซำ สวยประหาร
อยู่ในตระกูลใหญ่ เป็นทายาทล่ำซำ รุ่น 5 มีศักดิ์เป็นหลานอาของ บัณฑูร ล่ำซำ หัวเรือใหญ่กสิกรไทย ครอบครัวมีกิจการที่มั่นคง ทั้งเมืองไทยประกันชีวิตและเมืองไทยประกันภัย และเธอเป็นผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 2 แห่ง แต่ยังเจียดเวลามาสร้างความสำเร็จอีกขั้นด้วยตัวเธอเอง กับการเป็นผู้นำเข้าสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมหลายแบรนด์ภายใต้บริษัท วรรณมานี จำกัด และบริษัท ซังออนอเร่ (กรุงเทพ) จำกัด ซึ่งทำเงินรวมกันปีละเกือบ 500 ล้านบาท
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
Blumarine … สวยหรูแบบสาวอิตาลี
กางเกงยีนส์ตัวละ 115,000 บาท และเดรส (dress) ชุดละ 259,000 บาท ถือเป็นไฮไลต์ของงานเปิดตัวแบรนด์น้องใหม่อย่าง “Blumarine” ซึ่งในวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤศจิกายน มีผู้คนพากันมาสัมผัส ลูบชม และมาให้เห็นกับตา จนแน่นขนัดร้าน ณ ชั้น 1 บนห้างหรูอย่างเอ็มโพเรียม
(Positioning Magazine มกราคม 2549)
เมืองไทยประกันภัยลั่นปีนี้โต12% ลุยเปิดศูนย์บริการฯต่างจังหวัด
เมืองไทยประกันภัยเผยกำไรปี 49 ก่อนหักภาษี 152 ล้าน เบี้ยประกันภัยรับรวม 1,891 ล้าน ส่วนปีนี้ตั้งเป้าขยายตัว 12% ชูนโยบายมั่นคง-มีคุณภาพ ยึดหลัก “ความคุ้มครองที่คุ้มค่ากับแบบประกันที่หลากหลาย-บริการจากตัวแทนที่มีคุณภาพ” พร้อมเจาะตลาดภูมิภาค คาดกวาดเบี้ยรับประกันภัยไม่ต่ำกว่า 2 พันล้าน
(ผู้จัดการรายวัน 30 มีนาคม 2550)
เมืองไทยประกันภัยพิสูจน์ถุงเงิน มั่นคงมากพอคุ้มครองความเสี่ยง
หนังโฆษณาชุดใหม่ "เปลื้อง" ของเมืองไทยประกันภัย อาจฟังดูน่าเสียวไส้ แต่นี่คือ นัยสำคัญที่จะครอบคลุมความหมาย การทำประกันภัยในยุคเศรษฐกิจทั่วโลก ล่มสลาย ถ้ามีประกันภัยจ่ายแทน ลูกค้าก็ไม่ต้องเปลื้องผ้าผ่อน จ่ายภาระค่าใช้จ่ายมหาศาล ผู้บริหารมั่นใจความมั่นคง และเงินกองทุนที่แข็งแกร่งจะเป็นเงื่อนไขให้ลูกค้าเลือกบริษัทประกันภัย ยอมรับ กำไรจากพอร์ตลงทุนหุ้นมูลค่าปรับลดลง จนต้องหันมาหากำไรจากการรับประกันภัยมากขึ้นแทน ขณะที่ไตรมาส 2-3 ปีนี้ต้องเอ็กซเรย์พอร์ตอย่างละเอียด ก่อนตัดสินใจปรับเพิ่มราคาเบี้ยและไม่ขายสินค้าที่มีอัตราความเสียหายสูง...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 ธันวาคม 2551)